ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของสมุนไพร

ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของสมุนไพร

ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของสมุนไพร ได้แก่
.พันธุกรรม โดยทั่วไปหมายมักหมายถึงชนิด พันธุ์ และลูกผสม ของพรรณพฤกษชาติ ที่ให้เครื่องยาสมุนไพรเหล่านั้น เครื่องยาลางอย่างอาจได้จากพืชหลายชนิดในสกุลเดียวกัน โดยที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน ตัวอย่างเช่น ยางสน อาจได้จากพืชสกุลสนเขาหลายชนิด เช่น (Pinus spp.) เช่น Pinus palustris Mill. (P. australis Michaux) P. Echinata Mill. P. taeda L., P. cubensis Griseb., P. maritima Lam., P. longifolia Roxv. หรือ elliottii Engl. หรือ หมาหวัง (มั่วอึ้ง) เครื่องยาจีน ที่ใช้แก้หอบหืดหาได้จากพืชสดในสกุลเดียวกันหลายชนิดเช่น Ephedra sinica Stapf,E. distachya L.หรือ E. equisetina Bunge โดยที่คุณภาพของเครื่องยาไม่มีความแตกต่างกันมากนัก เครื่องยาลางอย่างแม้ว่าอาจได้จากพืชในสกุลเดียวกันหลายชนิด แต่ก็มีลางอย่างที่ไม่สามารถนำมาใช้เป็นยาได้ เนื่องจากไม่มีสาระสำคัญที่แสดงฤทธิ์ทางยา เช่น โกษฐ์น้ำเต้า อาจได้จากลำต้นใต้ดิน และรากแห้งที่ลอกเปลือกออกแล้วของต้น Rheum officinale Baill. หรือ R. palmtum L. หรือ Rheum spp. ยกเว้น R. rhaponticum L. ซึ่งไม่มีกลัยโคไซด์ชนิดแอนทราควิโนนเป็นองค์ประกอบ

เครื่องยาลางอย่างจำเป็นต้องได้จากพืชชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น จันทน์แปดกลีบ หรือโป๊ยกั้ก อันได้จากผลของ  lllicium verum Hook.f. เครื่องยาชนิดนี้ให้น้ำมันระเหยง่ายที่เรียกว่า น้ำมันเทียนสัตตบุษย์ ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ เป็นสารอะนีทอล ในขณะที่พืชอีกชนิดหนึ่งซึ่งชาวญี่ปุ่นนิยมปลูกในวัด คือ ต้นชิคิมมี อันมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า lllicium religiosum Siebold ผลของพืชชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับ ผลของจันทน์แปดกลีบ แต่เป็นพิษมาก เนื่องจากมีสารที่เป็นพิษอยู่หลายชนิด พืชชนิดหลังนี้ให้น้ำมันระเหยง่ายได้เช่นกัน แต่น้ำมันระเหยง่ายนั้นมีองค์ประกอบสำคัญเป็นสารยูจีนอลและสารแซฟรอย

.แหล่งที่ปลูก สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของบริเวณแหล่งที่ปลูกหรือแหล่งผลิต เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งซึ่งมีความสําคัญและมีผลต่อคุณภาพของเครื่องยาสมุนไพร ตัวอย่างเช่น
-ต้นกัญชา (Cannabis sativa L.) ที่ปลูกในเขตร้อนเท่านั้นจึงจะให้สารสำคัญ (9-THC) ในปริมาณสูง หากโลกในเขตหนาว ต้นกัญชาจะสร้างเส้นใยที่มีคุณภาพดี เหนียว และทนทาน ที่เรียกว่า Indian hemp
-น้ำมันผิวส้ม ซึ่งได้จากส้มที่ปลูกในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีราคาสูงกว่าน้ำมันผิวส้มซึ่งได้จากที่ปลูกในมลรัฐฟลอริดา ถึงเกือบ ๒ เท่า และเป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่า
-น้ำมันสะระแหน่ฝรั่ง (ให้เกล็ดสะระแหน่หรือเมนทอล) ซึ่งได้จากมลรัฐมิชิแกน เป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่า น้ำมันซึ่งน่าจะมลรัฐวอชิงตันและรัฐออริกอน เนื่องจากสารองค์ประกอบในน้ำมันต่างกัน ซึ่งมีผลทำให้คุณภาพต่างกันด้วย
ชาวจีนให้ความสำคัญกับแหล่งที่ปลูกสมุนไพร มากเพราะเรียนรู้ได้จากประสบการณ์อันยาวนานกว่าแหล่งที่ปลูกสมุนไพมีความสัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกจาก “คุณภาพของเครื่องยาสมุนไพรที่ได้ ดังจะเห็นได้ว่า เรื่องยาสมุนไพรจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง อาจมีราคาสูงกว่าเครื่องยาชนิดในการที่ ได้แต่อีกแหล่งหนึ่ง ตัวอย่างเช่น โสมซานชี (Panax notoginseng F.H.Chen) ที่มีคุณภาพดี ต้องได้จากมณฑลหวินหนาน (หยุนหนาน) และจากเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงแห่งกว่างซี (กังไส) เท่านั้นโดยสรุปแล้ว นิเวศวิทยาและอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมของแหล่งที่ปลูกสมุนไพร ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของเครื่องยาสมุนไพรนั้น ได้แก่ อากาศและปริมาณแสง ตำแหน่ง และความสูงจากระดับน้ำทะเล การปลูกพืชร่วม สารอาหารในดิน ฤดูกาล ความหนาแน่นของพืช แร่ธาตุและน้ำ ตลอดจนช่วงเวลาแห่งการเจริญของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด

.การเก็บเกี่ยว ทั้งวิธีการการเก็บเกี่ยวและระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวสมุนไพร ล้วนมีความสำคัญที่อาจทำให้คุณภาพของเครื่องยาสมุนไพรได้มาตรฐานตามความต้องการหรือไม่ โดยทั่วไปควรเลือกช่วงเวลาหรือฤดูกาลเก็บเกี่ยวให้เหมาะสม เพื่อให้ได้เครื่องยาสมุนไพรที่มีสารสำคัญสูง สุด เช่น การเก็บ รากโสม (Panax ginseng C.A.Mey.) ต้องเก็บในช่วงฤดูร้อนเท่านั้น นอกจากนี้ ในการเก็บสมุนไพรควรระวังการปนเปื้อน ซึ่งอาจเกิดจากส่วนอื่นที่ไม่ต้องการของสมุนไพรติดมาด้วย

ง.การเก็บรักษา เครื่องยาสมุนไพรที่เก็บไว้นาน ก่อนนำมาใช้งานมีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยทั่วไปมักเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ปริมาณตัวยาสำคัญลดลง ยกเว้นในเครื่องยาสมุนไพรบางชนิด ซึ่งหากเก็บไว้นานได้ที่จะให้ปริมาณตัวยาสำคัญเพิ่มขึ้น เนื่องจากสารสำคัญในเรื่องยาขณะเก็บเกี่ยวจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสารที่ ออกฤทธิ์ทางยา ตัวอย่างเช่น เครื่องยาเทศ ที่เรียก คาสคารา ซากราดา (Cascara Sagrada) ซึ่งเป็นเปลือกไม้แห้งที่ได้จากพืช มีพืชมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า:Rhamnus purshiana D.C. (ในวงศ์ Rhamnaceae) ในตำรายาระบุไว้ว่า คาสคารา ซากราดาที่จะนำมาใช้ในยางยานั้น ต้องถูกเก็บเกี่ยวและทิ้งไว้ในเงื่อนไขที่เหมาะสมเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปี ก่อนนำมาใช้เป็นยาระบายในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเป็นนิสัย สาเหตุที่ตำรายาระบุไว้ว่าต้องเก็บไว้อย่างน้อยหนึ่งปีก่อนนำมาใช้ได้นั้น เนื่องจากเอนไซม์ในพืชจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสารประกอบ แอนทรานอลซึ่งมีอยู่ในเปลือกต้นที่เพิ่งเก็บใหม่ๆ ให้เป็นสารประกอบกลัยไรโคไซด์ชนิดแอนทราควิโนนที่มีสรรพคุณทางยา

การป้องกันการเน่าเสีย สมุนไพรที่ได้จากการเก็บเกี่ยวมาใหม่ๆ อาจเกิดการเน่าเสียได้ การป้องกันการเน่าเสียทำได้หลายวิธี ได้แก่
-วิธีการทำให้แห้ง โดยทั่วไปมักใช้ความร้อน แต่ต้องระวังไม่ให้ความร้อนสูงเกินไป เพราะอาจทำให้ตัวยาสำคัญที่ต้องการสลายตัวไปได้ ตามปรกติสมุนไพรที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องทำให้แห้งอย่างรวดเร็วโดยใช้อุณหภูมิต่ำๆ เพื่อลดปฏิกิริยาของเอนไซม์ที่จะทำให้ตัวยาสลายตัว หากเครื่องยาไม่แห้งสนิทอาจทำให้เกิดการเน่าเสียจากเชื้อราได้
-วิธีการรมควัน การรมควันฆ่าเชื้อเป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมปฏิบัติกัน กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคระบุว่า วัตถุดิบทุกชนิดที่ผ่านการโรงขวัญเพื่อฆ่าเชื้อ จำเป็นต้องระบุด้วยว่าผ่านการฆ่าเชื้อด้วยสารอะไร สารที่ใช้ลงขันฆ่าเชื้อที่ใช้กันในปัจจุบันคือ เมทิลีนโบรไมด์ และฟอสทอกซีน (PH3) แต่ควรใช้ด้วยความระมัดระวังมันในปริมาณน้อยที่สุด ในปัจจุบันกฎหมายได้ห้ามใช้เอทีลีนออกไซด์แล้ว เพราะเวลาสลายตัวให้สารพิษ อันเป็นเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง
-วิธีการฉายรังสี โดยการฉายรังสีเหนือม่วงหรือไมโครเวฟ แต่ไม่นิยมกันนัก เนื่องจากการฉายรังสีบนเครื่องยาสมุนไพรมากทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารสำคัญ มีผู้ศึกษาพบว่า การใช้รังสีแกมมาและรังสีเอกซ์ในขนาด ๓-๑๐ Kgy จะช่วยฆ่าเชื้อโรคโดยที่ไม่ทำให้สารสำคัญเสียไป (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความไวของตัวยาสำคัญในเครื่องยาสมุนไพรต่อรังสีนั้น) ภายหลังการฉายรังสีแล้ว หากบรรจุหีบห่อไว้อย่างดี ก็เก็บรักษาเครื่องยาสมุนไพรไว้ได้นาน เพื่อให้สามารถควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องยาสมุนไพรให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยฝ่ายจัดทำตำรายาของประเทศไทย กองยา ได้ระดมนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ตั้งเป็นคณะอนุกรรมการจัดทำตำรามาตรฐานสมุนไพรไทยขึ้น ซึ่งปัจจุบัน ได้จัดพิมพ์ตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทยเล่มที่ ๑ (ฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ ฉบับพิมพ์ซ้ำ ปีพุทธศักราช ๒๕๔๒) และ ตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย เล่มที่ ๒ (ฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๔๓) เรียบร้อยแล้ว และกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศให้ยึดถือเกณฑ์และข้อกำหนดตามที่กำหนดไว้ในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย

 

รูปภาพจาก:haijai.com,sptn.dss.go.th