สัณฐานของดอก

สัณฐานของดอก

 สัณฐานของดอก  ดอกเป็นอวัยวะของพืชที่เจริญมาจากกิ่งต้นทำหน้าที่สืบพันธุ์ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นดอกนั้นแตกต่างจากกิ่งธรรมดา ตรงที่
๑. ปล้องระหว่างรยางค์ต่างๆหดสั้นมาก
๒.ไม่มีตาตรงข้อ และ
๓. มีการเจริญเติบโตในขอบเขตจำกัด กล่าวคือ เมื่อมีรยางค์ของดอกเกิดขึ้น ถ้าเจริญเจริญร่างกายจะหยุดลงทันที ซึ่งอาจแตกต่างจากกริ่งทั่วไป ที่มีการเจริญด้านปลายตลอดเวลา ไม่มีขอบเขตจำกัด
รยางค์ของดอกนี้หมายถึงส่วนประกอบของดอก มี ๔ วง ได้แก่ วงกลีบเลี้ยง วงกลีบดอก วงเกสรเพศผู้ และวงเกสรเพศเมีย จากด้านนอกเข้าไปด้านใน ตามลำดับ

ดอกที่มีรยางค์ครบทั้งสี่วงเรียก ดอกสมบูรณ์ หากไม่มีครบทั้งสี่วงเรียก ดอกไม่สมบูรณ์ ส่วนดอกที่มีทั้งวงเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียในดอกเดียวกัน เรียก ดอกสมบูรณ์เพศ และดอกที่มีเพียงเพศเดียว เรียก ดอกไม่สมบูรณ์เพศ หรือเพศเดียว ทั้งนี้หากมีวงเกสรเพศผู้อย่างเดียว เรียก ดอกเพศผู้ ในทางกลับกัน ถ้ามีเกสรเฉพาะวงเกสรเพศเมีย เรียก ดอกเพศเมีย พืชที่มีดอกไม่สมบูรณ์เพศ ทั้งดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน เรียก พืชดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ส่วนพืชที่มีดอกไม่สมบูรณ์เพศ และดอก เพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน เรียก พืชดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น พืชรังสิตอ่านมีทั้งดอกเพศเดียวและดอกสมบูรณ์เพศอยู่บนต้นเดียวกัน เรียก พืชมีดอกเพศเดียวและดอกสมบูรณ์เพศอยู่ร่วมต้น เช่น ต้นจันทน์เทศ ในการศึกษาสัณฐานวิทยาของดอก อาจแบ่งลำดับการศึกษาเป็นออกเป็นส่วนๆได้ดังนี้

๑. ฐานดอก ตามปกติฐานดอกมีลักษณะพองออกที่ปลายสุดของกิ่ง มีขนาดค่อนข้างสั้น เช่น ฐานของชบา พืชลางชนิดอาจมีจานฐานดอกวางซ้อนอยู่บนฐานดอก ทำให้เห็นรังไข่นูนสูงขึ้น เช่น ที่พบในดอกช้องนาง ทานดอกของพืชลางชนิดอาจยืด ยาวออกชูวงษ์เกสรเพศผู้ให้สูงขึ้น เรียก ก้านเกสรเพศผู้ เช่นที่พบในดอกหญ้ารกช้าง ส่วนฐานดอกของพืชหลายชนิดที่ยืดยาวออกชูวงเกสรเพศเมียให้สูงขึ้น เรียก ก้านเกสรเพศเมีย เช่น ที่พบในดอกจำปี นอกจากนี้ยังมีฐานดอกที่ยืดยาวชูวงษ์ออกเกสรเพศผู้และเกสรเพศมีให้สูงขึ้น เรียก ก้านชูเกสรร่วม เช่นที่พบในดอกผักเสี้ยน

๒.ใบประดับ เป็นใบพิเศษที่เกิดขึ้นที่โคนของก้านดอกหรือก้านช่อดอก หากเกิดที่โคนก้านดอกย่อย เรียก ใบประดับย่อย ใบประดับอาจมีขนาด รูปร่าง สีสัน แตกต่างกันออกไปได้มาก ที่พบบ่อยๆมีแบบคล้ายใบ เช่น ที่พบในดอกผักเสี้ยน แบบกาบ เช่นกาบเสียงของช่อดอกหมาก หรือกาบของดอกหน้าวัว แบบคล้ายกลีบดอก เช่นที่พบในดอกเฟื่องฟ้า (ซึ่งเห็นเป็นสีสดใสสวยงาม) แบบวงใบประดับ เป็นใบประดับจำนวนมากเรียงเป็นวงที่ปลายก้านดอก หรือต่ำกว่าฐานดอกลงมาเล็กน้อย มีสีเขียว เช่นที่พบในดอกดาวเรือง (โครงสร้างนี้เป็นลักษณะเด่นของพืชลางกลุ่ม) แบบริ้วประดับ เป็นใบประดับที่อยู่ใต้วงกลีบเลี้ยงหรือติดกับวงกลีบเลี้ยง มีลักษณะคล้ายกลีบเลี้ยงมากเช่นที่พบในดอกชบา (โครงสร้างนี้เป็นลักษณะเด่นของพืชลางกลุ่มเช่นกัน)

๓.วงกลีบเลี้ยง เป็นส่วนของดอกที่อยู่วงนอกสุด เจริญมาจากใบ มักมีสีเขียว เป็นแบบกลีบเลี้ยงแยกกันหรือกลีบเลี้ยงเชื่อมกันก็ได้ ดอกที่มีกลีบเลี้ยงเชื่อมกันนั้น มักเชื่อมติดกันเฉพาะตรงโคนกลีบเลี้ยง ส่วนปลายตีบเลี้ยงมักไม่เชื่อมติดกัน แต่แยกเป็นกลีบ เมื่อดอกถูกผสมเกสรแล้ว ลางส่วนของดอกจะเหี่ยวแห้งและหลุดร่วงไป แต่ดอกของพืชลางชนิดมีวงกลีบเลี้ยงที่คงทนมาก ไม่หลุดร่วงไป และอาจติดอยู่ตลอดไป แม้ดอกจะเจริญเป็นผลแล้วก็ตาม เรียก กลีบเลี้ยงติดทน เช่น ที่พบติดอยู่บนลูกพลับ มังคุด หรือส้มแขก กลีบเลี้ยงของดอกไม้ลางชนิด อาจเปลี่ยนไปเป็นถุงย้อยลงมาเล็กน้อย เรียก เดือย เช่นที่พบในดอกของต้นเทียนนกแก้ว (Impatiens psittacina Hook.f)

๔.วงกลีบดอก เป็นส่วนของดอกที่อยู่ถัดจากวงกลีบเลี้ยงเข้ามา เจริญมาจากใบเช่นกัน คะริมดอกมักมีสีสันต่างๆ ลางชนิดอาจมีกลิ่นหอมด้วย โคนกลีบดอกอาจมีต่อมน้ำหวานเพื่อล่อแมลงให้เข้ามาช่วยในการถ่ายเรณู ในพืชลางกลุ่มวงกลีบเลี้ยงและวงกลีบดอกมักมีขนาดเท่าๆกัน และมีสีสันเหมือนกัน จึงเรียกรวมๆว่า วงกลีบ
กลีบดอกมีกลีบดอกแยกกันหรือกลีบดอกเชื่อมกันก็ได้

.กลีบดอกแยกกัน กลีบดอกในวงกลีบดอกอาจแยกออกเป็นอิสระจากกัน ทำให้เกิดเป็นรูปดอกได้หลายแบบ ที่รู้จักกันดี ได้แก่
-รูปกากบาท รองแบบนี้มีกลีบดอก ๔ กลีบ แยกกัน ขนาดเท่าๆกัน เรียงเป็นรูปกากบาท เช่น ดอกผักคะน้า
-รูปดอกกล้วยไม้ดอกแบบนี้มักมีกลีบดอก ๓ กลีบ กลีบด้านหน้าเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียมีรูปร่างแตกต่างไปจากกลีบอื่น โคนกลีบอาจมีต่อมน้ำหวานหรือเรือยื่นออกมา เรียกกลีบนี้ว่า กลีบปาก
– รูปดอกว่านสี่ทิศ เหล่านี้มักมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ ๓ กลีบ แยกกัน ขนาดและสีสันเหมือนกันหมด รูปร่างเหมือนดอกว่านสี่ทิศ
-รูปดอกผีเสื้อ ดอกแบบนี้มักมีกลีบดอก ๕ กลีบแยกกัน โคลนแต่ละกลีบคล้ายกลีบ ปลายกลีบแผ่กว้างออก
-รูปดอกถั่ว ดอกแบบนี้มักมีกลีบดอก ๕ กลีบ แยกกัน ครีมนอกใหญ่ที่สุดและมีกลีบเดียว เรียก กลีบกลาง กลีบ ๒ กลีบถัดเข้าไปอยู่ข้างในอยู่ข้างและตรงข้าม กับกลีบกลาง เรียก กลีบคู่ข้างและอีก ๒ กลีบอยู่ในสุด มีขนาดเล็กที่สุด แต่มักเชื่อมติดกันเอง เรียก กลีบคู่ล่าง มักเชื่อมติดกันโดยเฉพาะตรงโคนกลีบเลี้ยงเท่านั้น ส่วนปลายกลีบเลี้ยงมักไม่เชื่อมกัน แต่แยกเป็นกลีบ
. กลีบดอกเชื่อมกัน การเชื่อมติดกันของวงกลีบดอกก็เช่นเดียวกับการเชื่อมติดกันของวงกลีบเลี้ยง มากเป็นการเชื่อมติดกันที่โคน ปลายมักแยกเป็นแฉกตามจำนวนกลีบดอก ส่วนที่เชื่อมติดกันของกลีบดอก เรียก หลอดดอก บริเวณรูเปิดของหลอดดอก ส่วนบริเวณปลายกลีบที่ไม่เชื่อมกัน เรียก ปากแตร การเชื่อมกันของวงกลีบดอกอาทำให้เห็นเป็นรูปดอกได้หลายแบบ ที่พบบ่อยได้แก่
-รูปปากเปิด ตัวแบบนี้มีปากแตรแยกเป็น ๒ แฉก เหมือนบริเวณเหมือนริมฝีปากบนกับล่าง แฉกบนมี ๒ กลีบ (เห็นจักเป็น ๒ แฉกย่อย) ส่วนแฉกล่างมี ๓ กลีบ (เห็นจักเป็น ๓ แฉกย่อย) เป็นลักษณะของพืชในวงศ์โหระพาเช่น ดอกกะเพรา ดอกโหระพา
-รูประฆัง ดอกแบบนี้กลีบดอกเชื่อมติดกัน รูปเหมือนระฆัง เช่น ดอกฟักทอง
-รูปกรวย ดอกแบบนี้กลีบดอกเชื่อมติดกันเหมือนรูปกรวยคือโคนจะแคบที่สุด แล้วค่อยๆผายออก จนถึงขอบกลีบดอกซึ่งจะกว้างที่สุด เช่น ดอกผักบุ้ง
-รูปลิ้น ดอกแบบนี้ตรงโคนกลีบที่เชื่อมติดกันเป็นหลอดกลวง บริเวณอื่นก็  เชื่อมติดกัน และจะแพบ้านออกคล้ายกลีบกลีบเดียว รูปคล้ายลิ้น เช่น ดอกวงนอกของดอกทานตะวัน ดอกวงนอกของดอกบานชื่น
-รูปดอกเข็ม ดอกแบบนี้หล่อดอกหอมยาว ปากแตรแผ่ออกทำมุมฉาก กับหลอดดอก เช่น ดอกเข็ม
-รูปหลอด ดอกแบบนี้มีลักษณะเป็นหลอดยาว เช่น ดอกวงในของดอกดาวเรือง
-รูปคนโท  ดอกแบบนี้มีส่วนของหลอดดอกพองออกจนกลม หรือค่อนข้างแป้น ส่วนที่เป็นประแต่จะหักเป็นมุมฉากกับแกน เช่น ดอกตีนเป็ดฝรั่ง ดอกจันทน์เทศ
-รูปกงล้อ ดอกแบบนี้เพื่อรูปคล้ายล้อจักรยาน คือหลอดดอกสั้นมาก ปากแตรแผ่กว้างออกจนดูคล้ายรัศมี เช่น ดอกมะเขือ

๕.วงเกสรเพศผู้ เป็นวงที่อยู่ถัดจากชั้นกลีบดอกเข้าไปด้านใน เป็นอวัยวะสำหรับสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของพืช เกสรเพศผู้แต่ละอันประกอบด้วยอับเรณู และก้านชูอับเรณู ดอกของพืชชนิดต่างกันอาจมีจำนวนเกสรเพศผู้ต่างกัน มีหลักฐานว่าพืชที่มีจำนวนเกสรเพศผู้มาก เป็นพืชที่มีวิวัฒนาการน้อยกว่าพืชที่มีเกสรเพศผู้น้อย
ก. สัดส่วนของเกสรเพศผู้ ตามปรกติเกสรผู้มากมีขนาดและความยาวเท่าๆกัน หรือเกือบเท่าๆกัน แต่ในพื้นแต่ในพืชลางชนิด เกสรเพศผู้ มีสองคู่ยาวไม่เท่ากัน หรือเกสรเพศผู้ยาวสี่สั้นสอง
ข.การเชื่อมติดกันของเกสรเพศผู้ เกสรเพศผู้อยู่ในวงศ์เกสรผู้เพศผู้อาจเป็นอิสระจากกันหรืออาจเชื่อมติดกันได้หลายแบบ เช่น แบบ อับเรณูติดกัน แบบนี้เฉพาะอับเรณูเท่านั้นที่เชื่อมติดกัน ส่วนก้านชูอับเรณูไม่ติดกัน  เช่นวงเกสรเพศผู้ของดอกทานตะวัน แบบเชื่อมติดกลุ่มเดียว แบบนี้ก้านเกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นกลุ่มเดียวคล้ายหลอดยาว เรียก หลอดเกสรเพศผู้ เช่น วงเกสรเพศผู้ของดอกชบา แบบเชื่อมติดสองกลุ่ม แบบนี้เกสรเพศผู้มีก้านเชื่อมติดกันเป็น ๒ กลุ่ม เช่น วงเกสรเพศผู้ของดอกแค (มีเกสรเพศผู้ ๑๐ อัน มี ๙ อัน เชื่อมติดกัน กับอีก ๑ อัน เป็นอิสระ) แบบเชื่อมติดหลายกลุ่ม แบบนี้ จะใช้ผู้เชื่อมติดกันเป็นหลายกลุ่ม เช่น วงเกสรเพศผู้ของดอกมะนาว
.การติดของอับเรณู อับเรณูอาจ ติดกับก้านชูอับเรณูได้หลายแบบ ที่สำคัญมี แบบติดที่ฐาน แบบนี้ควรอัพเรณูติดอยู่บนปลายก้านชูอับเรณู เช่น เกสรเพศผู้ของดอกมะเขือ แบบติดด้านหลัง แบบนี้ปลายก้านเกสรเพศผู้อยู่ติดทางด้านหลังอับเรณู ทำให้อัพเรณูแขวงไม่ได้ เช่น เกสรเพศผู้ของดอกรกช้าง แบบติดกลาง แบบนี้ปลายก้านเกสรเพศผู้ติดอยู่กลางอับเรณู ทำให้อับเรณูแกว่งได้ เช่น เกสรเพศผู้ของดอกพลับพลึง

ในดอกของพืชบางชนิด อาจมีเกสรเพศผู้ที่ไม่สามารถสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้หรือเรณูได้ เรียก เกสรเพศผู้เป็นหมัน เช่น วงเกสรเพศผู้ของดอกกล้วย มี้เกสรให้ผู้อยู่ ๖ อัน มี ๕ อันที่ไม่เป็นหมัน มีเพียงอันเดียวที่เป็นหมัน เกสรเพศผู้ เป็นหมันในดอกของพืชลางชนิดอ่านมีสีสันสวยงามคล้ายกลีบดอก เรียกเกสรเพศผู้เป็นหมันคล้ายกลีบดอก เช่น ดอกพุทธรักษา ซึ่งชั้นกลีบเลี้ยงมีกลีบเลี้ยงสีเขียว ๓ กลีบ ชั้นกลีบดอกเป็นกลีบยาวๆแหลมๆสีเหลืองอ่อน ส่วนแผ่นดิบกว้างที่เห็นมีสีสันสวยงามสะดุดตา ๓ กลีบนั้น เป็นเกสรเพศผู้เป็นหมันสายกลีบดอก ดอกของพืชวงศ์ขิง มีเกสรเพศผู้เป็นหมัน ๓ กลีบ ลางกลีบอาจลดรูปไป แต่โดยทั่วไปมีเกสรเพศผู้เป็นหมันคล้ายกลีบดอกอยู่กลีบหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่า เรียก กลีบปาก เช่น กลีบปากสีทองของว่านเปราะทอง เกสรเพศผู้เป็นหมันของดอกว่านปลาทอง (Cornukaempferia aurantifolia J.Mood & K.Larsen) มีลักษณะคล้ายกลีบดอก กลับกลางมีขนาดใหญ่ที่สุด เรียก กลีบปาก ต้นว่านเปราะทองนี้ เป็นพืชหายาก เป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย

๖.วงเกสรเพศเมีย เป็นส่วนที่อยู่วงในสุดของดอก เปลี่ยนแปลงมาจากใบเพื่อทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย อาจมีอันเดียวหรือหลายอัน หากมีหลายอันอาจติดกันหรือแยกจากกันก็ได้ เกสรเพศเมียแต่งานประกอบด้วยส่วนที่ป่องออกเป็นกระพุ้ง เรียก รังไข่ ถัดไปเป็นก้านเกสรเพศเมีย และตรงปลายสุดเป็นยอดเกสรเพศเมีย
ก.รังไข่ ในรังไข่หนึ่งอาจมีตั้งแต่หนึ่งถึงหลายคาร์เพล แต่ละคาร์เพล อาจมีได้ตั้งแต่หนึ่งถึงหลายช่อง ในช่องหนึ่งมีออวุล ซึ่งมีเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียอยู่ภายใน เมื่อเซลล์นี้ได้รับการผสมพันธุ์ ส่วนของออวุลทั้งหมดก็จะเจริญเป็นเมล็ด ส่วนผนังรังไข่จะเจริญเป็นผล ออวุลติดอยู่กับผนังรังไข่ด้วยก้านออวุล ผนังรังไข่บริเวณที่ก้านออวุลมาเกาะจะพองเล็กน้อย เรียก พลาเซนตา
-ชนิดของรัง ไข่รังไข่อาจจำแนกได้ ๓ ประเภท ตามตำแหน่งที่ติดบนฐานดอกเมื่อเทียบกับวงกลีบ ดังนี้
-รังไข่เหนือวงกลีบ แบบนี้ วงกลีบเลี้ยง วงกลีบดอก และวงเกสรเพศผู้ อยู่ติดกับฐานดอกในตำแหน่งต่ำกว่ารังไข่ เพราะฐานดอกยืดสูงขึ้น จนรังไข่อยู่เหนือฐานดอก เช่น ดอกบัว
-รังไข่กึ่งใต้วงกลีบ แบบนี้วงกลีบเลี้ยง วงกลีบดอก และถุงเกสรเพศผู้ อยู่ติดกับฐานดอกบริเวณข้างๆโดยรอบรังไข่ ลางตำราจัดว่าเป็นรังไข่เหนือวงกลีบแบบหนึ่ง เช่น ดอกกุหลาบ
-รังไข่ใต้วงกลีบ แบบนี้วงกลีบเลี้ยง วงกลีบดอก หญ้าวงเกสรเพศผู้ อยู่ติดกับฐานดอกในตำแหน่งสูงกว่าหรือเหนือรังไข่ เพราะฐานดอกเบี้ยสูงขึ้นจนหุ้มรังไข่ไว้ทั้งหมด เช่น ดอกชมพู่
-ชนิดของ พลาเซนตา ๅ อาจเป็นลักษณะสำคัญของพืชลางชนิดได้ เมื่อผ่าดูรังไข่ตามขวางหรือตามยาวจะเห็นว่าพลาเซนตา ของดอกไม้ต่างๆนั้นมีต่างกันหลายแบบ ได้แก
-พลาเซนตาทั่วผนัง แบบนี้พบในรังไข่ที่ไม่ว่าจะมีกี่คาร์เพล ก็มีพลาเซนตาอยู่ทั่วไปที่ผนังด้านไหนของรังไข่
-พลาเซนตาตามแนวตะเข็บ แบบนี้พบในรังไข่ที่เกิดจากหลายคาร์เพล ขอบคาร์เพลเชื่อมต่อกัน โดยไม่ได้โค้งเข้าด้านใน หรืออาจโค้งเข้าด้านใน แต่ไม่เชื่อมกันที่ตรงแกนกลาง รังไข่แบบนี้จึงมีเพียงห้องเดียว พลาเซนตาจะเกิดตรงบริเวณที่คาร์เพลเชื่อมต่อกัน
-พลาเซนตสรอบแกน แบบนี้พบในรังไข่ที่เกิดจากกี่คาร์เพลก็ได้ แต่จะมีเพียงช่องเดียวเท่านั้น พลาเซนตาเกิดอยู่รอบแกน ซึ่งเป็นแท่งยาว จากฐานรังไข่ จรดส่วนบนของรังไข่ พลาเซนตารอบแกนด้วน แบบนี้คล้ายพลาเซนตารอบแกน แต่ปลายแกนกลางเป็นอิสระ ไม่ยาวไปจรดส่วนบนของรังไข่
– พลาเซนตาแนวเดียว แบบนี้พบในรังไข่ที่เกิดจากคาร์เพลเดียว พลาเซนตาเกิดอยู่ตามแนวรอยต่อของคาร์เพลพียงแนวเดียว
-พลาเซนตา รอบแกนร่วมแบบนี้ พบในรังไข่ที่เกิดจากหลายคาร์เพล ขอบของคาร์เพลโค้งเข้าด้านในและเชื่อมติดที่จุดศูนย์กลาง รังไข่แบบนี้มีจำนวนช่องเท่ากับจำนวนคาร์เพล พลาเซนตา เกิดรอบแกนร่วมเท่านั้น
-พลาเซนตาที่ฐานแบบนี้พบในรังไข่ที่มีช่องเดียวและมีออวุลเพียง ๑-๒ ออวุล วงติดอยู่ที่ฐานของรังไข่
-พลาเซนตาที่ยอด แบบนี้พบในรังไข่ที่มีช่องเดียวคล้ายกับพลาเซนตาที่ฐาน แต่ออวุลติดอยู่ที่ยอดของรังไข่
-พลาเซนตา ของดอกแตงกวาเป็นชนิดใด?
การตรวจดูชนิดของพลาเซนตาจากรังไข่ของดอกของพืชลางชนิดอาจเห็นได้ยากหรือไม่ชัดเจน แต่เมื่อรังไข่เจริญเป็นผลแล้วอาจเห็นชนิดของ พลาเซนตา ได้ง่ายและชัดเจนกว่า เช่น แตงกวา เมื่อตัดตามขวางจะทราบได้ว่ารังไข่มีพลาเซนตา ตามแนวตะเข็บ ดูได้จากเมล็ดซึ่งเจริญมาจากออวุลติดกับผนังผลตามแนวตะเข็บ
ข.ก้านเกสรเพศเมีย อาจติดกับรังไข่แบบต่างๆ ได้แก่ ติดบนสุด(ของรังไข่) เช่น ดอกมะเดื่อ ติดที่โคน (ของรังไข่) และติดทาบ แบบหลังนี้เกสรเพศเมียอยู่ติดด้านบนสุดของรังไข่ ซึ่งมีหลายพู แล้วทาบตลอดความยาวของรังไข่ เช่น เกสรเพศเมียของดอกกะเพรา

๗. ช่อดอก เป็นกลุ่มดอกที่อยู่บนแกนหรือก้านดอกเดียวกัน ช่อดอกแต่ละช่อ มีก้านช่อดอก ต่อจากก้านช่อดอกหาดมีแกนกลาง ซึ่งมีดอกยูวอยซ์ติดอยู่ โดยดอกย่อยอาจมีก้านดอกย่อย ตรงโคนก้านดอกย่อยอันมีใบประดับย่อย ส่วนก้านช่อดอกที่โผล่ขึ้นมาโดดๆจากพื้นดินเลย เรียก ก้านช่อดอกโดด (เรียกช่อดอกแบบนี้ว่าช่อดอกโดด) โดยทั่วไปอาจจำแนกช่อดอกได้ ๒ ประเภท คือ ประเภทไม่สิ้นสุด กับประเภทไม่สิ้นสุด แต่ช่อดอกของพืชลางชนิดอาจเป็นทั้ง สองประเภทปนกัน เช่น ดอกองุ่น ดอกโหระพา จึงเรียก ช่อดอกผสม นอกจากนี้ช่อดอกลางชนิดอาจมีโครงสร้างแตกต่างออกไปเป็นลักษณะเฉพาะ เรียก ช่อดอกพิเศษ
ช่อดอกประเภทไม่สิ้นสุด แบบนี้เจริญมาจากตาซอกใบ ดอกย่อยที่อยู่ริมนอกสุดหรือล่างสุดจะบานก่อนดอกย่อยอื่นๆ ที่อยู่ถัดเข้าไปข้างใน (เรียกว่าการเข้าหาศูนย์กลาง) หรือที่อยู่ถัดไปด้านบน ดอกย่อยอาหารมีก้านดอกย่อยหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีก้านดอกย่อยที่อยู่ด้านล่างจะยาวกว่า ช่อดอกแบบนี้จะเจริญไปเรื่อยๆเหมือนไม่สิ้นสุด ทำให้แกนกลางยืดยาวออกไปเรื่อยๆ จำแนกย่อยได้หลายแบบ คือ
-ช่อกระจะ แบบนี้มีดอกย่อยบนแกนกลางยาวก้านดอกย่อย ยาวเท่ากันหรือเกือบเท่ากัน เช่น ช่อดอกหางนกยูงฝรั่ง หากก้านดอกย่อยของช่อดอกแบบนี้แตกแขนงย่อยไปอีก เรียก ช่อกระจะแยกแขนง
-ช่อเชิงหลั่น แบบนี้คล้ายช่อกระจะ แต่ช่วงของก้านดอกย่อยบนแกนกลางจะสั้นกว่า ดอกย่อยที่อยู่ข้างล่างมีก้านดอกย่อยยาวกว่าดอกย่อยที่อยู่ถัดขึ้นไป ทำให้เห็นดอกอยู่ในระดับเดียวกัน หรือเกือบอยู่ในระดับเดียวกันหมด เช่น ช่อดอกผักเสี้ยน
-ช่อซี่ร่ม แบบนี้ก้านดอกยาวเท่ากันหรือเกือบเท่ากัน และออกจากจุดเดียวหมดกันหมด คล้ายก้านซี่ร่ม และมักมีวงใบประดับ เช่น ดอกพลับพลึงหากก้านดอกย่อยยังแตกออกเป็นช่อดอกย่อยๆอีก เรียก ช่อดอกชื่อร่วมแยกแขนง หากดอกย่อยของใช้ร่มที่อยู่กลางๆ ก้านช่อดอกมีก้านดอกย่อยสั้นกว่า เรียกช่อซี่ร่มเว้ากลาง
-ช่อเชิงลด แบบนี้มักมีการคลังค่อนข้างยาว ดอกย่อยทุกดอกไม่มีก้านดอกย่อย ดอกย่อยจึงอยู่บนการคลังโดยตรง เช่น ช่อดอกเสม็ด
-ช่อแบบหางกระรอก แบบนี้คล้ายช่อเชิงลดมาก ต่างกันตรงที่เมื่อช่อดอกแก่มักห้อยลงและเปลี่ยนไปมาได้ช่อดอกช่อหนึ่งๆ มีเพียงดอกเพศเดียวเท่านั้น ตามปรกติมากร่วงง่าย เช่น ช่อดอกกำลังเสือโคร่ง
-ช่อเชิงลดมีกาบ แบบนี้มีแกนกลางหนาและนิ่ม มีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย หรือดอกเพศผู้กับดอกสมบูรณ์เพศทุกดอกฝังอยู่ในแกนกลาง ไม่มีก้านดอกย่อย ดอกเพศผู้มักอยู่ตอนบนบนๆ ส่วนดอกเพศเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศมักอยู่ตอนล่างๆ ช่อดอกแบบนี้มีใบประดับขนาดใหญ่แผ่นเดียว มีสีสวยงาม เรียก กาบ เช่น ช่อดอกบุก
-ช่อกระจุกแน่น แบบนี้มีแกนกลางอกสั้นและแผ่ออก ตรงกลางนนขึ้นเล็กน้อยเป็นแท่นเหมือนฐานของดอกเดี่ยว โคลนท่านอาจมีวงใบประดับ บนแท่นมีดอกย่อยติดอยู่จำนวนมาก ดอกย่อยมักไม่มีก้านดอกย่อย หรือ ถ้ามีก็สั้นมาก ถ้าเป็นช่อดอกกระจุกแน่น ของพืชวงศ์ทานตะวันลางชนิด อาจมีดอกย่อย ๒ แบบ คือ ดอกวงนอกกับดอกกลาง  เช่น ช่อดอกบานชื่น ช่อกระจุกแน่นของดอกทานตะวัน ดอกทานตะวันเป็นช่อดอกแบบกระจุกแน่น มีดอกย่อย ๒ แบบ คือ ดอกวงนอกกับดอกกลาง ดอกวงนอกมีกลีบดอกเชื่อมกันรูปลิ้น ดอกสวนดอกกลางมีกลีบดอกเชื่อมกันรูปรูปหลอด
– ช่อแยกแขนง แบบนี้มีแกนกลางยาว ดอกแยกแขนงจากแกนกลาง และแกนกลางย่อยหลายชั้น ดอกย่อยอยู่อย่างหลวม
.ช่อดอกประเภทสิ้นสุด แบบนี้เจริญมาจะตายยอด ดอกย่อยที่อยู่ในสุดหรือบนสุดจะบานก่อนดอกย่อยอื่นๆ ที่อยู่ถัดออกมาข้างนอก (เรียกว่าหนีศูนย์กลาง) หรือที่อยู่ถัดลงไปด้านล่าง แกนกลางช่อดอกประเภทนี้จะยืดยาวออกหรือไม่เพียงใด ขึ้นอยู่กับขอบเขตอันจำกัดของดอกที่ปลายยอด ช่อดอกประเภทนี้อาจจำแนกย่อยได้หลายแบบ คือ
-ช่อกระจุก แบบนี้มีดอกหญ้าเพียง ๓ ดอกเท่านั้น ดอกย่อยแตกออกจากจุดเดียวกัน หรือเกือบจากจุดเดียวกัน ดอกลางบานก่อนดอกด้านข้าง เช่น ช่อดอกมะลิ ช่อกระจุกที่มีดอกย่อยตรงกลางกับดอกย่อยด้านข้างเพียง ๒ ดอก เรียก ช่อกระจกด้านเดียว
-ช่อกระจุกซ้อน แบบนี้เหมือนแบบช่อกระจุก ดอกกลางมีก้านดอกย่อยสั้นกว่า ดอกย่อยด้านข้างแตกเป็นช่อกระจุกอีกชั้นหนึ่ง เช่น ดอกโคมญี่ปุ่น หากช่อดอกแบบนี้มีดอกย่อยด้านข้างแตกออกไปหลายๆชั้น เรียก ช่อกระจุกซ้อนหลายชั้น เช่น ช่อดอกเข็ม
-วงแถวเดี่ยว คล้ายช่อกระจกด้านเดียว แต่ดอกข้างจะแตกออกด้านข้างไปเรื่อยๆ เช่น ดอกหญ้างวงช้าง
-ช่อดอกแถวคู่ คล้ายช่อกระจุกด้านเดียว แต่ดอกข้างจะแตกออกด้านข้างไปเรื่อยแบบสลับฟันปลา เช่น ดอกธรรมรักษา
.ช่อดอกพิเศษ ที่น่าสนใจ ได้แก่
-ช่อแบบมะเดื่อ เป็นช่อดอกที่เกิดจากดอกที่มีฐานดอกรูปถ้วย เช่น ช่อดอกมะเดื่อช่อแบบมะเดื่อ ช่อดอกแบบนี้มีฐานดอกขยายเจริญมาห่อช่อดอกไว้เหลือเพียงรูเล็กๆเท่านั้น ดอกย่อยเป็นดอกเพศเดียว แต่มีดอกทั้งสองเพศในช่อเดียวกัน โดยที่ดอกเพศผู้มักอยู่บริเวณใกล้รูเปิด ส่วนดอกเพศเมียอยู่ด้านล่างลงมา
-ช่อฉัตร เป็นช่อดอกที่เกิดขึ้น ๒ ข้าง ตรงซอกใบที่ออกตรงกันข้ามในระนาบเดียวกัน เหมือนฉัตร เช่น ช่อดอกโหระพา

เครื่องยาจากดอก เครื่องยาจากดอกน้ำส่วนมากมักใช้ทั้งดอก อาจเป็นดอกตูมก่อนบาน เช่น กานพลู หรือดอกบาน เช่น ดอกสารภี อาจมีเครื่องยาลางชนิดที่ใช้เฉพาะบางส่วนของดอก เช่น กลีบดอกจำปา เกสรบัวหลวง และหญ้าฝรั่น

 

รูปภาพจาก:agro.com,thaiclubza.com,horoworld.com,wordpress.com