ขัณฑสกร

ขัณฑสกร

ขัณฑสกร ใช้เป็นน้ำกระสายยาและเครื่องยา เนื่องจาก มีรสหวานมีกลิ่นหอม ใช้ละลายยาเพื่อให้กินง่ายขึ้น และมีรสชาติน่ากินขึ้น สรรพากรที่ใช้ในยาไทยนั้น เป็นของที่ได้จากธรรมชาติ ตำราโบราณส่วนใหญ่บันทึกเสียงที่มาไว้แตกต่างกัน และว่าขัณฑสกรที่ได้จากแหล่งต่างกันนั้นจะมีสรรพคุณต่างกันไปด้วย ดังนี้

๑.ขัณฑสกร ที่ได้จากหยาดน้ำค้าง คือน้ำค้างในฤดูหนาว(ฤดูหนาว) ที่ตกลงบนใบของพืชชนิดหนึ่งที่ตำราเรียก ต้นขัณฑสกร ตำราโบราณกล่าวว่า พืชนี้พบในอินเดียและมาเลเซียปัจจุบันยังไม่ทราบว่าเป็นพืชชนิดใดแต่เชื่อว่าไม่น่าจะเป็นพืชชนิดใดโดยเฉพาะ อาจเป็นพืชหลายหลายชนิดซึ่งมีดอกที่มีน้ำหวานมาก ผู้เก็บจะออกไปเก็บน้ำค้างหรือน้ำฝนที่ชะหรือละลายน้ำหวานแล้วตกอยู่บนใบไม้ตั้งแต่ตอนเช้าตรู่เก็บใส่กระบอกไม้ไผ่ แล้วนำไปแขวนทิ้งไว้ จนน้ำหวานน้ำตกผลึกและแห้ง จะได้ขัณฑสกรที่เป็นสีขาวนวลหรือสีขาวอมเหลืองขัณฑสกรที่ได้โดยวิธีนี้ น่าจะเป็นของส่วนผสมระหว่างฟรักโทส (fructose) หรือน้ำตาลผลไม้ ซูโครส(sucrose) หรือน้ำตาลอ้อย และ เดกซ์โทรส (dextrose) หรือน้ำตาลองุ่น ตำราสรรพคุณยาโบราณว่าจะมีรสหวานจนขม มีสรรพคุณบำรุงกำลัง ทำให้ปัสสาวะช่อง ทำให้ปัสสาวะคล่อง แก้เสมหะจุกลำคอ ทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ
๒.ขัณฑสกร ที่ได้จากน้ำอ้อย ได้จากการนำน้ำอ้อยมาอุ่นที่อุณหภูมิต่ำๆจนงวด แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง จะได้เกร็ดสีขาวอมเขียว เกร็ดนี้มีองค์ประกอบหลักเป็นผลึกของน้ำตาลอ้อย แต่ถ้านำน้ำอ้อยไปตกตะกอนโปรตีนออกก่อน ฟอกสีให้ขาว แล้วตกผลึกจะได้น้ำตาลทรายที่ใช้ปรุงแต่งรส ที่รู้จักกันทั่วไป ตำราโบราณว่าขัณฑสกรที่ได้จากน้ำอ้อยนี้มีสรรพคุณ บำรุงธาตุ และแก้ฝี ผอมเหลือง
๓.ขัณฑสกร ที่ได้จากน้ำผึ้งรวงที่เกิดริมทะเล ว่ากันว่าน้ำผึ้งรวง (น้ำผึ้งที่บีบจากรวงผึ้งในธรรมชาติ ไม่ใช่ในรังผึ้งเลี้ยง) ที่เกิดริมทะเลนั้น เมื่อเอามาอุ่นด้วยไฟอ่อนๆสนงวดลงบ้าง และตั้งทิ้งไว้ จะมีเกร็ดขัณฑสกรมากกว่าน้ำผึ้งรวง ที่เกิดตามป่าเขา ตำราสรรพคุณยาโบราณว่า ขัณฑสกรที่ได้ด้วยวิธีนี้มีสรรพคุณแก้นิ่ว แก้ท้องมาน แก้สะอึก แก้ไข้เซื่องซึม แก้จุกเสียด แก้ลมพิษ แก้คอแห้ง
๔. ขันทศกร ที่ได้จากเกสรบัวหลวง มักพบบนใบบัวหลวง หลังฝนตกโดยน้ำฝนจะจะเอาน้ำหวานจากดอกบัวหลวง แล้วขังไว้บนใบบัว เมื่อแดดออก น้ำระเหยไป จะเกล็ด สีขาวนวลหรือสีขาวอมเหลืองเกล็ดดังกล่าว ก็น่าจะเป็นของผสมระหว่าง น้ำตาลผลไม้ น้ำตาลอ้อย และ องุ่น น้ำตาลองุ่น เช่นเดียวกับขัณฑสกรที่ได้จากหยาดน้ำค้าง จึงมีสรรพคุณเสมอกัน ดังนั้นขัณฑสกรหรือที่บางตำราเรียกว่า น้ำตาลกรวด นี้ ในทางเคมีจึงเป็นของผสม ของน้ำตาลละลายชนิดแล้วแต่แหล่งกำเนิด อาจมีทั้งที่เป็นโมโนแซ็กคาไรด์ เช่นน้ำตาลผลไม้ น้ำตาลองุ่น และ ไดแซ็กคาไรด์ เช่นน้ำตาลอ้อย ปัจจุบันนี้ขัณฑสกรที่หาซื้อได้ จากร้านขายเครื่องยาไทย มักไม่ใช่ขัณฑสกรที่ได้จากธรรมชาติ ดังกล่าวข้างต้น บางร้านเอาเกร็ดน้ำตาลอ้อย ที่ได้จากการเอาน้ำตาลทรายมาต้มกับน้ำแล้วเที่ยวจนงวด มาขายเป็นขัณฑสกร แต่ร้านค้าส่วนใหญ่มักเอาสารสังเคราะห์ที่เรียก แซ็กคารินหรือดีน้ำตาล มาขายเป็นขัณฑสกร ซึ่งไม่ควรใช้ในการทำยาไทยเพราะเป็นสารก่อมะเร็ง ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ระบุ ให้ใช้ขัณฑสกรเป็นน้ำกระสายยาในยามี่ใช้แก้ เตโชธาตุ ธาตุไฟ พิการ ขนานที่ ๑ และ ๗เช่นในขณะที่๗ดังนี้ ถ้ามีถอย ให้เอาผลชะพลู ผลสมอไทย ผลจิงจ้อหลวง รากเจตมูลเพลิง ผลมะขามป้อม ว่านเปราะป่า รากไคร้ต้น รากไคร้เครือ ชะเอมหญ้ารังกา รากกะเบา เสมอภาคทำเป็นจุล ละลายขันทศกร กินตามควร แก้เตโชธาตุให้โทษแลฯ ละลายขันทศกร กินตามควรนั้นหมายความว่าเมื่อจะกินยานี้ให้เอาขัณฑสกรมาละลายน้ำสุกหรือน้ำฝนหรือน้ำสะอาดก่อนแล้วจึงเอาน้ำที่ได้นั้นไปละลายยากิน คำ ขัณฑสกร ที่ใช้ในที่ใช้กันในปัจจุบัน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ. ศ. ๒๕๒๕ ในตำราพระโอสถพระนารายณ์เขียนเป็น ขันทศกร คำนี้มาจาก คำ ขัณฑ แปลว่าก้อน และ ศกร (อ่านว่า สะ-กะ-ระ มาจากคำสันสกฤต shakara ซึ่งเป็นที่มาของคำ sugar ในภาษาอังกฤษ) แปลว่า น้ำตาล บางตำราจึงเรียกว่าขัณฑสกรว่า “น้ำตาลกรวด” มักมี ผู้เข้าใจผิดว่าขัณฑสกรเป็นแซ็กคารินหรือดีน้ำตาล มันเป็นสารสังเคราะห์ที่มีชื่อทางเคมีว่า 2,3-dihydro-3-oxobenzisosulfonazole เคยใช้ปรุงแต่งรสหวานแต่ปัจจุบันใช้น้อยลงมากเพราะหรือแทบไม่ใช้ก็แล้ว

 

รูปภาพจาก:pantip.com,.vcharkarn.com