สมุนไพรกะตังใบ

สมุนไพรกะตังใบ

กะตังใบ Leea indica (Burm.f.) Merr.
บางถิ่นเรียกว่า กะตังใบ (กรุงเทพฯ จันทบุรี เชียงใหม่) คะนางใบ (ตราด) ช้างเขิง (ฉาน) ตองจ้วม ตองต้อม (ภาคเหนือ) บั่งบายต้น (ตรัง)

ไม้ต้น -> หรือ ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 ม. ลำต้นเกลี้ยง หรือปกคลุมด้วยขนสั้น ๆ
ใบ -> เป็นใบประกอบแบบขนนก (1-)2- หรือ 3 ชั้น ใบย่อยมี 7- ถึงจำนวนมาก หูใบรูปไข่กลับ กว้างได้ถึง 4 ซม. ยาว 6 ซม. มักจะเกลี้ยง หรือมีขนประปราย หูใบร่วงง่าย ทำให้เกิดรอยแผลเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง แกนกลางใบยาว 10-35 ซม. เกลี้ยง หรือมีขนสั้นปกคลุม ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ถึงรูปหอกแกมรูปไข่ หรือรูปรี หรือรูปใบหอกแกมรี กว้าง 3-12 ซม. ยาว 10-24 ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบสอบ หรือกลม หรือเว้า เล็กน้อย ขอบใบจักมน หรือจักแบบฟันเลื่อย หรือแบบซี่ฟันตื้น ๆ เนื้อใบหนาปานกลาง ด้านล่างมีต่อมขนาดเล็กรูปเหลี่ยม หรือกลม เส้นใบมี 6-16 คู่ ก้านใบย่อยยาวได้ถึง 25 มม. เกลี้ยง หรือมีขน ก้านใบรวมยาว 10-25 ซม.
ดอก -> สีขาวอมเขียว ออกเป็นช่อกว้าง ดอกติดห่าง ๆ ยาว 10-25 ซม. เกลี้ยง หรือมีขนเล็กน้อย ริ้วประดับมีตั้งแต่รูปสามเหลี่ยมค่อนข้างกว้าง ถึงรูปสามเหลี่ยมแคบ ยาวประมาณ 4 มม. ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 15 ซม. กลีบเลี้ยงยาว 2-3 มม. เชื่อมติดกันที่โคน ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคน เกสรเพศผู้มี 5 อัน ติดอยู่กับหลอดเกสรเพศผู้ ปลายอับเรณูจะโผล่พ้นหลอดออกไปเป็นแฉกมน ๆ ปลายแฉกเว้า เกสรเพศเมียมี 6 ช่อง แต่ละช่องมีไข่ 1 เมล็ด ก้านเกสรสั้น ปลายมน ผล กลม แป้น ผิวบาง มีเนื้อนุ่ม สีม่วงดำ มี 6 เมล็ด

นิเวศน์วิทยา

ขึ้นได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ

สรรพคุณ

ราก -> น้ำต้มกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย แก้บิด ขับเหงื่อ และเป็นยาเย็น แก้อาการกระหายน้ำ ใบ ย่างไฟให้เกรียม ใช้พอกศีรษะ แก้วิงเวียน มึนงง ตำเป็นยาพอกแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และแก้ผื่นคันตามผิวหนัง น้ำยางจากใบอ่อนกินเป็นยาช่วยย่อย ผล กินได้

 

รูปภาพจาก:dnp.go.th,piromwaroon.blogspot.com,สมุนไพร