ปลาพะยูน

ปลาพะยูน

ปลาพะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

อาศัยอยู่ในน้ำไม่ใช่ปลาจริงๆแต่เนื่องจากอยู่ในน้ำและมีรูปร่างคล้ายปลาคนไทยจึงเรียกรวมเป็น”ปลา
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon(MuBer)
จัดอยู่ในวงศ์ Dugongidae
ชื่อสามัญว่า dugong sea
บางถิ่นเรียกว่า พะยูน วัวทะเลหรือหมูทะเลก็เรียก

มีลำตัวเพรียว ขนาดตัววัดจากหัวถึงโคนหาง ยาว ๒.๒๐ -๓.๕๐ เมตรหางยาว ๗๕.๘๕ เซนติเมตรตัวโตเต็มที่หนัก ๒๘๐ ถึง ๓๘๐ กิโลกรัมรูปกระสวยหางแยกเป็น๒แฉกขนานกับพื้นในแนวราบไม่มีครีบหลังจากอยู่ตอนล่างของส่วนแม่ริมฝีปากบนเป็นก้อนเนื้อหนาลักษณะเป็นเหลี่ยมคล้ายจมูกหมู เมื่ออายุน้อยลำตัวมีสีออกขาวแต่เปลี่ยนเป็นสีเทาอมน้ำตาลเมื่อโตเต็มวัย ตามปรกติชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงหลายๆฝูงหากินรวมกันเป็นฝูงใหญ่กินพืชจำพวกหญ้าทะเลตามพื้นท้องทะเลชายฝั่งเป็นอาหาร โตเต็มที่พร้อมผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ ๑๒-๑๓ปีตั้งท้องนาน๑ปีออกลูก ครั้งละ ๑ ตัว เคยพบได้บ่อยตามชายฝั่งทะเลของประเทศไทยแต่ปัจจุบันเป็นสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์ ยังพบในอ่าวไทยที่จังหวัดระยองชลบุรีตราดประจวบคีรีขันธ์ และชายฝั่งทะเลอันดามันแถบจังหวัดภูเก็ต พังงากระบี่โดยเฉพาะพบซุกซุมที่สุดบริเวณอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-เกาะลิบงจังหวัดตรังในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกาทะเลแดงตลอดแนวชายฝั่งของมหาสมุทรอินเดียไปจน ถึงประเทศฟิลิปปินส์เกาะไต้หวันถึงภาคเหนือของทวีปออสเตรเลีย

 

ประโยชน์ทางยา

แพทย์แผนไทยใช้เขี้ยวปลาพะยูนเป็นเครื่องยาอย่างหนึ่งแต่เพื่ออนุรักษ์สัตว์ชนิดนี้ซึ่งหายากมากแล้วจึงไม่ควรใช้ยานี้อีกต่อไป เขี้ยวปลาพะยูนเป็นเครื่องยาอย่างหนึ่ง ที่ใช้ในพิกัดยาไทยที่เรียกว่า”นวเขี้ยว” หรือ”เนาวเขี้ยว” ได้แก่เขี้ยวหมู เขี้ยวหมี เขี้ยวเสือ  เขี้ยวจระเข้  เขี้ยวเลียงผา และงาช้าง (ดูคู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม ๑ น้ำกระสายยา)

น้ำกระสายยา