สมุนไพรมะม่วย

สมุนไพรมะม่วย

มะม่วย Gnetum latifolium Bl. Var. funiculare (Bl.) Markgraf
บางถิ่นเรียก มะม่วย (สุรินทร์) มะหน่วย กะรูวะ (มลายู-นราธิวาส)

ไม้เถา -> เนื้อแข็ง กิ่งเป็นข้อต่อกันและตามข้อจะบวมพอง
ใบ -> เดี่ยว เรียงเป็นคู่สลับตั้งฉาก ใบรูปขอบขนานแกมรี รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 5-5.5 ซม. ยาว 13-16 ซม. ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบแคบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนามัน เส้นใบเป็นแบบขนนกโค้ง เมื่อแห้งใบจะมีสีน้ำตาล เห็นเส้นแขนงใบชัดเจนก้านใบยาวประมาณ 1 ซม.
ดอก -> ออกเป็นช่อตามลำต้น ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ช่อดอกแตกเป็นหลายแขนง ดอกเรียงเป็นชั้น ๆ รอบแกนกลาง ช่อดอกเพศผู้ ยาว 2-5 ซม. มีจำนวนดอก 30-50 แต่ละชั้นมี 6-8 ดอก แต่ละดอกมีกาบรอง 2 อัน ที่เชื่อมติดกันเป็นกระจัง มีแผ่นใบสร้างอับสปอร์เพศผู้ ยาว 3 มม. และมีอับสปอร์เพศผู้ติดต่อ 2 อัน  ช่อดอกเพศเมีย ยาว 5-8 ซม. แต่ละชั้นดอก 6-9 ดอก ดอกยาวประมาณ 4 มม. ปลายดอกเรียวแหลมและชี้ขึ้น
ผล -> รูปกลมรี หรือ รูปไข่ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5-2.5 ซม. เมื่อสุกสีแดง หรือ สีส้มคล้ำ ก้านผลเรียว ยาว 0.5-2 ซม. เมล็ดแข็ง มีเนื้อหุ้มอยู่ภายนอก


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นในป่าดิบ ป่าพรุ ที่ราบลุ่มถึงความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 300 ม. พบทั่วทุกภาคของประเทศ (ออกดอกและผลระหว่างเดือน กันยายน-กรกฎาคม)


สรรพคุณ

ต้น -> น้ำยางจากเปลือกต้นเป็นพิษ ใช้ทาหัวลูกศรแต่พิษไม่รุนแรงนัก เมล็ด กินได้เมื่อทำให้สุก

 

รูปภาพจาก:dnp.go.th,mangofat.blogspot.com,l,สมุนไพร