สมุนไพรตองเต๊า

สมุนไพรตองเต๊า

ตองเต๊า Mallotus barbatus Muell. Arg.
บางถิ่นเรียกว่า ตองเต๊า ขี้เถ้า เต๊าขน ปอเต๊า (เหนือ) กระรอกขน (ชุมพร) กะลอขน กะลอยายทาย (ใต้) บาเละอางิง (มลายู-นราธิวาส) ปอหุน (ประจวบคีรีขันธ์ สละป้าง สละป้างใบใหญ่ (จันทบุรี) หญ้าขี้ทูด (สกลนคร) หูช้าง (เพชรบูรณ์).

ไม้พุ่ม หรือ  ไม้ต้น -> ขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 6 ม. ทุกส่วนมีขนคล้ายขนสัตว์ สีขาวอมน้ำตาลอ่อนๆ ปกคลุมหนาแน่น ใบอ่อนสีชมพู.
ใบ -> เดี่ยว เรียงแบบบันไดเวียน รูปไข่ป้อม ๆ หรือ ค่อนข้างกลม มักจะมีแฉกตื้น ๆ 3 แฉก กว้าง 7.5-30 ซม. ยาว 8.5-35 ซม. ปลายใบและปลายแฉกเรียวแหลมเป็นหางยาว ขอบใบหยักตื้นและห่าง โคนใบกลม เส้นแขนงใบ 7-10 คู่ นูนเด่นทางด้านล่างของใบ ด้านบนมีขนเป็นรูปดาว และจะค่อย ๆ หลุดร่วงไป เมื่อใบแก่ สีเขียวอ่อน หรือ เขียวอมเหลือง ก้านใบติดแบบใบบัว ยาว 5-25 ซม. อ้วน.
ดอก -> ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งและง่ามใบใกล้ยอด สีแดงอมเหลือง ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน. ดอกเพศผู้ ช่อดอกยาว 11-36 ซม. ก้านดอกยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4-6 กลีบ งอ รูปขอบขนาน ปลายแหลม ยาว 3.5 มม. เกสรผู้ 75-85 อัน. ดอกเพศเมีย ช่อดอกยาวประมาณ 9 ซม. ก้านดอกยาว 2 มม. กลีบดอก 4-5 หยัก ยาว 3 มม. รังไข่สีแดงสดใส ภายในมี 4-6 ช่อง ท่อรังไข่สีเหลืองมี 4 อัน ปลายท่อแบน ปลายแหลม ยาว 3.5-4.5 มม.
ผล -> กลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 มม. มีขนรูปดาว สีน้ำตาลอ่อน ปกคลุมหนาแน่นคล้ายขนสัตว์ มี 4-6 ช่อง แก่จะแตก. เมล็ด มีเมล็ดสีดำช่องละหนึ่งเมล็ด ยาว 5.5-6 มม.


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นตามป่าละเมาะใกล้ลำธาร.


สรรพคุณ

ใบ -> ตำรวมกับพริกไทยดำ ขิง และข้าวหัก พอกที่ท้องแก้ท้องขึ้น

 สมุนไพรตองเต๊า

รูปภาพจาก:treeofthai.com,biotik.org,สมุนไพร