น้ำกระเทียม

น้ำกระเทียม

น้ำกระเทียมที่ได้จากการคั้นหรือต้ม หัวกระเทียม อันเป็นพืช
ในวงศ์ Alliaceae (เดิมเคยจัดอยู่ในวงศ์ Liliaceae)
มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Allium sativum L.

บางถิ่นเรียก หัวเทียม หอมเทียม หรือเทียม ก็มี ฝรั่งเรียกหัวกระเทียมว่า garlic และเรียกกลีบกระเทียมว่า clove of garlic นอกจากนี้น้ำกระเทียมยังอาจได้จากน้ำต้มกระเทียมโทน อันเป็นพืชวงศ์เดียวกัน มีชื่อ
พฤกษศาสตร์ว่า Allium ampeloplasum L. อีกด้วย

กระเทียมเป็นทางเครื่องเทศและสมุนไพรที่หลายชนชาติใช้กันมาแต่โบราณกาล เนื่องจากมีสรรพคุณหลากหลาย ยาไทยใช้หัวกระเทียมกินเป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ลดไขมัน ใช้หัวโขลกให้ละเอียดทาภายนอกแก้กลากเกลื้อนน นอกจากนี้ยังมีการใช้เป็นสมุนไพรในยาพื้นบ้านของเกือบทุกชนชาติทั่วโลก โดยมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สำคัญ คือ
๑.ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือด โดยเฉพาะระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และมีฤทธิ์ต้านการต่อไขมันอุดตันในหลอดเลือด
๒.ฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดอันมีประโยชน์ในการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในร่างกาย โดยเฉพาะเมื่อหลอดเลือดได้รับอันตราย
๓. ฤทธิ์ป้องกันหัวใจเต้นผิดจังหวะ
๔.ฤทธิ์ลดความดันโลหิต
๕.สารอัลลิซินในกระเทียมมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด
๖.ฤทธิ์ต้านการเกิดเนื้องอกและมะเร็งและมีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์
๗. ฤทธิ์ต้านการเกิด ฤทธิ์ต้านจุลชีพและประสิทธิ์ เช่นบัคเตรี (โดยเฉพาะบัคเตรีที่ดื้อยา) ไวรัสส่วนตัวและพยาธิไส้เดือน นอกจากนั้นกระเทียมยังแสดงฤทธิ์อื่นๆอีกมากมายเช่น ฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชั่น ฤทธิ์ต้านหรือชะลอความแก่ ฤทธิ์ลดอาการเป็นพิษจากสารบางชนิด (เช่นพิษตะกั่ว)

 น้ำกระเทียมที่ใช้เป็นกระสายยานั้นอาจเตรียมได้จากการโขลกกระเทียมที่ลอกเปลือกออกแล้วจนแหลก แล้วกรองเอาแต่น้ำ ด้วยผ้าขาวบาง ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ ระบุให้ใช้น้ำกระเทียมเป็นน้ำกระสายยาในขนาดที่ ๕๓ “มหากทัศใหญ่ และยาขนานที่ ๕๖ มหามาตะลุงเกษี น้ำกระเทียมมิอาจใช้เดี่ยวหรือใช้ผสมน้ำกระสายอย่างอื่ นสำหรับเป็นน้ำกระสายยาในการปั้นยาเป็นเม็ดลูกกลอน เช่น ตำรับยาขนานที่ ๕๖ ที่ระบุให้ใช้น้ำกระเทียมและน้ำส้มซ่าผสมกันเป็นน้ำกระสายยาสำหรับปั้นเป็นยาลูกกลอนดังที่บันทึกไว้ดังนี้ มหามาตะลุงเกษี ให้เอารากคันทา อัชระคันทา รากจิงจ้อใหญ่ประสะแล้ว เปลือกมะรุมตากแห้ง เทียนเยาวภานี เกลือสินเธาว์ เกลือเยาวกระสา เกลือสุนจะละ สิ่งละส่วน พริกล่อน ขิงแห้ง รากเจตมูลเพลิง สมอไทใหญ่ลูกเหลี่ยมเอาแต่เนื้อ กรานพลู หว้านน้ำ ดองดึง สิ่งละ ๒ ส่วน มหาหิงค์ ๕ ส่วน ดีปลี ๖ ส่วน กระทำเปนจุณ ละลายน้ำส้มส้า น้ำกระเทียม ประสมกัน บดเป็นลูกกอน เสวยหนักสลึง ๑ แก้ลม ๘๐ จำพวก แก้เสมหะ ๒๐๐จำพวก พระเส้นกล่อนแลเส้นอันทพฤก แก้ลมอุทธังคม มาวาตาอันอยู่ในพระเส้นทั้ง ๑๐ อันแล่นขึ้นไปให้เสียดพระอุระ ให้มึนง่วงวิงเวียน แล้วให้ผายพระวาตะไปพระบังคนหนักสดวก แลรากคันทา แลอัชระคันทา รากจิงจ้อนั้น ผู้จะทำไปข้างน่า ยักย้ายดุจ ให้เดินเพิ่มขึ้น มิให้เดินผ่อนลง พอสมควรนั้นเถิดฯ

น้ำกระเทียมยังใช้เป็นน้ำแบบสายยาสำหรับช่วยละลายยาให้ยานั้นกินง่าย ทั้งยังอะช่วยเสริมสรรพคุณตัวยาในตำรับได้ด้วย เพราะเทียมมีสรรพคุณแก้ลมจุกเสียดแก้ท้องอืดท้องเฟ้อได้ด้วย ตัวอย่างเช่น ยาธาตุบรรจบ ถ้าใช้แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ก็จะใช้น้ำกระเทียมเป็นกระสาย

คำ garlic น่าจะมีรากศัพท์มาจากคำในภาษาแองโกล-แซกซัน garleac แปลว่า พืชที่มีลักษณะเหมือนหอก ซึ่งหมายถึงลักษณะของใบ คำ gar แปลว่า หอก ส่วนคำ leac หรือ leek เป็นชื่อเรียกในกลุ่มที่ใกล้เคียงกันนี้ทั้งหมด เช่น หอมแกง หอมหัวใหญ่ กระเทียม ส่วนชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Allium sativum L. นั้น ชื่อสกุล อาจมาจากภาษาละตินว่า olere ซึ่งแปลว่า มีกลิ่น เพราะหัวกระเทียมมีกลิ่นแรง หรือ อาจมาจากภาษาเซลติกว่า all ซึ่งแปลว่า เผ็ดร้อน ส่วนชื่อชนิด sativum ปัจจุบัน ไม่พบต้นกระเทียมที่ขึ้นเองในธรรมชาติ กระเทียมเป็นไม้ล้มลุก สูง๓๐-๖๐เซนติเมตร มีกลิ่นแรง มีหัวใต้ดินลักษณะกลมแป้น แต่ละหัวมี ๖-๑๐ กลีบ มีลำต้นลดรูปลงไปมาก ใบเป็นใบเดี่ยว ขึ้นมาจากดิน เรียงซ้อนสลับกัน รูปแบนยาวเป็นแผลแค่ปลายแหลม ขอบเรียบและทับถมเป็นสันตลอดความยาวของใบ โคนใบแผ่เป็นแผ่นและเชื่อมติดกันเป็นวงหุ้นรอบใบ ที่อ่อนกว่าและก้านช่อดอก ทำให้เกิดเป็นต้นเทียม ดอกเป็นดอกช่อ ขนาดเล็กแบบช่อซี่ค้ำร่ม มีใบประดับใหญ่ ๑ ใบ เป็นจะงอยแหลมหุ้มช่อดอกเมื่อยังตูมอยู่ดอกสีขาว ซื้อสีขาวอมชมพูมีผลขนาดเล็กค่อนข้างกลมมี ๓พู เมล็ดมีขนาดเล็กสีดำ

กระเทียมมีองค์ประกอบ สำคัญเป็นน้ำมันระเหยง่ายราวร้อยละ ๐.๑ ถือ ๐.๙ น้ำมันนี้มีสารประกอบที่มีกำมะถัน ที่สำคัญได้แก่ อัลลิอิน (alliin) ดีออกซีอัลลิอิน (deoxyalliin) ไดอัลลิลไตรซัลไฟด์ (diallyldisulphide)อัลลิลไดซัลไฟด์ (allyl disuphidel) ในหัวกระเทียมมีเอนไซม์ที่อัลลิอินไลเอส (allin lyase) ซึ่งจะทำหน้าที่สลายเอาดิอิน อันเป็นสารที่ไม่มีกลิ่นทีนทีที่เนื้อเยื่อหัวกระเทียมแตกออก (ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม) จะได้สารชื่ออัลลิซิน ( allicin) น่าจะถูกเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นอะโจอีน (ajoene)ซึ่งในทางเคมีคือซึ่งในทางเคมีคือE,Z-4,5,9-trithiadodec-1,6,11-triene-9-oxideอันเป็นสารที่มีกลิ่น

 

รูปภาพจาก:thairath.com,blogspot.com