น้ำใบผักไห่

น้ำใบผักไห่

น้ำใบผักไห่ เป็นน้ำคั้นที่ได้จากใบผักไห่ทำโดยการเอาใบผักไห่มาล้างน้ำให้สะอาดตำพอแหลกในครกที่สะอาด แล้วคั้นเอาแต่น้ำด้วยผ้าขาวบางที่ทับซ้อนกัน๒-๓ชั้น ถ้าเข้มข้นมากเกินไปอาจเจอด้วยน้ำสุกหรือน้ำสะอาดเล็กน้อย
มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Momordica charantia L.
ในวงศ์ Cucurbitaceae

บางถิ่นเรียก มะระ มะระขี้นก (ทั่วไป) มะห่อย มะไห่ (พายัพ) ผักเหย(สงขลา) หรือผักไห (นครศรีธรรมราช) ฝรั่งเรียกผลของผักไห่ว่า balsam pear หรือ bitter cucumber ผักไห่มีปลูกเป็นพืชสวนครัว หรืออาจพบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป หรืออาจหาซื้อได้ตามตลาดสดทั่วไป ในตำรับยาพื้นบ้านของหลายชนชาติในเอเชีย ระบุสรรพคุณของผักไห่ไว้อย่างหลากหลาย เช่น
ราก ต้มน้ำดื่ม เป็นยาลดไข้ บำรุงธาตุ ใช้ทาภายนอก เป็นยาฝาดสมาน แก้ริดสีดวงทวาร และแก้บาดแผลอักเสบ
ยอดอ่อน กินได้เป็นยาเจริญอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ใช้ในคนไข้โรคตับและท่อน้ำดีอักเสบ
น้ำคั้นจากใบ กินเป็นยาทำให้อาเจียน เป็นยาระบาย และบรรเทาโรคท่อน้ำดีอักเสบ
ดอก ชงกินแก้หอบหืด
ผล กินเป็นยาขม เจริญอาหาร บำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเลือด ฟอกเลือด สมานแผล แก้ไข้ แก้ร้อนใน เป็นยาระบายอย่างอ่อน ขับพยาธิ แก้โรคตับและม้าบ อักเสบ
เมล็ด กินเป็นยาขับพยาธิตัวกลม และบำรุงร่างกาย ตำราสรรพคุณยาโบราณของไทยว่าใบผักไห่มีรสขมเป็นยาเจริญอาหารเป็นยาฟอกเลือดเป็นยาระบายอ่อนใช้ในคนไข้โรคตับและท่อน้ำดีอักเสบน้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาระบายใช้เป็นยาบรรเทาอาการท่อน้ำดีอักเสบเป็นยาระบายกินมากอย่าทำให้อาเจียน

ยาขนานที่ ๑๗ ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ อันเป็นยาแก้อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)พิการนั้น ให้ใช้น้ำใบผักไห่หรือน้ำใบกล้วยตีบ เป็นน้ำกระสายยา ซึ่งนอกจากจะช่วยละลายยาให้กินได้แล้วใบผักไห่ยังช่วยเสริมฤทธิ์ของยาตัวอื่นๆในตำรับได้

ผักไห่เป็นไม้เถา ลำต้นมีขน ไม่แตกแขนง ลำต้นมีมือเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ขนาดกว้างและยาวประมาณ ๓-๕ เซนติเมตร ขอบใบเว้าเป็นแฉก ๕-๗ แฉก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างดอก แต่อยู่ต้นเดียวกันมักออกดอกเดี่ยวๆที่ซอกใบ มีใบประดับลูกโล่ ดอกเพศผู้มีก้านดอกยาว ๕-๑๕ เซนติเมตร กลีบเรียงติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ๕แฉก กลีบดอกเชื่อมกันตอนโคน ปลายแยกเป็นแฉกลึกๆ ๕ แฉก เมื่อดอกบานเต็มที่จะกางออก มีเกสรเพศผู้อยู่ ๓ อัน ดอกเพศเมียคล้ายดอกเพศผู้ แต่ก้านดอกสั้นกว่า รังไข่มีผิวขรุขระ ปลายท่อรังไข่แยกออกเป็น ๓ แฉก ที่ปลายเป็นตุ่ม ผลรูปกระสวย ผิวขรุขระ เมื่อสุกจะมีสีเหลือง ภายในเมล็ดภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะแบน ค่อนข้างเหลี่ยม เมล็ดแก่ก็มีเยื่อหุ้มสีแดง

ผลของผักไห่รู้จักกันในชื่อ มะระขี้นก ผลอ่อนกินเป็นอาหารได้ ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ แต่ผลแก่ที่เปลือกผลเป็นสีแสดเมล็ดเป็นสีแดงมีพิษกินไม่ได้ ในปัจจุบันมะระขี้นก ได้รับความสุขใจอย่างกว้างขวางในประเทศ และต่างประเทศเนื่องจากการค้นพบว่าสารสกัดจากมะระขี้นกมีผลดี ๒ อย่างคือ ๑.ลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ และ ๒.ต้านเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์(HIV-virus) ได้ ซึ่งอาจนำไปสู่มิติใหม่ในการบำบัดโรคทั้งสอง

ในอนาคตอันใกล้นี้ คัมภีร์อายุรเวทของอินเดียบันทึกไว้ว่า มะระขี้นก ใช้แก้เบาหวานได้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ ใช้ความพยายามตลอดสิบปีที่ผ่านมา เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากมะระขี้นก ต่อระดับน้ำตาลในเลือดพบว่าสารสกัดจากมะระขี้นกมีผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญทั้งยังพบว่าเลขดังกล่าวเป็นผลรวมของชื่อของสารชื่อคาแรนติน (charantin)กับ สารประกอบโปรตีนชนิดหนึ่ง คือ พี-อินซูลิน (P-insulin) หรือพอลีเพปไทด์-พี(polypeptide-P) โดยที่ตัวอักษร P ย่อมาจากคำว่า Plant ที่แปลว่า พืช นอกจากนั้นยังมีรายงานว่าสารสกัดจากมะระขี้นก

มีสารประกอบโปรตีนอีกชนิดหนึ่งคือ เอ็มเอพี-๓๐ (MAP-30) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส ที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ได้และพบว่าโปรตีนชนิดนี้ยังพบในสวนผลเช่นกันแต่ในปริมาณน้อยกว่ามากสารโปรตีนชนิดนี้อย่างแสดงได้ซึ่งสนับสนุนการต้านเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์อีกหลายอย่างนอกจากนั้นยังเสริมฤทธิ์ของยาต้านอักเสบ ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาในต่างประเทศมีการนำสารสกัดจากมะระขี้นกไปใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์และผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยเฉพาะกับโรคเบาหวานประเภทสองในรูปแบบยาสมุนไพรสวนในบ้านเรามียาแผนโบราณจากมะระขี้นกอยู่หลายขนานโดยทั่วไปจะมีข้อบ่งใช้เป็นยาขมช่วยให้เจริญอาหารแม้ว่ามะระขี้นกและสารสกัดจากมะระขี้นกอาจจะปลอดภัยในการบริโภคเนื่องจากใช้เป็นอาหารมาแต่โบราณได้ก็ควรระวังในการใช้ปริมาณมากๆโดยเฉพาะคนในคนปกติ ที่ไวต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกิดจากมะระขี้นกและสารสกัดจากมะระขี้นกมีฤทธิ์ลด น้ำตาลในเลือดได้รวมทั้งในสตรีมีครรภ์ เนื่องจากสารสกัดจากรากผลและเมล็ดมีผลบีบมดลูกในสัตว์ทดลอง

รูปภาพจาก:YouTube,kapook.com