สมุนไพรเต็ง

สมุนไพรเต็ง

เต็ง Shorea obtuse Wall.
บางถิ่นเรียก เต็ง (กลาง) เคาะเจื้อ เอื้อ (ละว้า-เชียงใหม่) แงะ (เหนือ) จิก (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ชันตก (ตราด) เต็งขาว (ขอนแก่น) เน่าใน (แม่ฮ่องสอน) ประจั๊ด (เขมร-บุรีรัมย์) ประเจิ๊ก (เขมร-สุรินทร์) พะเจ๊ก (เขมร-พระตะบอง) ล่าไน้ (กะเหรี่ยง) แลเน่ย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เหล่ไน้ (กะเหรี่ยง-เหนือ) อองเลียงยง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี).

ไม้ต้น -> ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 ม. ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกว้างๆ เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นร่อง และเป็นสะเก็ดหนา มักตกชันสีเหลืองขุน กะพี้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีเข้ม.
ใบ -> รูปขอบขนาน หรือ รูปไข่กลับ กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-16 ซม. เนื้อใบหนา ใบอ่อนมีขนประปราย ปลายใบ และโคนใบมน เส้นแขนงใบมี 12-15 คู่.
ดอก -> เล็ก สีขาว ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อดอกมีขนนุ่ม ก้านดอกสั้นมาก กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ ชายกลีบซ้อนทันกัน กลีบดอก 5 กลีบ เรียงเวียนไปทางเดียวกัน เกสรผู้มี 20-25 อัน อับเรณูรูปไข่รี ๆ รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2.
ผล -> รูปไข่ปลายแหลม ปีกยาว 3 ปีก รูปไข่กลับรี ๆ หรือ รูปใบพาย กว้าง 1 ซม. ยาว 6 ซม. แต่ละปีกมีเส้นตามยาว 9 เส้น.

นิเวศน์วิทยา

ขึ้นตามป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณแล้ง บนดินลูกรัง เขาหินทราย ปะปนอยู่กับพวกไม้รัง เหียง พลวง.


สรรพคุณ

ต้น -> เปลือกฝนกับน้ำปูนใส กินเป็นยาฝาดสมาน แก้ น้ำเหลืองเสียและช่วยห้ามเลือด

สมุนไพรเต็ง

รูปภาพจาก:blogspot.com,http://science.sut.ac.th,สมุนไพร