คณาเภสัช

คณาเภสัช

ในการประกอบยาหรือปรุงยานั้น แพทย์ผู้ปรุงยาต้องรู้จักวัตถุต่างๆ ที่จะนำมาปรุงเป็นยา ในแง่มุมต่างๆ และวิธีการปรุงยา (เภสัชกรรม) เป็นปฐม โดยทั่วไปแพทย์ปรุงยาต้องรู้จักหลักใหญ่ๆ ๔ ประการ ได้แก่ เภสัชวัตถุ รู้จักตัวยา คือวัตถุธาตุนานาชนิดที่จะนำมาใช้ประกอบเป็นยาสำหรับแก้โรค ทั้งพฤกษวัตถุ สัตววัตถุ และธาตุวัตถุสรรพคุณเภสัช รู้จักสรรพคุณและโทษของวัตถุธาตุที่จะนำมาใช้ปรุงเป็นยาตลอดจนเครื่องยาต่างๆ ที่ใช้บ่อยในยาไทย จำแนกตามรส คณาเภสัช รู้จักพิกัดยา คือ ยาหลายอย่างที่มีชื่อต่างกัน รวมเรียกเป็นชื่อเดียวกัน เภสัชกรรม รู้จักวิธีการปรุงยาหรือการประกอบยาตามแบบตำราโบราณ เภสัชวัตถุ เภสัชวัตถุอันหมายถึงวัตถุธาตุนานาชนิดที่จะนำมาใช้เป็นยาบำบัดโรคนั้น โบราณจำแนกตามแหล่งที่มาของวัตถุที่นำมาใช้เป็นยาได้ ๓ ประเภทใหญ่ๆ คือ
๑.พฤกษาวัตถุ ได้แก่พันธุ์พฤกษชาตินานาชนิด ทั้งประเภทต้น ประเภทเถาหรือเครือ ประเภทหัว ประเภทผัก ประเภทหญ้า ประเภทพืชพิเศษ (เห็ดและพืชชั้นต่ำอื่นๆ)
๒.สัตววัตถุ ได้แก่สัตว์นานาชนิด ทั้งที่ทั้งตัวหรือเพียงลางส่วน นำมาใช้เป็นเครื่องยา ไม่ว่าจะเป็นสัตว์น้ำ สัตว์บก หรือสัตว์อากาศ
๓.ธาตุวัตถุ ได้แก่แร่ธาตุต่างๆที่นำมาใช้เป็นเครื่องยา ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือประสมขึ้น โบราณว่าสรรพวัตถุอันมีอยู่ในโลกนี้ล้วนเกิดจากแร่ธาตุทั้ง ๔ ย่อมใช้เป็นยาบำบัดโรคได้ทั้งสิ้น แต่จะมีสรรพคุณมากน้อยกว่ากันอย่างไร ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุนั้นๆ แพทย์ผู้ปรุงยาต้องรู้จักเภสัชวัตถุในรายละเอียด ๕ ประการ คือรู้จักรูปยา รู้จักสียา รู้จักกลิ่นยา รู้จักรสยา และรู้จักชื่อยานี้ จึงจะสามารถนำเอาเครื่องยาที่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในตำรับยา มาปรุงเป็นยาที่สามารถแก้โรคนั้นนั้นๆได้
 

สรรพคุณเภสัช

สรรพคุณเภสัช หมายถึงสรรพคุณทางยา ของเภสัชวัตถุดังกล่าวข้างต้น แต่จำเป็นต้องรู้รสอย่างก่อนที่จะรู้สรรพคุณยา เนื่องจากรสยาจะแสดงสรรพคุณยา เมื่อรู้จักยาแล้ว จึงจะรู้จักสรรพคุณยานั้นอย่างกว้างๆได้ ในเรื่องรสยานี้โบราณแบ่งรสยาวออกเป็น ๓ รส ตั้งขึ้นเป็นประธานก่อนคือ
๑.รสเย็น ประจำฤดูร้อน (คิมหันตฤดู) แก้ในกองเตโช สมุฏฐาน ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ต่างๆ เพราะไข้ตัวร้อนมากเกิดในฤดูร้อน ได้แก่ อย่าที่ปรุงด้วยเกสรดอกไม้ (ที่ไม่ร้อน) รากไม้ต่างๆ (ที่ไม่ร้อน) เขาสัตว์ต่างๆ เขี้ยวสัตว์ต่างๆ รวมทั้งของที่เผาหรือสุ่มให้เป็นถ่าน เป็นต้น
๒.รสร้อน ประจำฤดูฝน (วสันตฤดู) เบื่อแก้ในกองวาโยสมุฏฐาน แก้ลมต่างๆเป็นส่วนมาก ทำให้แน่นท้อง จุกเสียด และแก้ลมในกองธาตุพิการ เพราะโรคลม โดยส่วนมาก เกิดในฤดูฝน ได้แก่ ยาที่ปรุงผสมด้วยเบญจกุล  ตรีกฏุก  หัดคุณ  ขิง  ข่า หัสคุณทั้งสอง ดองดึง  ใบกะเพรา เป็นต้น
๓.รสสุขุม ประจำฤดูหนาว (เหมันตฤดู) แก้ในกองอาโป สมุฏฐาน ระงับเสมหะ แก้โลหิตพิการ ได้แก่ ยาที่ปรุงประสงค์ด้วยโกษฐ์ทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ กฤษณา  กระลำพัก  ชลูด อบเชย ขอนดอก เป็นต้น เมื่อปรุงเป็นยาแล้วจะได้ยารสสุขุม เช่น ยาหอม

 

รูปภาพจาก:boldsky.com,daria.com.sg,สมุนไพร