สมุนไพรใบเปล้าน้อย

สมุนไพรใบเปล้าน้อย

ใบเปล้าน้อยเป็นใบเพสลาดของต้นเปล้าน้อย 
ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Croton stellatopilosus Ohba
ในวงศ์ Euphorbiaceae
เปล้าน้อยเป็นไม้พุ่มหรือต้นไม้ขนาดเล็ก สูงราว ๒-๓.๕ เมตร ยอดอ่อนปกคลุม ด้วยฝุ่นผงสีสนิม ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันรูปไข่กลับ กว้าง ๔-๖ เซนติเมตร ยาว ๑๐-๑๕ เซนติเมตร โคนใบสอบแคบรูปหัวใจ  มีต่อม ๒ ต่อม ขอบใบหยัก เล็กๆไม่สม่ำเสมอ ปลายใบแหลมหรือทู่ เนื้อใบบาง ใบแด่เกลี้ยง หรือมีขนรูปดาว ตามเส้นใบด้านล่าง ก้านใบยาว ๖-๑๒ มิลลิเมตร มีขนรูปดาว ดอกออกเป็นช่อเหนือรอยแผลใบใกล้ยอด ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกันดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง ๕ กลีบ แต่อาจพบ ๔ หรือ ๖ กลีบบ้าง บ้างรูปใบหอก ค่อนข้างกว้าง ปลายแหลม ด้านนอกมีขนสีน้ำตาลอมเหลือง กลีบดอก มี ๕ กลีบ ขอบกลีบมีขน ฐานดอกมีขนยาว เกสรเพศผู้มี ๑๕-๒๐ อัน เกลี้ยง ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยงคล้ายดอกเพศผู้ แต่อาจมีจำนวนกลีบเกลี้ยงมากกว่า ไม่มีกลีบดอก รังไข่มีขนรูปดาวหนาแน่น สีน้ำตาลอมเหลือง ยอดเกสรเพศเมียสั้น ผลรูปกลมมี ๓ พู ขนาดวัดผ่าศูนย์กลาง ๓-๕ เซนติเมตร  เมล็ดยาว ผิวเรียบ มีลายตามยาวสีขาวปนน้ำตาล

ตำราโบราณระบุว่า ใบเปล้าน้อยมีสรรพคุณบำรุงธาตุ รากมีรสร้อน แก้ลมขึ้นเบื้องต้นเบื้องบนให้กระจายลงเบื้องต่ำเป็นปรกติ เบื้องต้นเป็นยาช่วยย่อย กระพี้แก้โลหิตอันทำให้ร้อน เช่นขับเลือดและหนอง ขับพยาธิไส้เดือน ดอกฆ่าพยาธิ ผลช่วยกระจายเลือดและหนอง เมื่อหลายปีก่อนบริษัทผลิตยาในประเทศญี่ปุ่นร่วมกับนักพฤกษศาสตร์ไทยศึกษาพรรณไม้ในสกุลนี้ พบว่าไปเพสลาดของต้นเปล้าน้อยชนิดนี้ ซึ่งถูกในจังหวัดปราจีนบุรีและประจวบคีรีขันธ์เท่านั้น ให้สารที่ชื่อ plaunotol ใช้เป็นยาแก้โรคแผลเปื่อย เพปติก ในปัจจุบันบริษัทยานั้นจึงได้ลงทุนปลูกพืชชนิดนี้ ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสร้างโรงงานสกัดแบบหยาบๆ และส่งไปญี่ปุ่นเพื่อผลิตเป็นยาที่ต่อไป

 

รูปภาพจาก:Sanook.com.thaikasetsart.com,สมุนไพร