สมุนไพรติ้วตำ

สมุนไพรติ้วตำ

ติ้วตำ Cratoxylum sumatranum (Jack) Blume ssp. neriifolium (Kurz) Gogelein
บางถิ่นเรียก ติ้วตำ ติ้วเสลา (ภาคเหนือ) ขี้ติ้ว (เชียงใหม่) สลิว (ภาคกลาง)

ไม้ต้น -> สูง 10-35 ม. กิ่งก้านเกลี้ยง เปลือกสีเทา มีรอยแตกตามยา ยอดอ่อนมีรอยแผลเป็นอยู่ระหว่างโคนก้านใบที่เกิดจากหูใบหลุดร่วงไปเห็นได้ชัด
ใบ -> เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีถึงรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 2-7 ซม. ยาว 4-18 ซม. ปลายใบมน หรือ เป็นติ่งแหลม โคนใบเว้าเล็กน้อย กลม หรือ แหลม ขอบใบเรียบ ด้านล่างมักจะมีสีอ่อน ก้านใบสั้นมาก หรือ ไม่มีเลย
ดอก -> ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง และตามง่ามใบ มีดอกจำนวนน้อย ก้านยาว 1.5-5 มม. กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ สีแดงสดถึงสีแดงอิฐ โคนกลีบสีเขียวอ่อน เกสรเพศผู้ติดเป็นกลุ่ม ๆ อับเรณูไม่มีต่อม เกสรเพศผู้เป็นหมันสีเหลืองติดเป็นกลุ่ม ๆ
ผล -> รูปทรงกระบอก กว้าง 4-5 มม. ยาว 8-9 มม. ยาวเท่า ๆ กับกลีบเลี้ยง ภายในมี 3 ช่อง แก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง เมล็ดรูปหอกกลับ หรือ รูปขอบขนาน ช่องหนึ่งมี 3-10 เมล็ด


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นกระจัดกระจายบนภูเขาในป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกของไทย


สรรพคุณ

ราก เปลือก และใบ -> ต้มน้ำให้สตรีดื่มหลังการคลอดบุตร
ใบ -> ชงดื่มแทนใบชา เป็นยาช่วยย่อยได้ดี ใบอ่อนเคี้ยวกินแก้ไอ

 

รูปภาพจาก:postjung.com,phytoimages.siu.edu,สมุนไพร