สมอดีงู

สมอดีงู

ชื่อพื้นเมืองอื่น  สมอดีงู (ภาคกลาง) สมอพิเภก (ภูเก็ต) สมอหมึก (พัทลุง) สมอเหลี่ยม (ชุมพร)
ชื่อวิทยาศาสตร์   Terminalia citrina (Gaertn) Roxb. ex Fleming.

ชื่อวงศ์    COMBRETACEAE
ชื่อสามัญ  Samo di ngu.

ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ 
ไม้ต้น ขนาดใหญ่ สูงประมาณ 20-30 เมตร ผลัดใบเรือนยอดแผ่กว้าง ที่โคนต้นมักมีพูพอนขนาดเล็ก เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลแกมเทา กิ่งอ่อนมีรูหายใจ มีขนนุ่มสีแดงเรื่อ
ใบ
 เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันหรือกึ่งตรงข้ามกัน ลักษณะใบรูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบกลมหรือมน เนื้อใบค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง ลักษณะเกลี้ยง มีเส้นสแขนงใบ 9-12 คู่ ก้านใบยาว 1-2 ซม. มีต่อม 1 คู่ ใกล้กับโคนใบ ใบอ่อนสีน้ำตาลเมื่อโตเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม           
ดอก
 ออกดอกช่อตามง่ามใบหรือที่ปลายยอด ดอกย่อยไม่มีก้าน เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกัน ตอนล่างเป็นรูปท่อ ตอนบนแผ่ออกเป็นรูปถ้วยตื้นๆ ปลายแยกเป็นกลีบรูปสามเหลี่ยม ด้านนอกเกลี้ยง ด้านในมีขน
ผล
 ลักษณะผลรูปรีหรือค่อนข้างกลม เกลี้ยง กว้าง 1-2 ซม. ยาว 2-3 ซม. มีสัน 4 สัน เห็นลางๆตอนยังสด พอแห้งสันจะเห็นชัด                                                                       
เมล็ด ลักษณะรูปรี ผิวขรุขระกว้าง 0.5 ซม. ยาวประมาณ 1.7 ซม. มีสัน 5 สัน

นิเวศวิทยา                                     
มีขึ้นกระจายตมป่าราบ ส่วนมากพบตามชายฝั่งทะเลในประเทศไทย พบมากทางภาคใต้ ออกดอกเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม และเป็นผลเดือนกันยายน – พฤศจิกายน

การปลูกและขยายพันธุ์                                     
เจริญเติบโตในดินทั่วๆไป ขยายพันธ์ุด้วยการเพาะเมล็ดหรือปักชำกิ่ง

ส่วนที่ใช้ รส และสรรพคคุณ       
ผล  รสฝาดขม แก้โลหิตเป็นพิษ แก้ไข้ ขับลม เป็นยาระบายซึ่งแรงกว่าสมอไทย ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับช่องท้อง รักษาโรคท้องร่วงอย่างร่วง ถ่ายอุจจระธาตุ

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้      
1. แก้ท้องเสีย ท้องร่วงอย่างรุนแรง โดยใช้ผลดิบ 5-10 ผล ทุบพอแตก ต้มน้ำสะอาด 500 ซีซี ประมาณ 10 นา่ที แล้วกรองเอาน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้ว

ข้อควรทราบ

  • ผลดิบ รสฝาดมีสารแทนนิน (tannin) ใช้รักษาอาการท้องเสียเรื้อรังได้

รูปภาพจาก:samunpri.com,qsbg.org,สมุนไพร