อนุกรมวิธานพืชกับชื่อพฤกษศาสตร์ของพืช

อนุกรมวิธานพืชกับชื่อพฤกษศาสตร์ของพืช

หลายคนที่อ่านตำราเกี่ยวกับพืชสมุนไพรที่เขียนโดยนักวิชาการ มักพบเห็นข้อความหนึ่งในตอนต้นๆว่า “พืชสมุนไพรนี้มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า…จัดอยู่ในวงศ์” ชื่อพวกนี้เป็นภาษาที่คนทั่วไปอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ แต่นักวิชาการใส่ชื่อพรุ่งนี้เข้ามาทำไมล่ะ ก่อนที่จะเข้าใจได้นั้น จำเป็นต้องรู้เรื่องอนุกรมวิธานพืชเสียก่อน อนุกรมวิธานพืชคืออะไร?
คำ อนุกรมวิธาน แปลจากคำ taxonomy ในภาษาอังกฤษ เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐาน หลักการ กฎเกณฑ์ และวิธีการ ในการจำแนกพืช เพื่อจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ให้ใกล้เคียงความเป็นจริงตามธรรมชาติให้มากที่สุด สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ และตรวจสอบข้อมูลได้โดยตรงอย่างรวดเร็วและถูกต้อง อนุกรมวิธานจึงเกี่ยวข้องกับการจัดหมวดหมู่ (classificasion) การตรวจหาหมวดหมู่หรือชนิด

(indentification) การบรรยายลักษณะ (description) และการตั้งชื่อ (nomenclature) นักอนุกรมวิธานจึงมีกิจกรรมพื้นฐานที่ ๑. การพิจารณาตำแหน่ง (position) และลำดับ (rank) ในหมวดหมู่ ๒.การศึกษาลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้นตัวอย่างให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และ ๓.การตั้งชื่อสิ่งมีชีวิต นักวิชาการประเมินว่า พันธุ์พืชที่มีท่อลำเลียงในประเทศไทยนั้น มีอยู่ระหว่าง ๑๐,๐๐๐ – ๑๕,๐๐๐ ชนิด กระจายอยู่ในป่าดิบและป่าผลัดใบพรรณไม้จำนวนมากเหล่านี้ นักพฤกษศาสตร์ได้จัดแบ่งไว้เป็นหมวดหมู่ตามลำดับชั้น ที่เรียกกันว่า “อนุกรมวิธาน” ช่วยให้การตรวจหาชนิดของพืชพรรณไม้นั้น ทำได้สะดวก ง่ายดาย และถูกต้องยิ่งขึ้น และการตรวจหาชนิดของพันธุ์พฤกษชาติที่ถูกต้องนั้น จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับสัณฐานวิทยาของพืชก่อน

นักวิทยาศาสตร์จำแนกพืชออกเป็น อาณาจักร (kingdom) หนึ่ง แต่จะแบ่งเป็น อาณาจักรพืชเป็นหมวดหมู่อย่างไรนั้น ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันอยู่ อย่างไรก็ตามแบบการจำแนกพืชที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือแบบของศาสตราจารย์ ดร.อาร์เทอร์ ครอนควิสต์ (ค.ศ.๑๙๗๑) ผู้แบ่งอาณาจักรพืชออกเป็น ๒ อาณาจักรย่อย (Subkingdom) แต่ละอาณาจักรย่อยแบ่งเป็น หมวด (division) ต่างๆและ แต่ละหมวดแบ่งเป็น ชั้น (class) อันดับ (order) วงศ์ (family) สกุล (genus) และชนิด (species) ตามลำดับ แต่ละระดับมีการกำหนดคำลงท้ายที่บ่งบอกระดับ เช่น อันดับลงท้ายด้วย -ales วงศ์มักลงท้ายด้วย -aceae เมื่อจะแสดงระดับต่างๆ มักใช้การย่อหน้าเพื่อแสดงว่าเป็นระดับย่อยลงมา เช่น อนุกรมวิธานของต้นขิง ต้นไพล และต้นขิงดา เป็นดังนี้ อาณาจักรพืช (Kingdom plantae)

หมวดพืชมีดอก (Division magnoliophyta) มันพืชใบเลี้ยงคู่ (Class liliopsida)

อันดับขิง (Order Zingiberales)

วงศ์ขิง (Family Zingiberaceae)

เผ่าขิง (Tribe Zingiberaceae)

สกุลขิง (Genus Zingiber)

ชนิด ต้นขิง (Species offcinale)

ชนิด ต้นไพล (Species montanum)

ชนิด ต้นขิงดา (Species kerri)  เป็นต้น.

 

รูปภาพจาก:pixabay.com,pc54504kittiya02.blogspot.com