พิกัดโกษฐ์

พิกัดโกษฐ์

โกรธเป็นพิกัดเครื่องยาหมู่หนึ่งที่ใช้มากในไทย ตำราโบราณเขียนชื่อพิกัดยาพวกนี้แตกต่างกันออกไปหลายแบบ ในศิลาจารึกตำราที่วัดราชโอรสสาราม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (แต่ครั้งพระองค์ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์) ได้โปรดเกล้าให้จารึกไว้เป็นวิทยาทาน เมื่อทรงบูรณะวัดนี้ใน พ.ศ. ๒๓๖๔ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ปรากฏชื่อพิกัดเครื่องยาไทยหมู่นี้เป็น โกด ทั้งหมด ดังเช่น (พิมพ์ตาอักขระที่ปรากฏในศิลาจารึก) ถ้าบุคคลผู้ใดเป็นไข้เพื่อเสมหะ ปิตะ วาตะ สมุถานก็ดี ทำให้หิวโหยหาแรงมิได้ ให้ระหวยไป ให้ใจขุ่นหมองมิได้ชื่น ให้สวิงสวายหากำลังมิได้  ถ้าจะเอายานี้แก้ ยาชื่อมหาสมมิตร เอาโกดทั้งห้า เทียรทั้งห้า ตรีผลา จันทังสอง ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพูล  ขิงแห้ง ดีปลี  แห้วหมู  ไคร้เครือ  เกษรบัวหลวง  เกษรสารภี  เกษรบัวเผื่อน  เกษรบัวขม  ดอกคำ  ดอกผักตบ  ดอกพิกุน  เกสรบุนนาค  ดอกสลิด สักขี ชลูด อบเชย ชะเอ ปริศนา  ชะมดเชียง พิมเสน เอาเสมอภาคทำเป็นจุณ เอาดีงูเหลือม เเช่น้ำดอกไม้ประสาย บดทำแท่งไว้ละลายน้ำดอกไม้ก็ได้ น้ำตาลทรายก็ได้ น้ำแรมคืนก็ได้ กินแก้ระส่ำระสายแลดับพิษไข้ทั้งปวง ทำให้คลั่งให้เพ้อให้เชื่อมให้มัว แก้ลิ้นกระด้างคางแข็ง แลชูกำลังยิ่งนักฯ

ส่วนศิลาจารึกตำราที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้จารึกไว้เพื่อเป็นวิทยาทาน คราวที่ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ใหญ่เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๕ และคณะอาจารย์โรงเรียนแพทย์แผนโบราณได้รวบรวมจัดพิมพ์เป็นเล่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕  ในตำรายาฯนี้บันทึกชื่อเครื่องยาในหมู่นี้เป็น โกฐ ทั้งหมด ดังเช่นศิลาจารึกที่ศาลา ๗ เสา ๖  แผ่น ๔ ดังนี้ปุนะจะปะรัง ลำดับนี้จะกล่าวด้วยนัยหนึ่งใหม่ ว่าด้วยลักษณะสันนิบาตอันบังเกิดเพื่อดีรั่วนั้นเป็นคำรบ ๔  เมื่อจะบังเกิดขึ้นแก่บุคคลใดก็ดี ก็ทำให้ลงดุจกินยารุ มูลนั้นเหลืองดังน้ำขมิ้นสด ให้เคลิบเคลิ้มไปหาสติมิได้ แลให้หิวโหยนัก บริโภคอาหารไม่อยู่ท้อง ให้สวิงสวาย ให้แน่นหน้าอกเป็นกำลัง ให้อุทธรลั่นอยู่เป็นนิจมิได้ขาด ถ้าเเลลักษณะเป็นดังกล่าวมานี้ ฯ ถ้าจะแก้เอาสมอทั้ง ๓ มะขามป้อม  ผลกระดอม  จันทน์ทั้ง ๒ โกญสอ โกฐเขมา โกฐก้านพร้าว  โกฐพุงปลา โกญน้ำเต้า  กฤษณา  กระลำพัก แก่นสน  กรักขี แก่นประดู่ รากขี้กาทั้ง ๒ ใบสันพร้ามอน ใบคนทีสอ รากกระทกรก  รากทิ้งถ่อน  รากผักหวาน ว่านน้ำ ไคร้หอม เสมอภาคต้มตามวิธีให้กิน แก้สันนิบาตอันบังเกิดเพื่อปิตตะสมุฏฐานโรค กล่าวคือดีรั่วนั้นหายวิเศษนักฯสำหรับ คัมภีร์แพทย์แผนไทยแผนโบราณ ซึ่งรวบรวมโดยขุนโสภิตบรรณรักษ์ (อำพัน กิตติขจร) เขียนชื่อหมู่นี้เป็น โกฏ ทั้งหมด ดังเช่นยาแก้คอแห้งในคัมภีร์เล่ม ๓ ตอนที่ว่าด้วยเสมหะพิการและยาแก้ ดังนี้ ยาแก้คอแห้ง แก้เสลดเหนียว แก้อาเจียน เอาโกฏทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์  ลูกกระวาน กานพลู  หว้านน้ำ  พรมมิ  ดอกบุนนาค  เกสรบัวหลวง  ลูกราชดัด  ขิง  พริกไทย บดละลายน้ำท่าแทรกเกลือกิน แก้อาเจียนละลายน้ำลูกยอต้มกิน

ส่วนในหนังสือศาสตร์วัณ์ณนา – ตำราแพทย์แบบเก่า
ซึ่งเรียบเรียงโดยนายสุ่ม วรกิจพิศาล ตามตำราของพระยาประเสริฐศาสตร์ดำรง(หนู) ผู้เป็นบิดา บันทึกชื่อเครื่องยาหมู่นี้เป็น โกฏฐ์ ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ยาเทพนิมิตรในเล่ม ๔ ดังนี้ ถ้าจะเอายาชื่อเทพนิมิตต์ขนานนี้ ท่านให้เอาโกฏฐ์สอ โกฏฐ์เชียงโกฏฐ์เขมา โกฏฐ์น้ำเต้าสมุลแว้ง อบเชยขมิ้นเครือแก่นสนสักขีกระวานกานพลู ๑ สิ่งละ ๒ ส่วน ดอกลำดวน กระดังงาดอกจำป ๑ สิ่งละ ๓ ส่วน จันทน์ทั้ง ๒ กฤษณากระลำพักขอนดอก แก่นพรมชะเอมเทศหวายตะค้าดอกคำฝอยเลือดแรดสารส้ม ๑ สิ่งละ ๔ ส่วน การบูรพริกไทย ๑ สิ่งละ ๕ ส่วน แก่นแสมทะเล ๑๖ ส่วน เบ็ญจกูล ตามพิกัด ทำเป็นผงแล้วเอาแห้วหมูเป็นน้ำกระสาย บดทำแท่งไว้ละลายน้ำเนื้อไม้ต้มแทรกพิมเสนให้กิน แก้โลหิตปกติโทษอันบังเกิดแต่กระดูกนั้นหายวิเศษนักแล

จึงเห็นได้ว่าตำรายาโบราณของไทยใช้ชื่อเครื่องในหมูนี้เป็น โกด โกฐ โกฏ หรือ โกฏฐ์ ต่างกันไปตามแต่จะเขียน เรื่องยาพิกัดนี้ทุกชนิดเป็นของที่มีกำเนิดในต่างประเทศ และมีพ่อค้าต่างชาตินำเข้ามาขายในประเทศไทยช้านานแล้ว อย่างน้อยก็ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๗๕ – ๒๒๓๑) เพราะในตำราแพทย์แผนไทยซึ่ง ตำราพระโอสถพระนารายณ์ได้อ้างถึง ๒ เล่ม คือคัมภีร์โรคนิทาน และคัมภีร์มหาโชตรัต มียาที่เข้าเข้าพิกัดนี้มากมายหลายขนาน รวมทั้งใหหลายขนานในตำราพระโอสถพระนารายณ์เอง แต่ชื่อเครื่องยาหมู่นี้ควรเขียนเป็นอย่างไร มีที่มาและความหมายอย่างไร นอกจากนั้นเครื่องยาหมู่นี้บางชนิดคืออะไร มีแหล่งที่มาอย่างไรอย่างเป็นข้อโต้แย้งที่ยังหาข้อสรุปมิได้

 

ที่มาของคำ โกษฐ์

โกษฐ์ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ . ๒๕๔๒ เลือกเก็บคำ โกฐ ไว้โดยนิยามดังนี้ โกฐ (โกด) น. ชื่อยาสมุนไพรจำพวกหนึ่ง ได้จากส่วนต่างๆของพืช มีหลายชนิด ตำรายาแผนโบราณเขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี (ป.โกฏฐ) คำ โกฐ ที่ราชบัณฑิตยสถาน (โดยผู้รู้ทางบาลี-สันสกฤต) เลือกเก็บไว้นั้น มีในภาษาสันสกฤตจริง แต่เป็นชื่อที่ใช้เรียกสมุนไพรชนิดหนึ่งซึ่งแพทย์แผนไทยเรียกโกฐกระดูก (kut หรือ kuth ) จึงน่าจะเป็นที่มาของการเลือกเก็บคำ โกฐ ของราชบัณฑิตยสถาน อย่างไรก็ตาม คำ โกฐ นี้แปลว่าโรคเรื้อน ส่วนคำ โกฏฐ ในภาษาบาลีแปลว่า ลำไส้ พุง คำทั้ง ๒ คำนี้ ไม่น่าจะเป็นชื่อพิกัดเครื่องยาสมุนไพร นอกจากนั้น คำที่อ่านออกเสียงว่า โกด เขียนได้อีกหลายแบบ แต่ก็ให้ความหมายที่แตกต่างกัน เช่น

โกส แปลว่า ผอบ; แปลว่าผอมมาตราวัดความยาวเท่ากับ ๕๐๐ ชั่วธนู
โกฏิ แปลว่า ๑๐ ล้าน
โกษ แปลว่า อัณฑะ
โกศ แปลว่า ที่ใส่ศพนั่ง , ที่ใส่กระดูกผี ฝัก , กระพุ้ง, คลัง คำที่ออกเสียง โกด ที่ใช้เรียกชื่อและพิกัดเครื่องยาสมุนไพรควรเขียนอย่างไรนั้น คงสืบสาวหาที่มาของคำนี้ แล้วเขียนให้ถูกต้อง ให้ตรงหรือใกล้เคียงกับคำในภาษาเดิมให้มากที่สุด เพื่อให้คงความหมายเดิมให้มากที่สุด น่าสังเกตว่า เรื่องยาสมุนไพรพิกัดมีทั้งหมดเป็นเครื่องยาเทศหรือเครื่องยาจีน เป็นสมุนไพรที่รู้จักกันว่าเป็นของดีและใช้กันมาในประเทศถิ่นกำเนิดและประเทศใกล้เคียง และคำที่ออกเสียงเช่นนี้ในภาษาไทยไม่มีคำไหนที่มีความหมายเกี่ยวกับยาหรือการบำบัดรักษาเลย คำนี้จึงน่าจะเป็นคำในภาษาอื่น อาจเป็นภาษาจีนหรือภาษาแขก เพราะอายุรเวทซึ่งพัฒนาขึ้นในชมพูทวีปและการแพทย์แผนจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการพัฒนาการแพทย์ทางการแพทย์และเภสัชกรรมแผนแพทย์แผนไทยมาแต่โบราณ แต่คำที่ออกเสียงตัวสะกดแม่กดนั้นไม่มีใช้ในภาษาจีน ดังนั้น คำที่ออกเสียง โกด จึงน่าจะมีที่มาจากภาษาถิ่นใดในอินเดียหรือเปอร์เซียในคัมภีร์อายุรเวทของอินเดีย มีคำ kuth หรือ kuth root เป็นชื่อเครื่องยาชนิดหนึ่งในภาษาถิ่นของแคว้นกัษมิระ และตำราฯว่ามีรากศัพท์มาจากคำ kusta ในภาษาอิหร่านหรือเปอร์เซีย ส่วนภาษาสันสกฤตเป็น kushta ภาษาฮินดีและเบงกาลีเป็น kut ภาษาทมิฬเป็น kostum หรือ goshtam ตำรายาไทยเรียกเครื่องยาชนิดนี้ว่า โกษฐ์กระดูก (costus) จึงได้ข้อยุติในชั้นต้นว่าคำ โกษฐ์ นี้น่าจะมาจากภาษาเปอร์เซีย และคำนี้มีความหมายอย่างไร
 

ความหมายของคำ โกษฐ์

เมื่อคำ โกษฐ์ เป็นคำในภาษาเปอร์เซีย จึงต้องค้นหาความหมายของคำในภาษาเปอร์เซีย โดยเฉพาะคำในภาษาดังกล่าวที่ใช้กับยาบำบัดโรคในคัมภีร์อูนานิ (Unani) แพทย์โอนามิหลังจากที่ได้พยายามค้นหาความหมายของคำนี้มาเป็นเวลานานหลายสิบปี เมื่อไม่นานนี้เองจึงได้พบคำนี้ในหนังสือเก่าชื่อ ตำรายาแห่งการแพทย์ตะวันออกของแฮมดาร์ด (Hamdard Pharmacopoeia of Eastern Medicine) เรียบเรียงคำแนะนำของสภาที่ปรึกษาทางเภสัชศาสตร์แห่งแฮมดาร์ด (The Pharmaceutical Advisory Council of Hamdard) มีนาย ฮะกิม อับดุล ฮาเมด (Hakim Abdul Hamed) เป็นประธาน และนายฮากิม โมฮัมเมด ซาอิด (Hakim Mohammed Said) เป็นบรรณาธิการ (หนังสือมิได้ระบุปีที่พิมพ์และสำนักพิมพ์) ในตำราดังกล่าว ๒๒๒ มียาหมวดหนึ่งเรียก kushta เขียนไว้ดังนี้
kushta is the past participle of kushtan (Persian for to kill) kushta therefore means killed or conquered In the Tibbi terminology kushta is employed for a medicine that used in small quantities and one that is immediately effective A kushta is a blend of metallic oxides , non-metals and their compounds, or minerals The ingredients are oxidized through the action of heat-a process that is rather specialized.The preparation of kushta results in the efficacy of a medicine and, after effecting its entry into the body the kushta discharges its curative role promptly and effectively.
จึงสรุปได้ว่า คำนี้เป็นคำในภาษาเปอร์เซีย แปลว่า ฆ่า ปราบ กำจัด ทําให้หายไป เทียบเสียงเป็น kushta และควรเทียบเป็นภาษาไทยว่า โกษฐ์ จึงจะตรงกับคำในภาษาเดิมมากที่สุด และให้ความหมายที่ไม่อาจเป็นอย่างอื่นได้ คำ โกษฐ์ นี้คงเข้ามาสู่ราชอาณาจักรสยามพร้อมๆกับวัฒนธรรมอื่นๆของเปอร์เซีย และการแพทย์โบราณแห่งกรุงสยามคงจะยืมคำนี้มาใช้เรียกเครื่องยาหลายชนิด ซึ่งแม้จะใช้เพลงปริมาณเล็กน้อย แต่ก็ทรงประสิทธิภาพในการบำบัดโรคในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
 

โกษฐ์ที่ใช้ในยาไทย


แพทย์แผนไทยรู้จักในเครื่องยาจีนและเครื่องยาเทศหลายชนิดในยาไทย การแสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันชาญฉลาดปราดเปรื่องของบรรพบุรุษไทยที่รู้จักใช้ของดีๆของต่างชาติในยาไทย เครื่องยาเหล่านี้หลายชนิดเรียก โกษฐ์ โดยจัดเป็นพิกัดตัวยาเป็น โกษฐ์ทั้ง ๕ โกษฐ์ ทั้ง ๗ โกษฐ์ ทั้ง ๙ และโกษฐ์พิเศษ นอกจากนั้นยังมีกดอีกหลายชนิดที่ไม่ได้จะเข้าไว้ในพิกัดตัวยาเรียกโกษฐ์นอกพิกัด

 

ตารางที่๒ เครื่องยาในพิกัดโกษฐ์

 

เครื่องยา

ชื่อพฤษศาสตร์ของแหล่งที่มา วงศ์ ส่วนของพืช
โกษฐ์เชียง Angelica sinensis (Oliv.) Diels Umbelliferae รากแห้ง
โกษฐ์สอ Angelica dahurica (Fisch. Ex Hoffm.)

 

Benth. Hook.f. ex France&Sav.

Umbelliferae รากแห้ง
โกษฐ์หัวบัว Ligusticum sinense Oliv. cv. Chuanxiong Umbelliferae เหง้าแห้ง
โกษฐ์เขมา Atractylodes lancea (Thunb.) DC. Compositae เหง้าแห้ง
โกษฐ์จุฬาลัมพา Artemisia annua L. Compositae ใบและเรือนยอดที่-มีดอก
โกษฐ์ก้านพร้าว Picrorhiza kurrooa Royle ex Benh. Scrophulariaceae เหง้าแห้ง
โกษฐ์กระดูก Saussurea lappa Clarke Compositae เหง้าแห้ง
โกษฐ์พุงปลา Terminalia chebula Retz. Combretaceae ปุ่มหูดที่กิ่งอ่อนและใบ
โกษฐ์ชฎามังษี Nardistachys grandiflora DC. Valerianaceae รากและเหง้าแห้ง
โกษฐ์กะกลิ้ง Strychnos nux-vomica L. Loganiaceae เมล็ดแก่จัดเหง้าแห้ง
โกษฐ์กรักกรา Pistacia chinensis Bunge spp. Integerrima (Stew. Ex Brandis) Rech.f. Anacardiaceae ปุ่มหูดที่กิ่งอ่อน
โกษฐ์น้ำเต้า Rheum officinale Baill. หรือ R.palmatum L. หรือ R. tanguticum (Maxim.) Maxim. Ex Regel Polyganaceae รากและเหง้าแห้ง


โกฐทั้ง  ๕ (เบญจโกษฐ์)  เป็นพิกัดเครื่องยาไทยได้แก่ โกษฐ์เชียง โกษฐ์สอ โกษฐ์หัวบัว โกษฐ์เขมา และโกษฐ์จุฬาลัมพา ตำราสรรพคุณยาโบราณว่ายาหมู่นี้มีสรรพคุณโดยรวมแก้ไข้ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคปอด แก้โรคในปาก ชูกำลัง บำรุงโลหิต และแก้ลมในกองธาตุ โกษฐ์ทั้ง ๕ นี้เป็นเครื่องยาจีนที่มีขายในประเทศไทยมาแต่โบราณ นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องยาที่ใช้มากทั้งในอดีตและยาไทย

โกษฐ์ ทั้ง  ๗ (สัตตโกษฐ์)  เป็นพิกัดตัวยา ประกอบด้วยเรื่องยา ๗ ชนิด คือโกษฐ์ทั้ง (โกษฐ์เชียง โกษฐ์สอ โกษฐ์หัวบัว โกษฐ์เขมา และโกษฐ์จุฬาลัมพา ) โกษฐ์ก้านพร้าว และ โกษฐ์กระดูกอีก ๒ ชนิด ตำราโมสรรพคุณยาโบราณว่ายาหมู่นี้มีสรรพคุณโดยรวมแก้ไข้ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคปอด แก้โรคในปาก ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ลมในกองธาตุ แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบสะอึก และบำรุงกระดูก

โกษฐ์ทั้ง  ๙ (เนาวโกษฐ์)
เป็นพิกัดตัวยา ประกอบด้วยโกษฐ์ทั้ง๗ (โกษฐ์เชียง โกษฐ์สอ โกษฐ์หัวบัว โกษฐ์เขมา และโกษฐ์จุฬาลัมพา โกษฐ์ก้านพร้าว โกษฐ์กระดูก) กับ โกษฐ์ชฎามังษีและโกษฐ์พุงปลาอีก ๒ ชนิด ตำราสรรพคุณยาโบราณว่าย่าโมนี้มีสรรพคุณโดยรวมแก้ไข้ แก้หืดหอบไอ แก้ไข้จับสั่น แก้พิษร้อน แก้ลมเสียดแทงชายโครง กระจายลมในกองริดสีดวง แก้ลมในกองเสมหะ แก้สะอึก แก้ไข้ในกองอติสาร แก้โรคในปาก กระจายหนอง ฆ่าพยาธิ แก้ไส้ด้วนไส้ลาม ขับโลหิตร้ายอันเกิดแต่กองปิตตะสมุฏฐาน

โกษฐ์พิเศษ


มีเครื่องยา ๓ ชนิด ได้แก่ โกษฐ์กะกลิ้ง โกษฐ์กักกรา และโกษฐ์น้ำเต้า พิกัดโกษฐ์นี้มีสรรพคุณโดยรวมแก้โรคในปากในคอ ขับพยาธิ แก้พิษสัตว์กัดต่อย แก้ในกองอติสาร แก้ริดสีดวงทวาร ขับลมในลำไส้ แก้หนองใน ขับระดูร้าย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนวิชาเภสัชกรรมแผนไทยจำชื่อโกษฐ์ทั้งหมดได้ มหากัน สิกขรชาติ ได้เขียนกลอนช่วยจำเกี่ยวกับโกษฐ์ชนิดต่างๆในพิกัดยาไทยเรียงตามลำดับดังนี้

เชียงสอขอหัวบัว เขมาชั่วลักจุฬา
ก้านพร้าวเผากระดูก พุงปลาปลูกในชฎา
กะกลิ้งและกรักกรา โกษฐ์น้ําเต้าตามเค้ามูล
 

โกษฐ์เชียง


โกษฐ์เชียงเป็นรากแห้งของพืชอันมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Angelica sinensis (Oliv.) Diels วงศ์ Umbelliferae คำว่า เชียง แปลได้หลายอย่าง เช่น แปลว่าคนที่มาจากเมือง หรือเมือง (ที่อยู่ริมน้ำ) ก็ได้ แต่ในที่นี้แปลว่า (มาจาก) ที่สูง มีชื่อพ้อง Angelica polymorpha Maxim. var. sinensis Oliv.จีนเรียกเครื่องยานี้ว่า ตังกุย มีชื่อสามัญว่า Chinese angelica พืชที่ให้โกษฐ์เชียงเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปีสูง ๔๐-๑๐๐ เซนติเมตร ร่างอวบหนา รูปทรงกระบอก แยกเป็นรากแขนงหลายราก มีกลิ่นหอมแรงเฉพาะ ลำต้นตั้งตรง สีเขียวอมม่วง ใบหยักลึกแบบขนนกสามชั้น รูปไข่ (ตามแนวเส้นรอบนอก) ขนาดกว้าง ๒๕ เซนติเมตร ยาว ๓๐ เซนติเมตร แฉกใบมีก้านเห็นได้ชัดเจน

                                                                                                            

รูปไข่ถึงรูปใบหอก แกมรูปไข่ กว้าง ๐.๘-๒.๕ เซนติเมตร ยาว ๒-๒.๓ เซนติเมตร  ขอบหยักฟันเลื่อยแบบไม่สม่ำเสมอ มักแยกเป็นแฉกย่อย ๒-๓ แฉก แผ่นใบเรียบ (ยกเว้นบริเวณเส้นใบ) ก้านใบยาว ๕-๒๐ เซนติเมตร โคนแผ่นเป็นกาบแคบๆ สีอมม่วง ดอกออกเป็นช่อซี่ร่ม ออกตามปลายกิ่งหรือออกด้านข้างตามซอกใบ ก้านช่อยาว ๘-๑๐ เซนติเมตร ใบประดับมี ๐-๒ ใบ รูปแถบ มีช่อซี่ร่มย่อยขนาดไม่เท่ากัน ๑๐-๓๐ ช่อ ใบประดับย่อยมี ๒-๔ ใบ รูปแถบ ยาวได้ถึง ๕ มิลลิเมตร ช่อซี่ร่มมีดอกย่อยสีขาว (บางครั้งสีแดงอมม่วง) ๑๓-๓๕ ดอก กลีบเลี้ยงฝ่อ รูปไข่กลับ ปลายเว้าตื้น ฐานก้านเกสรเพศเมียกลมแบน ขอบแผลเป็นปีกยื่นออก ผลเป็นผลแบบผักชี ด้านล่างแบนข้าง รูปขอบขนานแกมรูปรีถึงรูปไข่กลับ กว้าง ๓-๔ มิลลิเมคร ยาว ๔-๖ มิลลิเมตร สันด้านล่างหนาแคบ ด้านข้างมีปีกบาง กว้างราวความกว้างของผล มีท่อน้ำมัน ๑ ท่อต่อ ๑ ร่อง แต่มี ๒ ท่อตรงแนวเชื่อม พืชชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในป่าดิบ ตามภูเขาสูงทางภาคกลางของประเทศจีน คือบริเวณมณฑลกานซู หูเปย์ ซานซี  ซื่อชวน (เสฉวน) และหยุนหนาน (ยูนนาน) พบขึ้นในที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๒๕๐๐-๓๐๐๐ เมตร ออกดอกในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม เป็นผลในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน พืชชนิดนี้ถูกพัฒนาสายพันธุ์เป็นพืชพืชปลูกในประเทศจีนมานานนับพันปีแล้ว ปัจจุบันปลูกเป็นพืชอาสินในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม

โกษฐ์เชียงเป็นรากแห้ง รูปแบบทรงกระบอก ปลายแยกเป็นแขนง ๓-๕ แขนง หรือมากกว่า ยาว ๑๕-๒๕ เซนติเมตร ผิวนอกสีน้ำตาลอมเหลืองถึงสีน้ำตาล มีรอยย่นตามแนวยาว รอยช่องอากาศตามแนวขวาง ผิวไม่เรียบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕-๔ เซนติเมตร  มีแอนนูลัส  ปลายมนและกลม มีร่องรอยส่วนโคนต้นและจากใบสีม่วงหรือสีเขียวอมเหลือง รากแขนง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุด ๐.๓-๑ เซนติเมตร  ตอนบนหนาตอนล่างเรียวเล็ก ส่วนมากบิด มีแผลที่เกิดจากรากฝอย เนื้อเหนียว รอยหักสีขาวหรือสีน้ำตาลอมเหลือง เปลือกรากหนา มีร่องแลกจุดจำนวนมาก ส่วนเนื้อรากสีจางกว่า มีวงแคมเบียมสีน้ำตาลอมเหลือง มีกลิ่นหอมแรง รสหวาน ฉุน และขมเล็กน้อย

คนจีนนิยมใช้ โกษฐ์เชียง เป็นเครื่องยาในยาขนาดต่างๆจำนวนมาก เป็นรองก็แต่ชะเอม (licorice) เท่านั้น จีนใช้ขวดเชียงแตกต่างกันคือ รากหลักที่จีนเรียก (ตัง) กุยเท้า (สำเนียงแต้จิ๋ว) ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ส่วนรากแขนงน้ำจีนเรียก (ตัง) กุยบ๊วย (สำเนียงแต้จิ๋ว) ใช้เป็นยาขับระดู แพทย์แผนจีนใช้เครื่องยาชนิดนี้ในยาเกี่ยวกับโรคเฉพาะสตรี เช่น ยาขับประจำเดือน ยาโรคตีขึ้น แก้ไข้บนกระดานไฟ เกี่ยวกับอาการเลือดออกทุกชนิด แก้หวัด แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ตกมูกเลือด ขนาดที่ใช้คือ ๓-๙ กรัม สตรีจีนนิยมใช้โกษฐ์เชียงเป็นยากระตุ้น อวัยวะเพศ เพื่อให้ปฏิบัติสามีได้ดีและเมื่อมีให้มีลูกดก โกษฐ์เชียงที่ขายตามร้านขายยาเครื่องยาสมุนไพรมักเป็น(ตัง) กุยบ๊วย ตำราสมบูรณ์ยาโบราณว่าโกษฐ์เชียงมีกลิ่นหอม รสหวานขม แก้ไข้ แก้สะอึก แก้เสียดแทงสองราวข้าง โกษฐ์นี้เป็นโกษฐ์ชนิดหนึ่งในพิกัดโกษฐ์ทั้ง ๕ โกษฐ์ทั้ง ๗ และโกษฐ์ทั้ง ๙ โกษฐ์เชียงน้ำมันระเหยง่ายอยู่ราวร้อยละ ๐.๑-๐.๓ ในน้ำมันระเหยง่ายมีสารเชฟโรล (safrole) สารไอโซเซฟโรล (isosafrole)  สารคาร์วาครอล (carvacrol) เป็นต้น นอกจากน้ำมันระเหยง่ายแล้วยังมีสารอื่นๆอีกหลายชนิด เช่น สาร ไลกัสติไลค์ (ligustilide) กรดเฟรูลิก (ferulic acid) กรด เอ็น-วาเลอโรฟีโนน-โอ-คาร์บอกซิลิก(n-valerophenone-O-carboxylic acid)
 

โกษฐ์สอ

เป็นรากแห้งของพืชอันมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Angelica dahurica (Fisch ex Hoffm.)  Benth & Hook.f. ex Franch , Sav. ในวงศ์ Umbelliferaeมีชื่อพ้องหลายชื่อ ได้แก่ Callisace dahurica Franch & Sav., Angelica macrocarpa H.Wolff, Angelica porphyrocaulis Nakai &Kitag.,Angelica tschiliensis H.Wolff  คำ สอ เป็นภาษาเขมรแปลว่าขาว ตำราโบราณลางเล่มเรียกเครื่องยานี้ว่า โกษฐ์สอจีน จีนเรียก ป๋ายจื่อ (สำเนียงแมนดาริน) เปะจี้ (สำเนียงแต้จิ๋ว) มีชื่อสามัญว่า Dahurain angelica พืชที่ให้โกษฐ์สอเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง ๑.-๒.๕๐ เมตร รากอวบใหญ่ เนื้อแข็ง รูปกรวยยาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓-๕ เซนติเมตร อาจยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร หรือมากกว่า อาจแยกแขนงตรงปลาย มีกลิ่นหอมแรงเฉพาะ ลำต้นตั้งตรง อวบสั้น โคนต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒-๕ เซนติเมตร (หรือมากกว่า) มีสีม่วงแต้มเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก หรือหยักลึกแบบขนนก ๓ ชั้น แผ่นใบรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม (ตามแนวเส้นรอบนอก) กว้างถึง ๔๐ เซนติเมตร ยาวถึง ๕๐ เซนติเมตร แฉกใบไม่มีก้าน รูปรีแคบถึงรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง ๑-๔ เซนติเมตร ยาว ๔-๑๐ เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเป็นครีบเล็กน้อย ขอบหยักฟันเลื่อยห่างๆ ก้านใบยาว โคนแผ่เป็นปีก ใบด้านบนรถรูปเหลือเพียงกาบที่เกือบไม่มีแผ่นใบ ดอกเป็นดอกช่อซี่ร่มย่อยขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐-๓๐ เซนติเมตร สีขาว ใบประดับมี ๐-๒ ใบ คล้ายกาบ ป่องออกหุ้มช่อดอกเมื่อยังอ่อนอยู่ มีซี่ร่มย่อย ๑๘-๔๐ (หรือบางครั้งถึง ๗๐) มีขนสั้นๆ ใบประดับย่อยมี ๑๔- ๑๖ ใบ รูปใบหอกแกมรูปแถบ ยาวเกือบเท่าดอกย่อย กลีบเลี้ยงฝ่อ กลีบดอกมี ๕ กลีบ รูปไข่กลับ ขนาดเล็ก ปลายเว้าตื้น ฐานก้านเกสรเพศเมียกลมแบน ขอบแผลเป็นปีกยื่นออก ผลเป็นผลแผนผักชี ด้านล่างแบนราบ รูปรีกว้าง กว้างถึง ๔-๖ เซนติเมตร ยาว ๔-๗ เซรติเมตร สันด้านล่างหนากว่าร่อง สันด้านข้างแผ่เป็นปีกกว้าง มีท่อน้ำมัน ๑ ท่อต่อ  ๑ ร่อง แต่มี ๒ ท่อ ตรงแนวเชื่อม ดอกบานราวเดือนกรกฎาคมคงถึงสิงหาคม และเป็นผลราวเดือนสิงหาคมถึงกันยายน พืชนี้มีเขต การกระจายพันธุ์ในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และรัสเซีย (ไซบีเรีย) พันธุ์ที่พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีนเป็นพันธุ์ A. dahurica (Fisch. ex Hoffm.) Benth. & Hook.f. ex Franch. & Sav. var dahurica  เพิ่มขึ้นจากภูเขาสูงและชื้น ในหุบเขา ริมน้ำ และชายป่า โดยเฉพาะมณฑลเหอเปย์ เฮย์หลงเจียง จี๋หลิน เหนียวหนิง และชานซี พันธุ์นี้ได้รับการพัฒนาเป็นพืชปลูก ที่นิยมกันมาก สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ A dahurica cv.Oibaizhi (ปลูกมากที่มณฑลเหอหนาน)

ส่วนพันธุ์ที่พบทางภาคเหนือของเกาะไต้หวันเป็น A.dahurica (Fisch. ex Hoffm.)Benth. & Hook.f. ex Franch. & Sav. var. formosana (H. Boissieu) พันธุ์นี้รังไข่และผลมีขน ซึ่งจะแตกต่างจากพันธุ์ทางภาคเหนือ พันธุ์นี้กฌได้รับการพะฒนาเป็นพิชปลูกเช่นกัน และที่นิยมปลูกกันมากมี ๒ สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ A. dahurica cv. Hangbaizhi (ปลูกมากที่มณฑลฝูเจี้ยนหรือฮกเกี้ยน เจียงซู เจ้อเจียง และถายวาน) สายพันธุ์ A. dahurica cv.Chuanbaizhi (ปลูกมากที่มณฑลซื่อชวน รากของพืชนี้จะถูกขุดขึ้นมาในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงเมื่อต้นเริ่มเฉาและใบเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง จากนั้นนำมาล้างน้ำให้สะอาด ตัดรากแขนงออก แล้วตากแดดหรือตากในที่ร่มจนแห้งสนิท แพทย์แผนไทยเรียกรากแห้งที่ได้ว่า โกษฐ์สอ โกษฐ์สอเป็นรากแห้งรูปกรวย ยาว ๑๐-๒๕ เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕-๒.๕ เซนติเมตร เกือบกลมหรือเป็นสี่เหลี่ยม ปลายมนหรือมีรอยหัก ภายนอกสีน้ำตาลอมเทาหรือสีน้ำตาลอมเหลือง มีรอยย่นตามแนวยาว มีรอยแผลเป็นของรากแขนง คล้ายช่องอากาศนูนขึ้นมาตามแนวขวาง เรียงเป็นแถวตามยาว ๔ แถว โคนรากมีรอยแผลเป็นของลำต้น เนื้อรากแน่น รอยหักสีขาวหรือสีขาวอมเทา วงแคมเบียมสีน้ำตาล เกือบกลมหรือเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีจุดน้ำมันสีน้ำตาลที่เปลือก กลิ่นหอมแรงเฉพาะ รสผมมัน แพทย์แผนจีนใช้โกษฐ์สอเป็นยาแก้ปวดหัว โดยเฉพาะอาการปวดบริเวณหน้าผาก นอกจากนั้นยังใช้แก้คัดจมูกเนื่องจากไข้หวัด แก้โรคโพรงอากาศอักเสบ แก้ปวดฟัน และแก้ระดูขาว ขณะที่ใช้ ๓-๙ กรัม ตำราสรรพคุณยาโบราณว่าโกษฐ์สอมีกลิ่นหอม รสขมมัน แก้ไข้ แก้หืด แก้ไอ ทำให้หัวใจชุ่มชื่น โกษฐ์นี้เป็นโกษฐ์ชนิดหนึ่งในพิกัดโกฐทั้ง ๕ โกรธทั้ง ๗ และโกษฐ์ทั้ง ๙

โกษฐ์สอมีองค์ประกอบทางเคมีเป็น สารกลุ่มคูมาริน (coumarin) ประเภท ฟิวโรคูมาริน (furocoumarin)  หลายชนิด เช่น สารไบยัก-แองเจลิซิน (byak-angelicin) สารไบยัก-แองเจลิคอล (byak-angelicol) สารอิมเพอราโทริน (imperatorin)  สารไอโซอิมเพอราโทริน (isoimperatorin) สารออกซีพิวซีดานิน (oxypeucedanin) สารเฟลลอปเทอริน (phellopterin) นอกจากนั้นยังมีสารมาร์เมซิน (marmecin) และสารสโกโพเลทิน (scopoletin)
 

โกษฐ์สอเทศ

โกษฐ์สอนเทศได้จากหัวที่ปอกเปลือกแล้วของต้นออร์ริส (orris root) อันเป็นพืชสกุล iris หลายชนิด เช่น garden iris หรือ common German flag อันมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Iris germanica L.Florentine iris  อันมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Iris germanica L. var. florentina Dykes ( ชื่อพ้องคือ Iris florentina L.) และ Dalmatian iris อันมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Iris pallida Lamarck ในวงศ์ Irisdaceae พืชเหล่านี้เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป บริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โกษฐ์สอเทศมีกลิ่นหอมและมีปริมาณแป้งมาก คล้ายโกษฐ์สอจีน จนเคยเข้าใจผิดว่าโกษฐ์สอจีน ได้จากพืชพวกเดียวกับโกษฐ์สอเทศ พืชที่ให้โกษฐ์สอเทศชนิด Iris germanica L. รู้จักกันในชื่อ fleur -de-lis เป็นพืชขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีเห้งาขนาดใหญ่ ใบในระยะแรกเป็นรูปใบดาบกว้าง เมื่อใบมีอายุมากขึ้น จะยาวขึ้น ปลายอาจพับห้อยลง ดอกออกเป็นช่อ มีดอกย่อย ๒-๓ ดอกอยู่ในกาบ กลีบเลี้ยงมี ๓ กลีบ พับลง มีสีม่วงเข้ม มีแต้มสีเหลืองสดตรงโคนกลีบเลี้ยง กลีบดอกมี ๓ กลีบ ขนาดเท่าๆกับกลีบเลี้ยง มีสีม่วงอ่อน เกสรเพศผู้มี ๓นเกสรเพศเมียมี ๑ อัน ผลเป็นแบบแคปซูล มี ๓ เหลี่ยม ส่วนพืชที่ให้โกษฐ์สอเทศ ชนิด Iris germanica L. var. Florentina Dykes ต่างจากชนิดแรกที่มีดอกสีขาวขนาดใหญ่ และเป็นชนิดที่ให้โกษฐ์สอเทศที่มีกลิ่นหอมที่สุด สำหรับชนิด Iris pallida Lam. ต่างจากชนิดแรกตรงที่มีดอกสีฟ้าอ่อน ส่วนใหญ่โกษฐ์สอเทศ ผลิตในประเทศอิตาลีและโมร็อคโก รวมทั้งส่งออกขายด้วย โดยทั่วไปโกษฐ์สอเทศ

ได้จากเหง้าของพืชเหล่านี้ที่มีอายุ ๒-๓ ปี ที่ขุดขึ้นมาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน เมื่อล้างให้สะอาดแล้ว ปอกเปลือกออก ตากแดดให้แห้ง ช่วงที่ยังสดอยู่มีรสขมและยังไม่มีกลิ่นหอม แต่จะหอมมากขึ้นในระหว่างการทำให้แห้ง พ่อค้าฝรั่งคงนำโกษฐ์สอเทศเข้ามาขายในสยามประเทศ แต่โบราณ แต่ไม่มีการนำเข้ามาขายนานแล้ว จึงทำให้เครื่องอย่างนี้มีคนรู้จักน้อยลง ชาวยุโรปเอาโกษฐ์สอเทศนี้มาเจาะรู ร้อยเชือก ผูกห้อยคอเด็ก สำหรับให้เด็กอมหรือกัดเล่น เวลาจะให้หย่านม แต่ในปัจจุบันใช้น้อยลง นอกจากนั้นยังใช้ขับเสมหะและทำให้ชุ่มคอในผู้ที่เป็นหวัด โกษฐ์สอเทศเป็นส่วนประกอบสำคัญในชา แก้ไอ ขับเสมหะ ในตำรับยาจากสมุนไพรที่ขายกันแพร่หลายในยุโรป องค์ประกอบสำคัญของโกษฐ์สอเทศเป็นน้ำมันระเหยง่ายซึ่งมีอยู่ในราวร้อยละ ๐.๒ ซึ่งมีองค์ประกอบหลักเป็นอนุพันธ์ที่มีกลิ่นหอมของไอโรน (irone) เช่น (+)- cis – (-irone) รวมทั้งสารไอโซฟลาโวนอยด์ (isoflavonoid) หลายชนิด เช่น ไอริโรน (irirone) ไอริโซโลน (irisolone) โกษฐ์หัวบัว โกฐหัวบัวเป็นเหง้าแห้งของพืชอันมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Ligusticum sinense Oliv. cv. Chuanxiong ในวงศ์ Umbelliferaeมีชื่อพ้องว่า Ligusticum chuanxiong Hort. ex Y.Q.Qui, Y.Q.Zhong, K.Y. Pan,Y.C. Tang&J.M. Xu หรือ Ligusticum wallichii auct. non Franch. เป็นต้น

จีนเรียกเครื่องยานี้ว่า ชวนเกียง (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือชวนซีอง(สำเนียงแมนดาริน) มีชื่อสามัญว่า Szechuan lovage พืชที่ให้เครื่องยานีเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นแข็งแรง ตั้งตรง แตกกิ่งสูงได้ถึง ๑ เมตร มีเหง้าหนา เป็นหัวค่อนข้างกลม ผิวตะปุ่มตะป่ำ ข้อป่อง ปล้องสั้น ใบหยักลึกแบบขนนก ๓ ชั้น แฉกสุดท้ายรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน หยักแบบขนนก ใบที่อยู่ใกล้โคนต้นรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม (ตามแนวเส้นรอบนอก) กว้างถึง ๑๕ เซนติเมตรยาวถึง ๒๐ เซนติเมตร ก้านใบยาวถึง ๒๐ เซนติเมตร โคนใบแผลเป็นกาบ พืชสายพันธุ์นี้เป็นพืชปลูก ไม่มีดอก (เป็นหมัน) ต้นโกษฐ์หัวบัวสายพันธุ์นี้เป็นพืชที่ปลูกที่ได้ผ่านการพัฒนาและปรับสายพันธุ์มานานนับพันปี จนมีเหง้าหนาเป็นพิเศษ ขยายพันธุ์โดยการแยกต้น จัดเป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศจีน ปลูกมากในมณฑลซื่อชวน และบริเวณที่ราบทางภาคใต้ของแม่น้ำหวงเหอ  (ฮวงโห) รวมทั้งเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน เหง้าของพืชจะงอกของพืชชนิดนี้จะถูกเก็บในฤดูร้อน (ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม) เมื่อข้อที่ลำต้นโป่งพองออกและมีสีอมม่วง นำไปล้างเอาทรายออก ตากแดดจนแห้ง อบจนแห้งสนิท แล้วเอาแล้วตัดเอารากแขนงออกหมด จะได้เหง้ารูปคล้ายกำปั้น ผิวตะปุ่มตะป่ำ ไม่สม่ำเสมอ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒-๗ เซนติเมตร ผิวนอกสีน้ำตาลอมเหลือง สากเหี่ยวย่น เนื้อแน่น หักยาก รอยหักสีขาวอมเหลืองหรือสีเหลืองอมเทา มีท่อน้ำมันสีน้ำตาลอมเหลืองกระจายอยู่ทั่วไป มีกลิ่นหอมรุนแรง รสขม ฉุน และชาเล็กน้อย แต่จะหวานภายหลัง ชาวจีนเชื้อว่าตันว่าโกษฐ์หัวบัวนั้นได้จากพืชที่ปลูกมีสรรพคุณทางยาดีกว่าพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ แพทย์แผนจีนใช้โกษฐ์หัวบัวเป็นยาแก้หวัด แก้ปวดศีรษะ แก้โรคโลหิตจาง แก้ปวดประจำเดือน แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ แก้ปวดและเจ็บต่างๆ รวมทั้งปวดฟัน แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ไอ แก้วัณโรค แก้โรคเข้าข้อ และแก้ตกเลือด ขนาดที่ใช้คือ ๓-๙ กรัม ใบของต้นโกษฐ์หัวบัวมีกลิ่นหอมชื่นใจ ใช้เป็นยาขับพยาธิในท้อง แก้บิด แก้ไอ เป็นยาขับลม แก้โรคประสาท เป็นยาฆ่าเชื้อ ใช้เป็นส่วนผสมในยาแก้หวัด และแก้ท้องร่วง ส่วนดอกใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางแต่งหน้า แพทย์แผนไทยลางคนก็เรียกโกษฐ์หัวบัวที่มีขนาดใหญ่ว่าโกษฐ์หัวบัวใหญ่ และเรียก หัวที่มีขนาดเล็กกว่าว่า โกษฐ์หัวบัวน้อย ตำราสรรพคุณยาโบราณว่าโกษฐ์หัวบัว มีกลิ่นหอม รสมัน แก้ลมในกองริดสีดวง กระจายลมทั้งปวง (หมายถึงลมที่ค้างอยู่ในลำไส้ เป็นตอนๆ ทำให้ผายออกมา )โกษฐ์นี้จัดเป็นผลชนิดหนึ่งในพิกัดโกฐทั้ง ๕ โกษฐ์ทั้ง ๗ และผลทั้ง ๙ โกษฐ์หัวบัว มีน้ำมันระเหยง่ายอยู่ราวร้อยละ ๒ ในน้ำมันนี้มีกรดเฟรูลิก  (ferulic acid) อยู่ราวร้อยละ ๐.๐๒ และสารไลกัสติไลค์ (Ligustilide) ร้อยละ ๐.๔๒ นอกจากนั้นยังมีสารเททราเมทิลไพราซีน (tetramethylpyrazine) สารเพอร์โลลิรีน (perlolyrine) สารสปาทูลีนอล (spathulenol) สารไครโซฟานอล (crysophanol) กรดซีดาโนนิก (sedanonic acid) เป็นต้น รวมทั้งชั้นที่มีรสเปรี้ยว
 

โกษฐ์เขมา

โกษฐ์เขมาเป็นเหง้าแห้งของพืชอันมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Atractylodes lancea (Thunb.) DC. ในวงศ์ Compositaeคำว่าเขมา เป็นภาษาเขมร แปลว่า ดำ เนื่องจากเครื่องยานี้มีสีออกดำ พืชชนิดนี้มีชื่อพ้องหลายชื่อ เช่น Atractylis lancea DC.Acana chinensis Bunge; Atractylis chinensis (Bunge) DC.; A. chinensis var. liaotungensis Kitagawa; A. chinensis var .loesseneri Kitagawa; A. chinensis var. quiqueloba Balanov & Sk.; chinensis var. simplicifolia (Loesen) Chu; A. ovata Thunberg; A. ovata var. simplicifolia Loesen, A.seperata Bailey ; Atractylodes chinensis (Bunge) Koidzumi; A. chinensis var. simplicifolia (Loesen) Kitagawa; A.erossodentata Koidzumi; A.lancea (Thunberg) de Candolle var. simplicifolia (Loesen) Kitamura; A.lyrata siebold & Zuccarini; A.ovata (Thunberg) de Candolle และ Giraldia stapfii Baroni

ลางตำราเรียกเครื่องยานี้ว่า โกษฐ์หอม จีนเรียก ซังตุ๊ก (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ ชางจู๋ (สำเนียงแมนดาริน) มีชื่อสามัญ atractylodes พืชที่ให้โกษฐ์เขมานี้ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปีสูง (๑๕) ๓๐ – ๑๐๐ เซนติเมตร เหง้าหนา ทอดนอนหรือตั้งขึ้น มีรากพิเศษขนาดเท่าๆกันจำนวนมาก ลำต้นเดี่ยวหรือเป็นกระจุก อาจไม่แตกกิ่งหรือแตกกิ่งเล็กน้อย เฉพาะตอนบนบนๆของต้น มีมีขนค้ลายใยแมงมุมเล็กน้อยหรือไม่มีขน ใบเดียว สีเขียวเหมือนกันตลอด บางเหมือนกระดาษ ไม่มีขนขอบใบเป็นขนครุยหรืออยากเป็นซี่ฟันแหลม ใบที่โคนต้นจะเหี่ยวเฉาเมื่อดอกบานใบใกล้โคนต้นเกือบไร้ก้านใบถึงมีก้านใบ ยาวได้ถึง ๓.๕ เซนติเมตร แผ่นใบกว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ยาว ๘-๑๒ เซนติเมตร ขอบใบอาจเรียบ หรือหยักแบบขนนก ๓-๕ (-๙) แฉก หรือหยักลึกแบบขนนก แฉกด้านข้างรูปรี รูปรีแคบ หรือรูปไข่แกมรูปรี แฉกด้านปลายรูปโล่กลม รูปไข่กลับ รูปเบี้ยว รูปไข่ หรือรูปรี ใบบริเวณกลางต้นมีก้านใบยาว ๐.๕-๑๒.๕ เซนติเมตร แผ่นใบรูปไข่กลับ รูปไข่กลับแคบ รูปไข่แกมแกมรูปมี รูปรีแคบหรือรูปใบหอกกลับ โคนใบรูปลิ่มแกมสอบเรียว ขอบใบเรียบหรืออาจหยัก เป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม ๑-๒ แฉก บริเวณใกล้โคนใบ บริเวณใดบริเวณไกลต้นอาจมีขอบหยักรูปไปแหลม ๑-๒ แฉก บริเวณใกล้โคนใบ ใบบริเวณปลายต้นอาจมีขอบใบหยักรูปปลายแหลม ๑-๒ แฉก หรือหยักลึกแบบขนนก หรือหยักลึกสุดแบบขนนก ช่อดอกเป็นช่อกระจุกแน่น มีหนึ่งถึงหลายดอกออก ที่ปลายกิ่ง สีขาว วงใบประดับรูประฆัง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑-๑.๕ เซนติเมตร ใบมีใบประดับ มี ๕-๗ แถว ขอบมีขน คล้ายใยแมงมุมเล็กน้อย ปลายกลมหรือมน ใบประดับด้านนอกรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง ๑.๕-๓ มิลลิเมตร ยาว ๓-๖ มิลลิเมตร ใบประดับตรงกลางๆ รูปไข่ถึงรูปไข่แกมรูปรี กว้าง ๓-๔ มิลลิเมตร ยาว ๖-๑๐ มิลลิเมตร ใบประดับด้านใน รูปรีถึงรูปแถบ กว้าง ๒-๓ มิลลิเมตร ยาว ๑.๑-๑.๒ มิลลิเมตร

บางครั้งใบประดับในสุดอาจมีสีแดง ฐานรองดอกแบน มีเกล็ดปกคลุมหนาแน่น ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ หรือเป็นดอกเพศเมียที่มีเกสรเพศผู้ลดรูป กลีบดอกสีขาว ยาวราว ๙ มิลลิเมตร ปลายหยักเป็น ๕ หยัก ก้านเกสรเพศผู้ไม่มีขน ก้านเกสรเพศเมียสั้น เป็นสามเหลี่ยมมีขนนุ่มบริเวณไกลแกน ผลแห้ง เมล็ดร่อนรูปไข่กลับ แพปพัสสีน้ำตาลถึงสีขาวหม่น มี ๑ แถว ติดกันเป็นวงที่โคน ยาว๗-๘ มิลลิเมตร พืชชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และรัสเซีย มักพบขึ้นตามทุ่งหญ้า ในป่า ตามซอกหิน ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ๗๐๐-๒๕,๐๐ เมตร ดอกออกและเป็นผลตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม พืชชนิดนี้มีปลูกทั่วไป ทั้งเพื่อใช้ในครัวเรือน และที่ปลูกพืชเป็นพืชอาสินในจีน โดยเฉพาะทางภาคตะวันออก (มณฑลเจียงซู หูเป่ย์ และเหอหนาน ) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน มณฑลเหอเป่ย์ ชานซี เหนียวหนิง จี๋หลอน และเฮย์หลงเจียง เหง้าของพืชชนิดนี้ จะถูกเก็บในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูใบไม้ผลิ ล้างให้สะอาด ตัดเอารากแขนงออก และตากแดดให้แห้ เหง้าแห้งที่ได้เรียก โกษฐ์เขมา เป็นก้อนค่อนข้างกลมหรือยาว หรืออาจมีแง่งแยกออกไป๓-๑๐ เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑-๒ เซนติเมตร ผิวเป็นปุ่มปม สีน้ำตาลอมเทา มีรอยย่นและรอยบิดตามขวาง มีกลิ่นหอม (ลางตำราเรียก โกษฐ์หอม) เนื้อแน่น เมื่อฝานหัวออกใหม่ๆ จะมีสีขาวมอที่ด้านใน ผิวสีเหลือง เนื้อนายวินแต้มสีแสดของชันน้ำมันอยู่ประปรายทั่วไป ส่วนนี้เมื่อละลายด้วยสุราอย่างแรงจะให้ยาดอกสีเหลือง ตำราสรรพคุณยาโบราณว่าคุโกษฐ์เขมามีกลิ่นหอม รสร้อน ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ เป็นยาบำรุง ใช้แก้โรคเข้าข้อ โรคในปาก เป็นยาเจริญอาหาร ขับเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคในปากในค อระงับอาการหอบ แก้หวัดคัดจมูก แก้ไข้ แก้ลมตะกัง แก้เหงื่อออกมาก แก้ไข้รากสาดเรื้อรัง จัดเป็นโกษฐ์ชนิดหนึ่งในพิกัดโกฐทั้ง ๕ โกษฐ์ทั้ง ๗ และโกษฐ์ทั้ง ๙

แพทย์แผนจีนนิยมใช้โกษฐ์เขมามาก เข้าในยาจีนหลายขนาน ตำรายาจีนว่าใช้แแก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย แก้อาการบวม โดยเฉพาะอาการบวมที่ขา แก้ปวดข้อเนื่องจากโรคข้ออักเสบ แก้หวัดและแก้โรคตาบอดตอนกลางคืน ขนาดที่ใช้ ๓-๙ กรัม เครื่องยานี้ได้รับการรับรองใน ตำรายาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนฉบับ ค.ศ. ๒๐๐๐ ในชื่อ Rhizoma Atractylodis โกษฐ์เขมามีองค์ประกอบทางเคมีเป็นน้ำมันระเหยง่ายราวร้อยละ ๓.๕-๕.๖ น้ำมันระเหยง่ายนี้มีสารสำคัญคือ สารอะแทร็กทีโลดิน (Atractylodin) สารเบต้า-ยูเดสมอล (b-eudesmol) สารไฮนีซอล (hinesol) สารเอลีมอล (elemol) และสารอะแทร็กซีลอน (atractylon) นอกจากนั้นโกษฐ์เขมายังมีวิตามินดีในปริมาณสูง

 

รูปภาพจาก:thaihealth.or.th,vichakaset.com