สมุนไพรไกรทอง

สมุนไพรไกรทอง

ไกรทอง Erythroxylum cuneatum Kurz
บางถิ่นเรียก ไกรทอง (ปราจีนบุรี นราธิวาส) แก่นแดง เข็ดมูล เจตมูล (ปราจีนบุรี) ต๋านฮ้วนเป็ด (เชียงใหม่) พิกุลทอง (ประจวบคีรีขันธ์).

ไม้ต้น -> ขนาดกลาง สูง 4-15 ม. ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ กิ่งมักตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนมีรอยแผลของหูใบเกือบรอบกิ่ง เปลือกเรียบ สีน้ำตาล.
ใบ -> รูปมน ขอบขนาน และรูปไข่กลับ กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนใบสอบเรียว ปลายใบมน หรือ หยักเว้าเข้าเล็กน้อย ส่วนมากกว้างกว่าทางโคน เนื้อใบหนา เกลี้ยงเป็นมัน หลังใบสีเขียวเข้ม ขอบใบสีจาง ด้านหลังสีนวล หรือ จางมาก สั้นแขนงใบ 7-10 คู่ เส้นมักคด และปลายเชื่อมติดกัน ห่างจากขอบใบเข้ามามาก เส้นใบย่อยเชื่อมติดกันเป็นร่างแห เห็นชัดทั้ง 2 ด้าน หูใบร่วงหลุดเร็ว แต่ทิ้งรอยแผลเห็นได้ชัดตามกิ่งอ่อน.
ดอก -> ออกเดี่ยว ๆ หรือ เป็นกระจุกตามง่ามใบ กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว เกสรผู้ 10 อัน โคนก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นกระจัง รังไข่ภายในมี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1 หน่วย ท่อหลอดรังไข่มี 3 อัน.
ผล -> กลมยาว สีเหลืองปนแดง มีพูตามยาว 3 พู อุ้มน้ำ มีกลีบรองกลีบดอก และกระจังก้านเกสรผู้ติดอยู่ที่ขั้ว.


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นทั่วไปตามป่าดิบใกล้ชายทะเล และป่าดิบแล้ง เหนือระดับน้ำทะเล 5-300 ม. ทั่วไป.


สรรพคุณ

ต้น -> เปลือกใช้เข้าเครื่องยาสำหรับบำรุงร่างกายและใช้เบื่อปลา

สมุนไพรไกรทอง

รูปภาพจาก:dnp.go.th,rspg.or.th,สมุนไพร