สมุนไพรเปล้าใหญ่

สมุนไพรเปล้าใหญ่

เปล้าใหญ่ Mallotus macrostachyuMuell. Arg.
ชื่อพ้อง M. albus Muell. Arg.
บางถิ่นเรียกว่า เปล้าใหญ่ ลัว (นครศรีธรรมราช) ฝามี หลอขน (ตรัง) หลอ (นราธิวาส).

ไม้พุ่ม หรือ  ไม้ต้น -> ขนาดเล็ก มีขนสีน้ำตาล หรือ น้ำตาลอ่อน ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุมทั้งสองด้าน.
ใบ -> เดี่ยว เรียงสลับกัน หรือ เป็นคู่ตรงข้ามกัน รูปค่อนข้างกลม หรือ รูปไข่ค่อนข้างกว้างแกมสามเหลี่ยม กว้างและยาว 7-20 ซม. ปลายใบเรียวแหลมเป็นหางยาว ขอบใบเรียบ หรือ หยักห่าง และแหลมไม่สม่ำเสมอกัน โคนใบมนป้าน มีต่อม 2 ต่อม เส้นใบนูนเด่นทางด้านล่าง ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสั้น ๆ ปกคลุมหนาแน่น ก้านใบยาว 3-20 ซม. ติดค่อนข้างชิดขอบใบ.
ดอก -> ออกเป็นช่อตามง่ามใบ. ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน. ดอกเพศผู้ ช่อยาวประมาณ 20 ซม. แตกสาขามาก ดอกกลม ๆ เล็ก ๆ ติดกันแน่น กลีบรองกลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่แกมขอบขนาน ยาวประมาณ 2 มม. ด้านนอกมีขน เกสรผู้จำนวนมาก. ดอกเพศเมีย ช่อยาว 30-40 ดอกคล้ายกาบ รังไข่มี 3 ช่อง.
ผล -> กลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2-1.6 ซม. มีขนคล้ายสัตว์ปกคลุมหนาแน่น ติดเป็นช่อห้อยยาว ภายในมี 3 ช่อง ๆ ละหนึ่งเมล็ด. เมล็ด ค่อนข้างกลม ยาวประมาณ 5 มม. สีดำเป็นมัน.


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นในป่าดงดิบ และชายป่าดงดิบ เหนือระดับน้ำทะเลไม่เกิน 400 ม.


สรรพคุณ

ใบ -> น้ำต้มใบ ใช้ชำระล้างบาดแผล

 

รูปภาพจาก:dnp.go.th,thaiforestherb.blogspot.com,สมุนไพร