สมุนไพรโลดทะนง

สมุนไพรโลดทะนง

โลดทะนง Trigonostemon reidioides (Kurz) Craib
ชื่อพ้อง Baliospermum reedioides Kurz.
บางถิ่นเรียกว่า โลดทะนง (ราชบุรี ปราจีนบุรี ตราด) ข้าวเย็นเนิน (ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์) ดู่เบี้ย ดู่เตี้ย (เพชรบุรี) ทะนง รักทะนง (นครราชสีมา) ทะนงแดง (ประจวบคีรีขันธ์) นางแซง (อุบลราชธานี) โลดทะนงแดง (บุรีรัมย์) หนาดคำ (เหนือ) หัวยาข้าวเย็นเนิน (ราชบุรี).

ไม้พุ่ม -> ขนาดเล็ก สูง 0.5-1.5 ม. มีขนปกคลุมหนานแน่นทั่วไป.
ใบ -> เดี่ยว เรียงสลับกน รูปขอบขนาน แคบบ้างกว้างบ้าง หรือ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 7-12 ซม.; ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบกลม หรือ มน เส้นใบมี 5-7 คู่ ด้านล่างนูน มีขนทั้ง 2 ด้าน ด้านบนค่อนข้างสาก ด้านล่างขนยาว นุ่มและหนาแน่นกว่าด้านบน ที่ฐานใบมีต่อมเล็ก ๆ 2 ต่อม ก้านใบยาว 10-15 มม. มีขน.
ดอก -> สีขาว ชมพู ม่วงเข้ม หรือ เกือบดำ ออกเป็นช่อตามง่ามใบ และตามกิ่ง ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียเกิดบนต้นเดียวกัน. ดอกเพศผู้ ดอกตูมกลม กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ ด้านนอกมีขน กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ ไม่มีขน เกสรผู้ 3 อัน ก้านเกสรติดกัน อับเรณูรูปกลม ฐานดอกขอบเป็นคลื่น. ดอกเพศเมีย ดอกตูมรูปไข่ กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ปลายมน กว้างประมาณ 1.5 มม. ยาวประมาณ 3 มม. ด้านนอกมีขน กลีบดอกรูปไข่ กว้างประมาณ 2 มม. ยาว 3 มม. รังไข่รูปไข่ มีขน ท่อรังไข่สั้น มี 3 อัน ปลายท่อใหญ่ ปลายสุดหยักเว้าเล็กน้อย ฐานดอกขอบไม่เป็นคลื่น.
ผล -> มี 3 พู เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 มม. มีขนปกคลุมหนานแน่น ก้านผลยาวประมาณ 15 มม. เมล็ด รูปค่อนข้างกลม หรือ รูปไข่แกมสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 5-6 มม. สีออกเหลือง ผิวเรียบ.


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นทั่วไปในที่ดินปนทราย ในป่าสัก และมีกระจัดกระจายในป่าเบญจพรรณแล้ง เหนือระดับน้ำทะเลไม่เกิน 450 ม.


สรรพคุณ

ราก -> รสร้อน ฝนกินเพื่อทำให้อาเจียน ทำให้ท้องเดิน ใช้ถอนพิษคนที่กินยาเบื่อเมา แก้หืด ใช้ภายนอกฝนทาเป็นยาเกลื่อนฝี แก้ฟกช้ำ เคล็ดบวม กินเป็นยาคุมกำเนิด

 

รูปภาพจาก:google.co.th,samunpri.com,สมุนไพร