สมุนไพรชาข่อย

สมุนไพรชาข่อย

ชาข่อย Acalypha siamensis Oliv. ex Gang
ชื่อพ้อง A. evrardii Gagnep. A. fruticosa Ridl.
บางถิ่นเรียกว่า ชาข่อย ชาฤาษี (กลาง) กาน้ำ ชาญวน (กรุงเทพฯ) จ๊าข่อย (เหนือ) ชาป่า (ปัตตานี) ผักดุก ผักดูด (ประจวบคีรีขันธ์).

ไม้พุ่ม -> สูงประมาณ 1-2 ม. ลำต้น และกิ่งก้านเรียวเล็ก ไม่มีขน (ยกเว้นก้านใบและช่อดอก).
ใบ -> เดี่ยว เรียงสลับกัน รูปข้าวหลามตัด กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 4-6.5 ซม. ปลายใบมีติ่งปลายมนยื่นยาวออกไป โคนใบสอบแคบ. ขอบใบหยักมน เส้นใบมี 4-5 คู่ เส้นบางมาก คู่ล่างสุดออกจากฐานใบ. ก้านใบยาวประมาณ 1-3 มม.
ดอก -> สีเขียว เล็ก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ และที่ยอด ช่อดอกยาว 2.5-4.5 ซม. มีขน ดอกเพศผู้ออกทางตอนบนของช่อ ดอกเพศเมียมีเพียง 2-3 ดอก ออกที่โคนช่อ. ดอกเพศผู้ เล็ก ติดเป็นกระจุกเล็ก ๆ. กลีบรองกลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่ปลายแหลม ขอบกลีบมีขน. เกสรผู้มีประมาณ 10 อัน ก้านเกสรมีขน ใบประดับรูปหอก ปลายแหลม. ดอกเพศเมีย มีใบประดับขนาดใหญ่หุ้มอยู่ รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1 หน่วย.
ผล -> แก่แห้ง และแตก เล็ก ยาว 1-2 มม. มีรยางค์เหนียวหนืด. เมล็ด ค่อนข้างกลม.


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นในป่าดงดิบแล้ง และปลูกเป็นรั้ว.


สรรพคุณ

ต้น -> ทั้งต้นตำเป็นยาพอกร่างกายใช้ลดไข้ 
ใบ -> น้ำต้ม หรือ ชงใบ ใช้แทนใบชาได้ กินเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยย่อย แก้น้ำเหลืองเสีย ไตพิการ และขับปัสสาวะ
ยาชงใบ และดอก  -> กินเป็นยาขับปัสสาวะ

สมุนไพรชาข่อย

รูปภาพจาก:khiadnoi.com,pikool.com,สมุนไพร