สมุนไพรยางสลัดได

สมุนไพรยางสลัดได

ยางสลัดไดเป็นยางของต้นสลัดได
อันมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Euphorbia antiquorum L.
ในวงศ์ Euphorbiaceae
ลางถิ่นเรียก สลัดไดป่า (ภาคกลาง) เคียะผา (พายัพ) เคียะเลี่ยม หงอนงู (แม่ฮ่องสอน)

สลัดไดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้น สูงให้ถึง ๘ เมตร ลำต้นและกิ่งอวบน้ำ มี ๓-๖ เหลี่ยม ตามแนวสันหรือเหลี่ยมมีหนามแหลม มียางสีขุ่นขาวเหมือนน้ำนม ใบเป็นใบเดี่ยว มีจำนวนน้อย ติดตามแนวสัน รูปไข่กลับ ขนาดกว้าง ๑-๒ เซนติเมตร ยาว ๒-๕ เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบมนกลมหรือเว้าเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ มีใบประดับออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน และมีใบประดับรูปครึ่งวงกลมขนาดเล็กติดอยู่รอบๆดอก ช่อดอกและชอบแต่ละช่อดอกเพศผู้หลายดอก แต่จะมีดอกเพศเมียเพียงดอกเดียว เกสรเพศผู้มี ๕-๓๐ อัน รังไข่มี ๓ ช่อง ท่อรังไข่มี ๓ แฉก ผลรูปค่อนข้างกลม มีขนาดวัดผ่านศูนย์กลางราว ๑.๕ เซนติเมตร ตำราสกุลยาวโบราณว่า ยางสลัดไดมีรสร้อน เบื่อเมา ใช้ทาฆ่าพยาธิโรคผิวหนังต่างๆ ทากัดหูด และจะใช้ปรุงเป็นยาต้องประสะ (ฆ่าฤทธิ์) เสียก่อนจึงใช้ได้ มักปรุงเป็นยาถ่ายอุจจาระ ถ่ายพิษเสมหะและโลหิต ถ่ายหัวริดสีดวงลําไส้ และริดสีดวงทวารหนัก ขับโลหิตอันเน่าร้าย เป็นยาถ่ายอย่างแรง ยางนี้มีพิษ จึงใช้ด้วยความระมัดระวัง ถ้าถูกผิวธาตุถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการปวดแสบร้อน อักเสบ บวมแดง หาเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ แก่ต้นสลัดไดมีราลง เรียกกะลำพัก (สลัดได) มีรสขม มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ บำรุงหัวใจ

การประสะยางสลัดได การประสะยางสลัดไดทำได้โดยการเอายางสลัดไดใส่ลงในถ้วย เทน้ำต้มเดือดใส่ให้ท่วม กวนให้ทั่วกันจนเย็น เทน้ำทิ้งไป เช่นนี้ทำเช่นนี้ราว ๗ ครั้ง จนตัวยาสุขดีแล้วจึงนำไปใช้ปรุงยาได้
การประสะมีความหมายได้ ๕ อย่างคือ
๑. หมายถึงการทำความสะอาดเครื่องยา หรือล้างเครื่องยา
๒. หมายถึง การทำให้ความเป็นพิษของเครื่องยาลดลง เช่น การประสระยางสลัดไดเพื่อให้พิษลดลง ใช้เป็นยาได้ปลอดภัยมากขึ้น
๓. หมายถึง เท่าเครื่องยาทั้งหลาย เช่น ยาประสะกะเพรา มีตัวยาอื่นอีก ๖ อย่าง นอกจากกระเพรา ทั้งหกอย่างนี้มีปริมาณน้ำหนักรวมเป็นเท่าก็ต้องใช้กระเพราให้เสมอน้ำหนักนั้น
๔. หมายถึง ทำให้มีมากขึ้น ใช้เป็นชื่อยา เช่นยาประสะน้ำนม หมายความว่า เป็นยาที่จะทำให้น้ำนมของมารดาที่กินยานี้มีมากขึ้น
๕. หมายถึง การทำให้เป็นกลาง ซึ่งในความหมายนี้ไม่มีใช้ในทางยา แต่มักใช้ในงานจิตรกรรม เช่น ในการเขียนสีผนังที่ฉาบปูนขาว (ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างไม่สามารถเขียนสีให้เป็นสีที่ต้องการได้)โบราณใช้น้ำต้มใบขี้เหล็กสะอาดผนังที่ฉาบปูนขาว หลายๆครั้ง แล้วทดสอบว่าอย่างเป็นด่างอยู่หรือไม่ โดยการใช้ขมิ้นไปแต้มดู ถ้าขมิ้นไม่เปลี่ยนเป็นสีแดงถือว่าใช้ได้ คือเป็นกลางแล้ว จึงเขียนสีตามที่ต้องการ

 

รูปภาพจาก:wordpress.com,blogger.in.th,สมุนไพร