สมุนไพรแสยก

สมุนไพรแสยก

แสยก Pedilanthus tithymaloides Poit.
บางถิ่นเรียกว่า แสยก กะแหยก มหาประสาน ย่าง แสยกสามสี (กลาง) เคียะไก่ให้ (เหนือ) ตาสี่กะมอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) นางกวัก ว่านสลี (แม่ฮ่องสอน).

ไม้พุ่ม -> สูง 40-100 ซม. มีน้ำยางมาก ลำต้นหักงอไปมาทำให้เป็นรูปซิกแซก สีเขียว ผิวเรียบ.
ใบ -> เดี่ยว เรียงสลับกันซ้ายขวาในระนาบเดียวกัน รูปไข่ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 3.5-7 ซม. ฐานในกลม มน หรือ แหลม ขอบใบเรียบ หรือ เป็นคลื่น ปลายใบมน หรือ แหลม เส้นใบมองเห็นไม่ชัด เนื้อใบหนา ด้านล่างมีขนอ่อน เส้นเล็ก ปกคลุมบาง ๆ ทั่วไป ก้านใบยาว 2-7 มม. หูใบมีลักษณะเป็นตุ่มกลุ่มเล็ก ๆ 2 ตุ่มอยู่สองข้างโคนก้านใบ ร่วงง่าย ต้นจะสลัดใบทิ้งหมด หรือเกือบหมดก่อนออกดอก.
ดอก -> สีแดงออกเป็นช่อตามลำต้น ที่ยอดและตามกิ่งแขนงสั้นๆ ใกล้ยอด ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ก้านช่อยาว 3-20 มม. มีขน ช่อดอกยาว 1-2.5 ซม. ใบประดับด้านนอกมีขนสั้นปกคลุมหนาแน่น ก้านดอกไม่มีขน ดอกมีลักษณะคล้ายรองเท้า หรือ เรือ มี 5 กลีบ เรียงเป็นสองชั้น ชั้นในมี 3 กลีบ สั้น และแคบกว่ากลีบชั้นนอก มีขนละเอียด ที่ฐานด้านนอกมีต่อมน้ำหวานรูปกระทะคว่ำ 1 ต่อม ด้านในมีต่อม 2 หรือ 4 ต่อม เรียงเป็นคู่ ที่ปลายมีแถบยาวหนึ่งแถบอยู่ตรงช่องระหว่างกลีบใหญ่ชั้นนอกสองกลีบ. เกสรผู้สั้น ขณะที่ดอกกำลังบานอับเรณูจะหันหน้าออก รังไข่มี 3 ช่อง มีไข่อ่อนช่องละ 1 หน่วย ท่อรังไข่มี 1 อัน ปลายท่อแยกเป็น 3 แต่ละอันแยกเป็น 2 แฉก.
ผล -> เป็นชนิดแห้งแล้วแตก.


นิเวศน์วิทยา

ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมปลูกตามแนวรั้ว ขึ้นง่ายและทนแล้งได้ดี.


สรรพคุณ

ต้น -> น้ำยางต้นใช้กัดหูด ทาผิวหนังแก้เกลื้อน แมลงป่องต่อย ตะขาบกัด แต่ถ้ากินเข้าไปจะทำให้อาเจียน

 

รูปภาพจาก:btckpp.com,biogang.net,สมุนไพร