ชีววิทยาของไส้เดือนดิน

ชีววิทยาของไส้เดือนดิน

ลำตัวของไส้เดือนดินเป็นรูปทรงกระบอก ด้านท้องแบนเล็กน้อยและสีซีดกว่าด้านหลังลำตัวมีปล้องขนาดเท่าๆกัน มีร่องระหว่างปล้องปลายด้านหน้ามีก้อนเนื้อซึ่งไม่จัดเป็นปล้องถัดจากก้อนเนื้อนี้จึงเป็นลำตัวที่เป็นปล้อง ปากอยู่ที่ปล้องแรกใต้ก้อนเนื้อส่วนหน้าลำตัวปล้องที่  ๑๔-๑๖ ของไส้เดือนดินในสกุลนี้จะหนาขึ้นเป็นปลอกเนื้อซึ่งเห็นได้ชัดในตัวที่โตเต็มที่แล้วแต่ละปล้อง(ยกเว้นปล้องแรกและปล้องท้าย) มีขนแหลมโดยที่ขนแหลมจะเรียงเป็นระยะรอบปล้อง

ตามลำตัวของไส้เดือนดินมีช่องเปิดหลายช่อง ได้แก่ ช่องเปิดที่ปาก(เป็นช่องเปิดอยู่ที่กลางปล้องแรก) ทวารหนัก(เป็นช่องเปิดอยู่ที่ปล้องสุดท้าย) ช่องสืบพันธ์เพศผู้(มี ๑ คู่ อยู่ที่ช่อง ๑๘  มักเห็นเป็นรอยขีดตามขวางแต่ลางชนิดอาจเป็นตุ่มขนาดใหญ่ มีช่องเปิดอยู่ที่ปลายตุ่ม) ช่องสืบพันธ์เพศเมีย(มี ๑ ช่อง อยู่กึ่งกลางด้านท้องของปล้องที่ ๑๔) ช่องรับน้ำเชื้อ(เป็นช่องเปิดเล็กๆทางด้านข้างของท้องมี ๔ คู่ อยู่ในร่องระหว่างปล้องที่ ๕-๙) รูถ่ายเบา(พบตั้งแต่ปล้องที่ ๗ จนถึงปล้องสุดท้ายแต่ละปล้องมีอยู่เป็นจำนวนมาก) และช่องเปิดด้านหลัง(เป็นช่องจากช่องตัว เปิดสู่ภายนอกทางด้านหลังโดยที่ของเหลวจากช่องตัวจะผ่านออกจากช่องนี้มาทำให้ผิวลำตัวชุ่มชื้น ช่องดังกล่าวอยู่ในช่องระหว่างปล้องในแถวกลางหลัง ตั้งแต่ปล้องที่ ๑๒-๑๓ เป็นต้นไป ยกเว้รปล้องสุดท้าย)

ไส้เดือนดินดำรงชีวิตอยู่ในดินลึก  ๓o-๔๕ เซนติเมตร ซึ่งมีสารอินทรีย์และความชื้นพอเหมาะแต่ในเวลาร้อนจัดอาจขุดดินลึกลงไปอีก แล้วม้วนตัวเป็นก้อนกลมการที่ไส้เดือนดินชอนไชไปในดินนั้นทำให้ดินร่วนซุย นอกจากนี้การที่ไส้เดือนดินกินดินเข้าไปเพื่อดึงเอาสารอินทรีย์ไปใช้แล้วจึงถ่ายดินออก ก็เป็นการทำให้ดินร่วนซุยอีกท่งหนึ่งด้วย

รูปภาพจาก:blogspot.com,rmutphysics.com