การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต

การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต

ในเชิงวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
การศึกษาเพื่อจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามลำดับ โดยอาศัยความคล้ายคลึงกันและ/หรือความแตกต่างกันของสิ่งมีชีวิตนั้นเรียก   อนุกรมวิธานวิทยา นักชีววิทยาใช้ความเกี่ยวข้องกันทางด้านวิวัฒนาการในด้านต่างๆ เป็นเกณฑ์สำคัญในการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต โดยอาศัยข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์  (fossil)  ลักษณะที่แสดงความโบราณหรือเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับเวลาความคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันของโครงสร้างที่สอดคล้องกับพฤติกรรมหรือสิ่งแวดล้อมสรีรวิทยา การเจริญเติบโตของคัพภ์ การแปรผันทางพันธุกรรม นิเวศวิทยา ตลอดจนข้อมูลทางด้านชีววิทยาเชิงโมเลกุล ฯลฯนอกจากนั้นการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตในระดับต่างๆ  ยังต้องอาศัยเกณฑ์อื่นๆที่สำคัญมาอีกหลายอย่าง เช่น สัณฐานวิทยาและกายวิภาคศาสตร์ พฤติกรรมการกิน อยู่อาศัย และสืบพันธ์ ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม และการแพร่กระจายของภูมิศาสตร์ การใช้เกณฑ์ต่างๆมากมายเหล่านี้จะทำให้การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตในระดับต่างๆมีความรัดกุมและถูกต้องใกล้เคียงกับความเป็นมาตามธรรมชาติยิ่งขึ้น
ในอดีต นักวิทยาศาสตร์จำแนกสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ออกเป็น ๒ อาณาจักร คือ อาณาจักรพืช(Kingdom   Plantae)  และ อาณาจักรสัตว์(Kingdom Animalia) เมื่อองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตมีมากขึ้น นักชีววิทยาจึงจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นอีกหลายอาณาจักร ทั้งนี้ตามตรรกะและทรรศนะของแต่ละคน แต่ละสำนัก

 

รูปภาพจาก:SlideShare.com,Mthai.com