งูเห่า

งูเห่า

งูเห่าเป็นงูพิษขนาดปานกลางถึงขนาดใหญ่

มีชื่อวิทยาศาสตร์ Naja naja kaouthia Lesson
มีชื่อสามัญว่า Thai cobra หรือ common cobra หรือ Siamwse cobra
จัดอยู่ในวงศ์ Elapidae งูเห่าหม้อ หรือ งูเห่าไทยก็เรียก
งูเห่าไทยที่โตเต็มที่มีความยาวราว ๑๓๐ เซนติเมตร วัดขนาดผ่านศูนย์กลางของลำตัวราว ๕ เซนติเมตร มีลวดลายสีสันแตกต่างออกไปในแต่ละตัว สีที่พบมากคือสีเทนดำ  นอกนั้นอาจมีสีน้ำตาลเข้ม เขียวหม่น หรืออมเขียว มักมีสีเดียวกันตลอดทั้งลำตัว ลวดลายบนตัวมีความหลากหลายมาก โดยเฉพาะลวดลายที่คอหรือ “ดอกจัน”งูเห่าไทยที่พบบ่อยมีดอกจันเป็นวงกลมวงเดียว จึงมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า monocellate cobra  บางชนิดมีดอกจันวงกลมตัดกัน ๒ วงคล้ายแว่นตา เรียกงูเห่าแว่น  บางชนิดมีดอกจันรูปดอกส้านหรือลายตาอ้อย เรียกงูเห่าดอกส้าน  บางชนิดมีลายดอกจันเป็นรูปอานม้า ก็เรียกงูเห่าอานม้า งูเห่าพ้นพิษ งูเห่าอีกกลุ่มหนึ่ง เรียกงูเห่าพ้นพิษ (spitting  cobra) ที่พบในประเทศไทยมี ๓ ชนิด  ได้แก่

๑.งูเห่าด่างพ่นพิษ (black and white spitting cobra)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Naja naja siamensis Nutphand
ชนิดย่อยนี้มีลักษณะคล้ายงูเห่าไทย  แต่ขนาดเล็กกว่า  ลำตัวยาวราว ๘๐  เซนติเมตร  ว่องไว  ปราดเปรี่ยว  และดุกว่างูเห่าไทย  พ่นพิษได้ไกลราว ๒ เมตร  ลำตัวมีสีไม่แน่นอน  สีด่างถึงขาว  ดอกจันรูปตัวยู (U)  ในภาษาอังกฤษ  บางที่เรียก  งูเห่าขี้เรื้อน  พบมากในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย  เช่นที่จังหวัดกาญจนบุรี  อ่างทอง  สุพรรณบุรี  และตาก  นอกจากนั้นยังอาจพบทางภาคตะวันออกด้วย  เช่น  จันทบุรี  ชลบุรี  งูที่พบบริเวณนี้มักไม่มีลายด่างขาว

๒.งูเห่าทองพ่นพิษ (going  spitting  cobra)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Naja naja sumatranus Var
งูชนิดย่อยนี้มีลำตัวยาวราว  ๙๐  เซนติเมตร  มีสีเหลืองปลอดทั้งตัว  บางตัวอาจมีสีเหลืองอมเขียว  ไม่มีลายสีอื่นๆ  ไม่มีดอกจันบนหลังคอและท้องสีขาว  ภาคใต้เรียกได้ว่า งูเห่าปลวก  งูชนิดนี้มีน้อย  พบเฉพาะทางภาคใต้ของประเทศไทย  เช่นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  สุราษฎร์ธานี  พัทลุง  และสตูล

๓.งูเห่าอีสานพ่นพิษ (isan  spitting  cobra)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Naja naja isanensis (Nutphand)
งูชนิดย่อยนี้ลำตัวเล็กกว่าชนิดย่อยอื่นๆ  ยาวราว ๖๐-๗๐ เซนติเมตร  ดุ  ว่องไว  ปราดเปรี่ยว  พ่นพิษเก่งมาก  มีสีเขียวอมเทา  เขียวอมน้ำตาล  หรือเขียวหม่นทั้งตัว  ไม่มีลายชัดเจน  มักไม่มีดอกจัน  แต่บางตัวอาจมีดอกจันรูปตัวยู(U) ในภาษาอังกฤษชัดเจนกว่างูเห่าด่างพ่นพิษ  พบมากทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  บางถิ่นเรียก งูเห่าเป่าตา
งูเห่าอีกชนิดหนึ่ง  พบมากที่จังหวัดสุพรรณบุรี  ชนิดนี้ลำตัวมีสีนวลและไม่มีดอกจัน เรียกงูเห่าสีนวล
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Naja  kaouthia  suphandensis (Nutphand)

 

ประโยชน์ทางยา

แพทย์แผนไทยรู้จักใช้คราบงูเห่า กระดูกงูเห่า ดีงูเห่า และน้ำมันงูเห่า นอกจากนั้นแพทย์ตามชนบทยังใช้งูเห่าทั้งตัวย่างไฟจนแห้งกรอบ  ดองเหล้ากินแก้ปวดเมื่อย  แก้ปวดหลัง  และแก้ผอมแห้งแรงน้อยในสตรีหลังคลอดบุตร  และใช้หัวงูเห่าสุมไฟให้เป็นถ่าน ปรุงเป็นยาแก้ชาชักในเด็ก  ลดความอ้วน  ว่ามีรสเย็นและเมา
๑.คราบงูเห่า  เป็นคราบที่งูเห่าลอกทิ้งไว้ ในพระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ให้ยาขนานหนึ่งที่เข้า “คราบงูเห่า” เป็นเครื่องยาด้วย  ดังนี้ ภาคหนึ่งยาทาตัวกุมาร กันสรรพโรคทั้งปวง  แลจะเป็นไข้อภิฆาฎก็ดี  โอปักกะมิกาพาธก็ดี ท่าน ให้เอาใบมะขวิด คราบงูเห่า หอมแดง สาบแร้งสาบกา ขนเม่น ไพลดำ ไพลเหลือง บดทำแท่งไว้ ละลายน้ำนมโค  ทาตัวกุมาร  ชำระมลทินโทษทั้งปวงดีนัก
๒.กระดูกงูเห่า  มีรสเมา  ร้อน  แก้พิษเลือดลม  แก้จุกเสียด  แก้ษนัย  แก้ปวดเมื่อย  แก้ชางตานขโมย  และปรุงเป็นยาแก้แผลเนื้อร้ายต่างๆ  ในพระคัมภีร์จินดาร์ให้ยาอีกขนานหนึ่งเข้า “กระดูกงูเห่า”  เป็นเครื่องยาด้วย  ดังนี้ ยาทาท้องแก้ท้องขึ้น   ขนานนี้ท่านให้เอา ใบหนาดใบคนทีสอใบประคำไก่ใบผักเค็ด ๑ ใบผักเสี้ยนผี ๑ เมล็ดในมะนาวเมล็ดในสะบ้ามอญมดยอบกำยานผีตรีกฎุกสารส้มดินประสิวขาวน้ำประสานทองกระชายกระทือไพลหอมกระเทียมขมิ้นอ้อยกระดูกงูเหลือม ๑ กระดูกงูเห่า  ๑ กระดูกห่านกระดูกเลียงผา ๑ มหาหิงคุ์ ๑ ยาดำรงทอง ๑ รวมยา ๒๘ สิ่งนี้  ทำเปนจูณ  บดทำแท่ง  ละลายน้ำมะกรูดทาท้อง  แก้ท้องรุ้งพุงมาร  แก้มารกระไษยลม  แก้ไส้พองเอาเสมอภาค  ท้องใหญ่  ท้องขึ้นท้องเขียว  อุจจาระปัสสาวะมิออก  ลมทักขิณคุณ  ลมประวาตคุณ  หายสิ้น

๓.ดีงูเห่า มีรสขม  ร้อน  ผสมยาหยอดตาแก้ตาฝ้า  ตาฟาง  ตาแฉะ  ตาต้อ  และบดเป็นกระสายยาช่วยให้ฤทธิ์ยาแล่นเร็ว  ในพระคัมภีร์ปฐมจินดาร์  ให้ยาขนานหนึ่งเข้า “ดีงูเห่า”  เป็นเครื่องยาด้วย  ดังนี้ ยาชื่ออินทรบรรจบคู่กัน  ขนานนี้ท่านให้เอาชะมดพิมเสนจันทน์ทั้งสอง กฤษณากระลำพักขอนดอกว่านกลีบแรดว่านร่อนทองผลมะขามป้อมยาดำมหาหิงคุ์ ๑ กระเทียม ๑ ดีงูเหลือม ๑ เอาสิ่งละ ๑ สลึง  เทียนดำเทียนขาวเทียนแดงเทียนเยาวภานีเทียนสัตตบุษย์ผลจันทน์ดอกจันทน์กานพลูกระวาน ๑ เอาสิ่งละ ๒ สลึง รวมยา ๒๓ สิ่งนี้  ทำเปนจุณ  แล้วจึงเอา ดีงูเห่าดีจระเข้ดีตะพาบน้ำดีปลาช่อนดีปลาไหล ๑ เอาสิ่งละ ๑ สลึง  แช่เอาน้ำเปนกระสาย  บดปั้นแท่งไว้  ละลายน้ำดอกไม้กิน  แก้อับจน  ถ้ามิฟัง  ละลายสุรากินแก้สรรพตาลทรางทั้งปวง  แลแก้ชักเท้ากำมือกำ  หายดีนัก
๔.น้ำมันงูเห่า  เตรียมได้โดยการเอาเปลวมันในตัวงูเห่าใส่ขวด ตากแดดจัดๆ  จนเปลวมันละลาย  ใส่เกลือไว้ก้นขวดเล็กน้อยเพื่อกันเหม็นเน่า  ในตำราพระโอสถ  พระนารายณ์มียาขี้ผึ้งขนานหนึ่งว่า “น้ำมันงูเห่า” เป็นเครื่องยาด้วย  ดังนี้ สีผึ้งบี้พระเส้น  ให้เอาชะมดทั้ง ๒ ไพล พิมเสน โกฏเชียง  กรุงเขมา  ดีงูเหลือม  จันทน์ทั้ง ๒ กฤษณา  กระลำพัก สิ่งละเฟื้อง  โกฏสอ โกฏเขมา โกฏจุลาลำภา  โกฏกัตรา  โกฏสิงคี  โกฏหัวบัว  มัชะกิยวาณี  กระวาน  กานพลู  ลูกจันทน์  ดอกจันทน์  เทียนดำ  เทียนขาว พริกหอม พริกหาง พริกล่อน  ดีปลี ลูกกราย  ฝิ่น  สีผึ้ง สิ่งละสลึง  กระเทียม  หอมแดง  ขมิ้นอ้อย  ๒ สลึง  ทำเป็นจุณ  ละลายน้ำมะนาว ๑๐ ใบ  น้ำมันงาทนาน ๑  น้ำมันหมูหลิ่ง น้ำมันเสือ น้ำมันจระเข้  น้ำมันงูเห่า น้ำมันงูเหลือม  พอควร  หุงให้คงแต่น้ำมัน  จึงเอาชันรำโรง ชันย้อย ชันระนัง ใส่ลงพอควร  กวนไปดีแล้วจึงเอาทาแพรทาผ้าถวาย ทรงปิดไว้ ที่พระเส้นอันแข็งนั้นหย่อน

 

รูปภาพจาก:cobras.org,th.wikipedia.org