น้ำใบชา

น้ำใบชา

น้ำใบชายาขนานที่ ๒๒ ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ ให้ใช้ใบชาต้มเป็นน้ำกระสายยา ในตำรับยาขัดปัสสาวะ(ขัดเบา) ดังนี้

  • ยาแก้ขัดปัสสาวะ ให้เอาใบกระเพราเต็มกำมือหนึ่ง ดินประสิวขาวหนัก ๒ สลึง บดให้เลอียด เอาใบชาต้มเป็นกระสาย ละลายถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงนิพพานท้ายสระให้เสวย เมื่อเสวยพระโอสถแล้ว กราบทูล ให้เสวยพระสุธารศชาตามเข้าไปภายหลังอีก ๒ที ๓ที ซึ่งขัดปัสสาวะนั้น ไปพระบังคนเบาสดวก ข้าพระพุทธเจ้า พระแพทย์โอสถฝรั่งประกอบทูลถวายทูลเกล้าถวายได้พระราชทานเงินตราชั่ง ๑ ฯ

ยาขนานนี้เข้าเครื่องอย่าเพียง ๒ สิ่ง คือ ใบกะเพรา (หนึ่ง กำมือ) และดินประสิวขาว (หนัก ๒สลึงคือ คือราว ๗.๕ กรัม )๗.๕ กรัมบดให้ละเอียด เอาใบชาต้มเป็นน้ำกระสายยาละลายยากิน เมื่อกินยาแล้วก็ให้ดื่มน้ำชาตามเข้าไปอีก ๒-๓ ครั้ง จะทำให้ปัสสาวะได้สะดวกขึ้น ดินประสิวขาวที่ใช้ในตำรับนี้คือ เกลือโพแทสเซียมไนเตร ซึ่งฝรั่งรู้จักใช้เป็นยาขับปัสสาวะโบราณ และเองใช้อยู่จนถึงปัจจุบันนี้ บรรพบุรุษไทยเราเห็นว่าเป็นของดีใช้ได้ผล จึงใช้สืบต่อกันมาในยาไทย นอกจากนั้น พระสุธารศชาหรือน้ำชาที่ถวายให้เสวยนั้น เป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบันว่ามีสารองค์ประกอบซึ่งแสดงฤทธิ์ขับปัสสาวะ

น้ำใบชาต้มที่ใช้เป็นน้ำกระสายยาสำหรับยาขนานนี้ ได้จากการต้มใบชาด้วยน้ำ ส่วนพระสุธารศชาหรือน้ำชาที่ให้สวยตามไปนั้น ได้จากการส่งใบชาด้วยน้ำร้อน ตำราสรรพคุณยาโบราณของไทยว่าน้ำชา มีรสฝาด ชุ่มคอ มีสรรพคุณฝาดสมาน แก้ท้องร่วง ท้องเสีย ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ถ้าทำให้คึกคักมีชีวิตชีวา ชาเป็นเครื่องดื่มที่รู้จักกันดีทั่วโลก ได้จากใบอ่อนและยอดอ่อนของต้นชาอันมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Camellia sinensis (L.) Kuntze มีชื่อพ้อง Thea sinensis L. ในวงศ์ Theaceae (เดิมวงศ์ Camelliaceae) รวมถึงสายพันธุ์ต่างๆของพืชชนิดนี้ ชาเป็นเครื่องดื่ม นั้นอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทคือ

๑. ชาดำ (Black Tea) หรือเรียกกันทั่วไปว่าชาวฝรั่ง เตรียมโดยการเอาใบชาที่เก็บได้มาสุมไว้ เพื่อให้เกิดการหมัก ขณะที่หมัก อาจบดหรือขยี้ใบชาเพื่อช่วยเร่งการหมักให้เร็วขึ้น ในขั้นตอนของการหมักนี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารสำคัญในใบชา เมื่อหมักจนได้ที่ตามต้องการแล้ว ก็จะนำไปทำให้แห้ง ใบชาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม อันเนื่องมาจากสารสีบางชนิดที่เกิดขึ้นระหว่างการหมักโดยการใช้ความร้อนที่พอเหมาะ มีชายอีกชนิดหนึ่งเรียกว่าชาอู่หลง (Oolong tea) เป็นชาที่ผ่านการหมักเพื่อให้เกิดออกซิเดชันเพียงบางส่วนเรียกว่าผ่านกรรมวิธีหมักเพียงครึ่งเดียวของการหมักเพื่อทำชาดำ บางตำราจึงจัดเป็นชาดำประเภทหนึ่ง บางตำราจัดแยกออกมาเป็นชาวอีกประเภทหนึ่ง

๒. ชาเขียว (Green Tea) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ชาจีน เป็นชาที่นิยมดื่มในจีนและญี่ปุ่น ทำโดยเอาใบชาสดที่เก็บมาได้มาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วในหม้อทองแดง โดยใช้ความร้อนไม่สูงเกินไปนัก และไม่ใช้มือคลึงเบาๆก่อนแห้ง ชาเขียวที่มีคุณภาพดีได้จากใบชาคู่ที่หนึ่ง และคู่ที่สอง ที่เก็บจากยอดจีนเรียก บู๋อี๋ (ฮกเกี้ยน) ใบชาใบคู่ที่สาม และคู่ที่สี่ จากยอดจะให้ชาชั้นสอง เรียก อันเคย (ฮกเกี้ยน ) ส่วนใบชาคู่ที่ห้า และคู่ที่หก จากปลายยอดจะให้ช้าชั้นเลว จึงเรียก ล่ำก๋อง (ฮกเกี้ยน) นอกจากนั้นชาเขียวอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือชาคอ (breast tea) ที่ดื่มแล้วจะรู้สึกชุ่มคอ และชากลิ่น (scented tea) ที่มีกลิ่นหอม เนื่องจากอกด้วยกลิ่นหอมจากดอกไม้ เช่น ดอกมะลิ ดอกประยงค์ คำ Camellia ในชื่อพฤกษศาสตร์ของต้นชา แปลว่า เทพธิดา ส่วนคำ sinensis แปลว่า มาจาก ประเทศจีน คำ Thea ในภาษาลาติน เป็นคำเดียวกับ tea ในภาษาอังกฤษ หรือ เต๊ (tee) ในบางสำเนียงของภาษาจีน ส่วนไทยเราเรียกชาว่า เมี่ยง ตามเสียงคำจีนโบราณว่า เม็ง

ชาเป็นเครื่องดื่มที่มนุษย์รู้จักมาตั้งแต่ห้าพันปีปีก่อน จีนเป็นชาติแรกที่รู้จักชามีตำนานเล่าว่าเสินหนง(แปลว่าชาวนาผู้วิเศษ) เป็นบุคคลในตำนานปรัมปราของจีน บางตำนานว่าเป็นบรรพบุรุษของชนชาติจีน บางตำนานว่าเป็นผู้ให้กำเนิดการแพทย์แผนจีนและเป็นคนแรกที่รู้จักใช้สมุนไพร ค้นพบการดื่มชาโดยบังเอิญตั้งแต่ ๒,๗๐๐ ปีก่อนคริสตกาล แต่การดื่มชาถูกบันทึกไว้เป็นหลักฐานครั้งแรกเมื่อ ๕๕๐ ปีก่อนคริสตกาล และเริ่มเป็นที่รู้จักนอกประเทศจีนในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๖ และเป็นที่รู้จักกันดีในยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ นี้เอกชาเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดสูงถึง ๑๕ เมตร ไม่ผลัดใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่แกมรูปขอบขนาน เป็นมัน ใบอ่อนบาง ออกสลับกัน ได้แก่ค่อนข้างหนา และเหนียว ขอบใบจักเป็นฟันปลา ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีกลิ่นหอม โตวัดขนาดผ่าศูนย์กลางได้ถึง ๓ เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี ๕-๖ กลีบ กลีบดอกสีขาวแดงเหลืองมี ๕-๘ กลีบ ติดกันตอนล่าง เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก สีเหลือง ติดกันที่ฐาน ในผลมีเมล็ด ๑-๓ เมล็ด ต้นชาที่ปลูกในปีแรกและปีที่ ๒ จัดเก็บใบอ่อนได้บ้าง ในปีที่ ๓และ ๔ และจัดเก็บไว้ได้เต็มที่ในปีที่ ๕ นอกจากจะเก็บเกี่ยวใบอ่อนได้เรื่อยเรื่อยๆจนถึงอายุ ๕๐ ปีหรือกว่านั้น การเก็บใบชาต้องเก็บด้วยมือและยาระวังอย่าให้ใบช้ำ ควรเก็บเว้นช่วง ๗-๑๐ วัน ยิ่งเด็ดยอดชายิ่งแตกใบออกมากขึ้น การเก็บชาไม่นิยมเก็บหมดทุกยอดใบ ทุกยอดทุกใบแต่จะเหลือไว้บ้าง กรรมวิธีการผลิตจะมีผลต่อสารองค์ประกอบเคมีและคุณสมบัติด้านกลิ่นรสสีของชา ปัจจัยที่ทำให้ชามีคุณภาพแตกต่างกันออกไป ได้แก่ สายพันธุ์ แหล่งที่ปลูก สภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ ฤดูในการเก็บเกี่ยวใบชา แต่ละแต่องค์ประกอบทางเคมีหลักในใบชาคล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันก็ที่ปริมาณเท่านั้น ต้นชามีปลูกมากใน จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย เคนยา บราซิล เป็นต้น

ในใบชาสดจะมีน้ำอยู่ร้อยละ ๗๔-๗๗ และมีสารที่เป็นของแข็งร้อยละ ๒๓-๒๖ เราครึ่งหนึ่งของส่วนที่เป็นของแข็งนั้นละลายน้ำไม่ได้ ประกอบด้วยเส้นใย”ไขมัน โปรตีน แป้ง เพกทิน (pectin) เป็นต้น ส่วนที่ละลายน้ำได้ ประกอบด้วยสารเทนนิน (tannin)เป็นสารฝาด อันเป็นสารพวกพอลลีฟีนอล (poly phenol) ซึ่งมีอยู่ราว ๓๐ ชนิด และองค์ประกอบที่มีมากที่สุดในส่วนที่เป็นของแข็งทั้งหมดในใบชา สารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติตกตะกอนโปรตีน จึงใช้เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเสียและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนที่ดื่มชามากๆอาจมีอาการท้องผูก

ในใบชายังมีองค์ประกอบสำคัญคือแอลคาลอยด์ (alkaloid) ที่สำคัญได้แก่ กาเฟอีน (caffeine)หรือ เทอีน (Theine) เทโอฟิลลีน (theophylline) และเทโอโบรมีน (theobromine) ในใบชาจะมีกาเฟอีนอยู่ร้อยละ ๒.๕-๔ สารกาเฟอีนนี้มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ผู้ดื่มมีความรู้สึกสดชื่นแจ่มใส กระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวา สารเทโอฟีลลีนมีฤทธิ์ขยายหลอดลม ใช้แก้หอบหืดได้ ส่วนสารเทโอโบรมีนมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ทำให้คนดื่มชามากๆจะปัสสาวะบ่อยขึ้น จากการศึกษาองค์ประกอบส่วนที่เป็นพอลีฟีนอล ในชาเขียวโดยเทคโนโลยีสมัยใหม่พบว่า โพลีฟีนอล ในชาเขียวเป็นกลุ่มชาคาเทชิน (catechin) ที่สำคัญมีอยู่ ๔ อย่างคือ (-)-epicatechin ( ชื่อย่อ EGC) และ (-)-epicatechin -3-gallate (ชื่อย่อ ECG) (-)-epigallocatechin (ชื่อย่อEGC) และ (-)-epigallocatechin-3-gallate (ชื่อย่อEGCG) ซึ่งสารทั้งสี่ชนิดนี้ได้ผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่มีพิษ สารเหล่านี้จะมีน้อยในชาดำเนื่องจากถูกเปลี่ยนไปเป็นอนุพันธ์ของพวกคริโนน (quinone)ในขั้นตอนของการหมัก จึงทำให้ สีและรสชาติของชาดำต่างไปจากชาเขียว สารโพลีฟีนอลเหล่านี้มีผลต่อร่างกายหลายอย่างที่สำคัญมี

๑.ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน(antioxidant) ที่ดีมาก มีรายงานว่าได้ผลดีกว่า วิตามินเอถึง๒๐เท่า โดยเฉพาะสาร EGCG และสาร ECG ซึ่งสามารถลดความเสื่อมของเซลล์ของจากปฏิกิริยาออกซิเดชันโดยอนุมูลเสรีในเซลล์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าสารเหล่านี้ในใบชามีสรรพคุณชะลอความแก่ได้
๒.ฤทธิ์ป้องกันและยับยั้งการแพร่ขยายของมะเร็งต่างๆเช่น มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร เชื่อว่าผลนี้เกิดจากฤทธิ์ในการยับยั้งน้ำย่อย ( enzyme) ยูโรไคเนส (urokinase) ซึ่งเป็นน้ำย่อย( enzyme)สำคัญที่ทำให้มะเร็งขยายตัว และพบว่าสาร EGCG  ในชาเขียวเป็นตัวหลักที่แสดงฤทธิ์นี้
๓.ฤทธิ์ป้องกันออกซิเดชันไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ(low-den sity lipoprotein หรือ LDL) ซึ่งชาเขียวหรือสารสกัดจากชาเขียวให้ผลดีกว่าวิตามินซีทำให้ช่วยป้องกันการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือดและป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้
๔.ผลอื่นๆมีรายงานผลการวิจัยหลายชิ้นที่แสดงว่า ชาเขียวและสารสกัดจากชาเขียวมีผล ลดความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ ลดระดับน้ำตาลในเลือดในหมู่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและมีฤทธิ์ต้านเชื้อบัคเตรีได้ อย่างไรก็ตามการบริโภคชาในปริมาณมากๆอาจทำให้เกิดการนอนไม่หลับและใจสั่นเนื่องจากสารกาเฟอีนในเช้าทำให้ท้องผูกเนื่องจากสารพวก Training การดื่มชามากเกินไปยั งอาจทำให้เกิดอาการเหน็บชาจากขาดวิตามินบี 1หรือโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเพราะมีรายงานว่าสารโพลีฟีนอลในชาเขียวตาเดียวเลี้ยงการดูดซึมวิตามินบี 1 และธาตุเหล็กจากทางเดินอาหารโครงการอนามัยโลกจึงแนะนำว่าควรดื่มชาในระหว่างอาหารเพื่อให้ไม่มีผลไปขัดขวางการดูดซึมสารอาหารอย่างไรก็ตามการดื่มชาเขียววันละ ๔.๕ ถ้วยจะทำให้สุขภาพดีมีอายุยืนและช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลายอย่างเช่นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด

 

รุปภาพจาก:spiceee.net,bangkokbiznews.com,aroka108.com