น้ำมันยาง

น้ำมันยาง

น้ำมันยางได้จากบัลซัม ที่ไหลออกมาเมื่อใช้ไฟลนโรงที่เจาะเข้าไปในลำต้น ของต้นยางหลายชนิด ที่อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae ที่สำคัญได้แก่

๑.ต้นยางนา
มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don
บางถิ่นเรียก ยางขาว ยางนา ยางแม่น้ำ ยางหยวก (ทั่วไป) ยางตัง (ชุมพร) ยางกุง (เลย)  ยางควย (หนองคาย) ยางเนิน (จันทบุรี) ราลอย(สุรินทร์) ทองหลัก (ละว้า) จะเตียล (เขมร) กาตีล (เขมร-ปราจีนบุรี) จ้อง(กะเหรี่ยง)

ยางนาเป็นไม้ต้น อาจสูงได้ถึง ๔๐ เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนา ค่อนข้างเรียบ สีเทาอมขาว โคนต้นมักเป็นพูพอน หูใบสีเทาอมเหลือง มีขนนุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ หรือรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบทู่หรือเรียวแหลม โคนใบมน หรือสอบเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนา มีขนประปราย ดอกออกรวมเป็นช่อสั้นๆตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยสีชมพู โคนกลีบเลี้ยงมีครีบตามยาว ๕ ครีบ โคนกลีบเกยซ้อนเวียนเป็นรูปกังหัน ผลรูปกลมงรี ยาว ๓-๔ เซนติเมตร มีครีบตามยาว ๕ ครีบ มีปีกยาว ๒ ปีก ยาวไม่เกิน ๑๖ เซนติเมตร ปีกสั้น ๓ ปีก รูปหูหนู เส้นตามยาวและเส้นแขนงของปีก มักคดไปคดมาไม่เป็นระเบียบ

๒.ต้นยางแดง
มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Dipterocarpus turbinatus C.F.Gaertn.
บางถิ่นเรียก ยางแดง (เพชรบูรณ์) อย่างใบเลื่อม ยางหนู (เชียงราย)

ยางแดงเป็นไม้ต้นอโศกได้ถึง ๔๐ เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนา แต่หรือเป็นสะเก็ดห้อยย้อยลง สีเทาแกมน้ำตาล โคนต้นไม่มีพูพอน กิ่งอ่อนเกลี้ยง หูใบมีขนสากสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบทู่หรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมนกว้าง แผ่นใบหนาเกลี้ยง ผิวด้านบนเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อสั้นๆตามซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยสีชมพู โคนกลีบเลี้ยงเรียบหรือมีขนประปราย ควรเก็บดอกเกยซ้อนเวียนเป็นรูปกังหัน ผลรูปกลมรีถึงรูปกระสวย วัดขนาดวัดผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๒.๕ เซนติเมตร ผิวเรียบเกลี้ยงและมีคราบขาว มีปีกยาว ๒ ปีก ยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร ปีกสั้น ๓ ปีก ยาวราวกึ่งหนึ่งของตัวผล

 

รูปภาพจาก:twitter.com,pirun.ku.ac.th,สมุนไพร