น้ำอัษฎางคุลี

น้ำอัษฎางคุลี

น้ำอัษฎางคุลี หมายถึงน้ำผลไม้แบบอย่างเหมาะสมกัน คำ อัษฎ แปลว่า แปด ส่วนคำ คุลี (การ) แปลว่า คลุกเคล้ากัน ในทางปฏิบัตินั้นคงทำน้ำอัษฎางคุลีได้ยาก เพราะคงไม่อาจหาผลไม้ทั้งแปดได้ครบ เพราะถึงแม้จะหาได้ครบใช้เวลาในการเตรียมนานมาก

ส่วนน้ำปานะหรือน้ำดื่มที่เรียกน้ำอัฐบาน อันเป็นเภสัชบริขารที่พระพุทธองค์อนุญาตเป็นพิเศษสำหรับพระภิกษุสามเณรให้ฉันได้ชั่วคราวในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง(คือห้ามเก็บไว้ค้างคืน) นั้น เพราะเดิมและผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ใน๘อย่าง ที่ระบุไว้ ต่อมาแม้จะทำด้วยของอื่นก็ยังเรียกเช่นนั้น ผลไม้ทั้ง๘อย่างนี้ (บางชนิดอาจหมายถึงผลไม้ให้มากกว่า ๑ ชนิด) ขึ้นอยู่กับการแปลชื่อในภาษาบาลี ได้แก่
๑.อมพปาน° น้ำมะม่วง
๒.ชมพูปาน° น้ำชมพู่หรือน้ำลูกหว้า
๓.โจจปาน° น้ำกล้วยมีเมล็ด
๔.โมจปาน° น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด
๕.มธุกปาน° น้ำมะซาง
๖.มุทธิกปาน° น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น
๗.สาลุกปาน° น้ำเหง้าบัว
๘.ผารุสกปาน° น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่

อย่างไรก็ตาม ชื่อผลไม้ ๘ อย่างนี้ อย่างนี้ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ในบางชนิด ในตำราชื่อ A Critical Appraisal of Ayuravedic Material in Buddhist Literature with special Reference to Tripitaka โดย Dr. Jyotir Mitra  ระบุว่า น้ำ ๘ อย่างนี้ ได้แก่ ๑. น้ำมะม่วง ๒.น้ำชมพู่ ๓.น้ำกล้าย ๔. น้ำกล้วย ๕.น้ำผึ้ง ๖. น้ำองุ่น ๗. น้ำรากบัวหลวง และ ๘. น้ำลูกพลา น้ำผลไม้เหล่านี้เตรียมได้โดยการปอกหรือคว้านผลไม้สุกเอาผ้าห่อ ปิดผ้าให้แน่น อัดผลไม้ให้คายน้ำออกมา แต่ถ้าผลไม้ไม่มีน้ำ ให้ทุบให้บุบ แช่น้ำ ตากแดดให้สุก แล้วจึงนำมาบีบเอาน้ำ ยาขนานที่ ๕๒ ชื่อ “อาภิสะ” ใน ตำราพระโอสถพระนารายณ์ เป็นยาแก้ริดสีดวง แก้ไอ แก้ผอมแห้งแรงน้อย แก้เสมหะในทรวงอกและลำคอ ที่ให้ใช้น้ำอัษฎางคุลีเป็นน้ำกระสายยานั้น น่าจะหมายถึงน้ำอัฐบาน ที่เตรียมจากผลไม้อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๘ อย่างนั้น

อาภิสะ ให้เอาจิงจ้อใหญ่ส่วน ๑ ขันฑศกร ขิงแห้ง ผลเอ็น กรามพลู เทียนเยาวภานี สมอไท มะขามป้อมเอาแต่เนื้อ รากมะกล่ำเครือ ชเอมเทศ รากเจตมูลเพลิง สิ่งละ ๒ ส่วน ผลมะตาดแห้ง ผลกระวาน สิ่งละ ๓ ส่วน พริกล่อน ดีปลี สิ่งละ๖ส่วนกระทำเป็นจุณ ละลายน้ำอัษฎางคุลีเปนเลห กินเนืองๆ แก้ริดสีดวง ไอ ผอมแห้ง แก้เสมหะในทรวงอก ในลำคอ ดีนักแลฯ

 

รูปภาพจาก:justforwomensite.com,sanook.com