สมุนไพรกลอย

สมุนไพรกลอย

กลอย Dioscorea hispida Dennst.
บางถิ่นเรียก กลอย มันกลอย (ทั่วไป) กลอยข้าวเหนียว กลอยหัวเหนียว (นครราชสีมา) กลอยนก กอย (เหนือ) คลี้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน).

ไม้เถา -> ลำต้นกลม มีหนาม หัวใต้ดินส่วนมากกลม บางทีเป็นพู หรือ ยาว เกิดใกล้ผิวดิน เปลือกสีฟาง หรือ เทา บาง เนื้อขาว หรือ เหลืองอ่อนอมเขียว เป็นพิษ.
ใบ -> เรียงสลับกัน มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อย ใบกลางรูปรี หรือ รีแกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบแหลม กว้าง 6-15 ซม. ยาว 8-25 ซม. เส้นใบเรียงตามยาว 3-5 เส้น ด้านล่าง ตามเส้นใบใหญ่ ๆ มีหนาม ใบย่อย 2 ข้าง รูปไข่ รูปไข่กลับ หรือ ค่อนข้างเป็นรูปหัวใจ เบี้ยว ปลายแหลม โคนกลม สั้นกว่าใบกลาง แต่กว้างกว่า มีเส้นใบตามยาว 4-6 เส้น ใบอ่อนด้านบนมีขน ใบแก่เกลี้ยง ก้านใบยาว 7-14 ซม. กลม มีขน ก้านใบแก่มีหนา หัวท้ายโป่งเล็กน้อย ก้านใบย่อยยาว 0.5-1 ซม.
ดอก -> เล็ก สีเขียว ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อซ้อน 2-3 ชั้น ยาวได้ถึง 40 ซม. ดอกตั้งขึ้น มีใบประดับติดอยู่ที่ฐาน ลักษณะคล้ายถุง ปลายแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกชั้นนอกกลม กลีบดอกที่อยู่ชั้นใน รูปยาวกว่าชั้นนอกเล็กน้อย เกสรผู้ 6 อัน ยาวประมาณ 0.5 มม. ดอกเพศเมีย ออกเป็นช่อชั้นเดียวเดียว ๆ ดอกชี้ลงดิน กลีบดอกเหมือนดอกเพศผู้ เกสรเมียมีขน ปลายแยกเป็น 2 แฉก.
ผล -> รูปคล้ายน้ำเต้าคอชะลูด กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 5.5 ซม. ผิวเกลี้ยง สีน้ำผึ้ง มีปีก. เมล็ด มีปีก.


นิเวศน์วิทยา

เกิดตามที่ลุ่มต่ำทั่วไป และตามไร่ร้าง.


สรรพคุณ

ราก -> บดให้ละเอียด (โดยผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใบยาสูบ ใบลำโพง หรือ (พริก) ใช้ทาพอกแผล เพื่อฆ่าหนอนในแผลสัตว์เลี้ยง
หัวใต้ดิน -> หัวสดเป็นพิษมาก  ถ้าหั่นเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วแช่ทิ้งเอาไว้ในทางน้ำไหลสัก 2-3 วัน ล้างให้สะอาด ทำให้สุกแล้วกินได้ น้ำต้มหัว กินแก้น้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ แก้ปวดตามข้อ. ฝีมะม่วง และใช้ร่วมกับหัวข้าวเย็นเหนือ และข้าวเย็นใต้ รักษาโรคซิฟิลิส หั่นเป็นแผ่นบาง ๆ ใช้ปิดแก้บวมอักเสบ ทั้งต้น เป็นพิษมาก

สมุนไพรกลอย

รูปภาพจาก:oknation.nationtv.tv,sites.google.com