น้ำขิง

 น้ำขิง

ขิงเป็นสมุนไพร และเครื่องเทศที่ช่วยชาติไทยจีนและอินเดียรู้จักใช้มาตั้งแต่โบราณ ตำราสรรพคุณโบราณของไทยว่าขิงสด มีรสหวานเผ็ดร้อน

มีสรรพคุณ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ให้ผายและเรอ ดังนั้นน้ำขิงนอกจากจะช่วยละลายยาให้กินยาง่ายแล้ว ยังช่วยแต่งรถให้น่ากินยิ่งขึ้นทั้งยังมีสรรพคุณทางยาที่สามารถเสริมฤทธิ์ตัวยา ในยาขนานนั้นได้อีกด้วย ทิ้งที่นำมาใช้เตรียมน้ำขิง สำหรับทำเป็นกระสายยานั้น มักใช้ขิงแก่สดสูตรเอาผิวนอกออก ล้างน้ำให้สะอาดแล้วฝานเป็นชิ้นบางๆต้มกับน้ำตามต้องการส่วนขิงที่นำมาใช้เป็นเครื่องเทศนิยมใช้ทั้งสดและแห้งทั้งหินอ่อนและขิงแก่โดยมักใช้ขิงที่ยังอ่อนอยู่ ปรุงอาหารที่ไม่ต้องการรสเผ็ดมาก โบราณว่าขิงแห้งมีรสหวานเผ็ดร้อนมีสรรพคุณแก้ไข้แก้ลมแก้จุกเสียดแก้เสมหะบำรุงธาตุแก้คลื่นเห*ยน อาเจียน สวนหินสดมีรสหวานเผ็ดร้อนมีสรรพคุณแก้ปวดท้องบำรุงธาตุ ขับลมในลําไส้ให้ผายลมและเรอ

   ยาขณะที่ ๕๓ ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ชื่อ “มหากระทัศใหญ่” ที่ใช้แก้ลมทุกประเภทนั้น ให้ใช้น้ำผึ้งน้ำขิง น้ำส้มซ่า หรือน้ำกระเทียม เป็นน้ำกระสายยาก็ได้ แล้วแต่แพทย์ผู้วางยาจะยักกระสายให้ต้องโรคต้องอาการ ดังนี้   “มหากทัศใหญ่” ให้เอาโกฏสอเทศ เทียนทั้ง ๕ รากเจตมูลเพลิง ผลกระวาน ใบกระวาน ผลอันใหญ่ สค้าน เปลือกสมุลแว้ง ขิงแห้ง ว่านน้ำ พริกล่อน รากไคร้เครือ น้ำประสานทอง ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ เกลือสินเธาว์ สิ่งละส่วน การะบูร กานพลู เทียนตาตั๊กแตน เทียนเกล็ดหอย สหัสคุณก็ได้ เปล้าน้อยก็ได้ สิ่งละ ๘ส่วน ดีปลี ๒๐ ส่วน กระทำเป็นจุณ ละลายน้ำผึ้ง น้ำขิงน้ำส้มส้า น้ำกระเทียมก็ได้ กินหนักสลึงหนึ่ง แก้ลมปัตฆาฏ ลมอัมพาต ลมราทยักษ์ ถ้าลมนั้นเบากำลังยานั้นก็จะให้ร้อนถึงปลายมือปลายเท้า บรรดาลมทั้งปวงแก้ได้หายสิ้นแลฯ

  ขิงมีชื่อเรียกในภาษาสันสกฤตว่า srigavere ซึ่งแผลงเป็น zingiber เมื่อทำให้เป็นภาษาละตินเพื่อตั้งเป็นชื่อสกุลและชื่อวงศ์ ตามหลักสากลในการตั้งชื่อพฤกษศาสตร์ ฝรั่งเรียกว่าขิง ginger ตามที่เรียกกันในภาษาแขก ปราชญ์ทางภาษาหลายท่านสันนิศฐานว่า คำ “ขิง” ในภาษาไทย ก็น่าจะมีที่มาจากภาษาแขกนี้เอง แต่เรียกให้สั้นลง

ขิง เป็นเหง้าของพืชขนาดเล็กที่มี
ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Zingiber officnale Roscoe
ในวงศ์ Zingoberaceae
เป็นพืชอายุหลายปี สูง ๓๐-๙๐เซนติเมตนมีเหง้าที่มีกาบใบบางๆ หุ้ม เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อเหง้ามีสีนวล มีกลิ่นเฉพาะ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ออกสลับกัน รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ขนาดกว้าง ๑-๓ เซนติเมตร ยาว ๑๐-๒๕เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกแทงขึ้นโดยตรงจากเหง้า ก้านช่อดอกยาว๑๐-๒๐ เซนติเมตร มีใบปนะดับ สีเขียวอ่อน ดอกย่อย ไม่มีก้าน ดอกมีสีเหลือง ปลายกลีบเป็นสีม่วงแดง ผลเป็นผลแห้ง มี๓ พู

ขิงมีองค์ประกอบเป็นชันน้ำมัน (oleoresin)อยู่ในปริมาณสูง ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ขิงมีรสเผ็ดและ มีกลิ่นหอม ถ้าสกัดชันน้ำมันนี้ ด้วยตัวทำละลาย บางชนิดจะได้ชันน้ำมันที่เกือบบริสุทธิ์ซึ่งมีลักษณะข้นเหนียว สีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นฉุนและรสเผ็ดร้อน มีชื่อเรียกทางการค้าว่า “จินเจอริน” (gingerin) ประกอบด้วยสารในกลุ่มจินเจอรอล ( gingerol) โชโกล (shogaol) และ ชิงเจอโรน (zingerone) เป็นหลัก ชันน้ำมันที่เตรัยมใหม่ๆ จะมีจินเจอรอล เช่น [3-6]-gingerol,[8]-gingerol,[10]-gingerol,[12]-gingerol เป็นหลัก แต่ถ้าทิ้งไว้นานๆ จะมีโชโกลเป็นตัวหลัก ทั้งโชโกลและซิงเจอโรนไม่ใช่สารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่พบในขิง แต่เป็นสารที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมีในระหว่างการสกัดด้วยตัวทำละลาย สารทั้งสองนี้มีรสเผ็ดร้อนกว่าจินเจอรอล ดังนั้น จินเจอรินที่ดีควรมีสารทั้งสองชนิดนี้ในปริมาณที่ต่ำที่สุด  ขิงมีน้ำมันระเหยง่ายราวร้อยละ ๑-๓ ปริมาณนี้จะขึ้นอยู่กับวิธีปลูกและช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยว ในน้ำมันระเหยง่ายมีสารสำคัญหลายชนิด เช่น (-)-b-sesquiphillandrene , E,E-a-farnesene , (-)-zingiberene , (+)-ar-curcumene ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อบัคเตรีที่ทำให้เกิดหนอง ขับลม กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้  ปัจจุบันมีการใช้สารสกัดจากขิง ซึ่งทีสารองค์ประกอบหลักเป็นอนุพันธ์ของ 4-hydroxy-3-methoxyphenyl เช่น ซิงเจอโรน จินเจอร์ไดออล (gingerdiol) จินเจอร์ไดโอน (gingerdione) จินเจอรอล โชโกล เป็นยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน และบรรเทาอาการปวดเนื่องจากข้อเสื่อม ทั้งยังอาจช่วยลดการอักเสบและบวมของข้อ

รูปภาพจาก:agroweb.org,thlady.com