สมุนไพรไม้เท้ายายม่อม

สมุนไพรไม้เท้ายายม่อม

ไม้เท้ายายม่อม Trigonostemon longifolius
บางถิ่นเรียก เท้ายายม่อมป่า อ้ายบ่าว (ปัตตานี)

ไม้ต้น หรือ ไม้ต้น -> ขนาดเล็ก สูง 2-6 ม. ยอดอ่อนมีขนสีเหลืองอมแดง เมื่อแห้งมีสีเหลือง.
ใบ -> เดี่ยว เรียงสลับกัน รูปหอกกลับถึงรูปช้อนแกมรูปไข่กลับ กว้าง 5-14 ซม. ยาว 20-55 ซม. ปลายใบเรียวแหลมเป็นหาง ยาวประมาณ 0.5-2 ซม. ขอบใบหยักเล็กน้อยทางใกล้ปลายใบ ส่วนขอบใกล้โคนใบเรียบ; โคนใบเรียวแหลมจนเป็นครีบ; เส้นใบมี 15-20 คู่ ด้านบนใบสีเขียวเข้ม เกลี้ยง ยกเว้นตามเส้นกลางใบมีขน ด้านล่างสีอ่อน มีขนห่าง ๆ ทั่วไป และมีขนมากตามเส้นกลางใบ และขอบใบ; ก้านใบยาว 0.5-1.5 ซม. มีขน.
ดอก -> ออกตามง่ามใบ เป็นช่อยาว ไม่แยกแขนง ยาว 15-25 ซม. มีขนหนาแน่น ใบประดับรูปยาวปลายแหลม; ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียเกิดบนต้นเดียวกัน. ดอกเพศผู้ มีกลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ ด้านนอกมีขนยาวและแข็งชี้ไปทางปลายกลีบ; กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับแกมขอบขนาน สีแดงคล้ำ เกสรผู้มี 3 หรือ 5 อัน ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นแท่ง อับเรณูติดที่ปลาย ก้านดอกมีต่อม 5 ต่อม มักจะเชื่อมติดกันคล้ายรูปถ้วย. ดอกเพศเมีย กลีบรองกลีบดอก และกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้หรือไม่มีกลีบดอก รังไข่มี 3 ช่อง ท่อรังไข่แยกเป็น 2 แฉก แต่ละแฉกแยกต่ออีก 2 แฉก.
ผล -> เป็นช่อตั้งตรง มี 3 พู เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 14 มม. มีขนปกคลุมหนาแน่น; ก้านผลยาว 0.7-1.0 ซม. เมล็ด มีขนาดเล็ก.


นิเวศน์วิทยา

ไม้เท้ายายม่อมขึ้นในป่าดงดิบทางภาคใต้ เหนือระดับน้ำทะเลไม่เกิน 400 ม.


สรรพคุณ

ราก -> น้ำยางรากใช้ทาแก้ผึ้งต่อย และทาแก้พิษแมงกะพรุน

 

รูปภาพจาก:bloggang.com,bansuanporpeang.com,สมุนไพร