กำยาน

กำยาน

กำยานเป็นบัลซัม ที่ได้จากพืชในสกุล Styrax วงศ์ Styracaceae หลายชนิด คำ กำยาน มาจากภาษามลายูว่า Kameyan อ่านว่า กำ-มิ-ยาน กำยานที่มีขายในท้องตลาดมี ๒ ชนิด ได้แก่

๑.กำยานสุมาตรา ได้จากพืช ๒ ชนิด คือ Styrax benzion Dryan . และ Styrax paralleloneurus Perkins ชนิดแรกเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่สูง ๒๐-๓๐ เมตร อาจสูงได้ถึง ๔๐ เมตร กิ่งอ่อนและช่อดอกเป็นเหลี่ยมมีขนเป็นประจุกสั้นๆ ไม่หนาแน่นปกคลุมอยู่ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปไข่ รูปรี ถึงรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบทู่ถึงเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบด้านบนมีสีมีขนสีขาวสั้นๆ เมื่อออกใหม่ๆ แต่จะร่วงไปเมื่อใบแก่ ด้านล่างสีอ่อนกว่า มีขนเป็นกระจุกสั้นๆ ไม่หนาแน่น ช่อดอกออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีทั้งช่อดอกเดี่ยวและช่อแยกแขนง ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ สีขาว กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นถ้วยเล็กๆ ปลายแยกเป็น ๕ แฉก กลีบดอกมี ๕ กลีบ ร่วงง่าย กลีบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก โคนติดกัน เกสรเพศให้ผู้มี๑๐อัน สีแสดอมเหลือง เกสรเพศเมียมี ๑ อัน ผลกลมค่อนข้างแป้น ขนาดวัดผ่านศูนย์กลาง ๒-๔ เซนติเมตร ส่วนพืชอีกชนิดหนึ่งมีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกัน

พืชทั้งสองชนิดนี้ให้กำยานได้เมื่อมีอายุราว ๖ ปี ในขณะที่ลำต้นมีขนาดวัดผ่านศูนย์กลางราว ๑๗-๒๐ เซนติเมตร เปลือกต้นจะถูกกรีดตามยาวตั้งแต่ช่วงใกล้กับกิ่งล่างที่สุดลงมา ชันน้ำมันจะซึมออกมาตามรอยแผลที่กรีดไว้ และจะแข็งตัวเมื่อถูกอากาศ ชันน้ำมันที่กรีดได้ครั้งแรกจะขาวและบริสุทธิ์ เป็นกำยานที่มีกลิ่นหอม ตามปรกติในการกรีดแต่ละครั้งจะได้กำยานไม่เกิน

๑ กิโลกรัมต่อต้น กำยานสุมาตราต่างจากกำยานญวนหรือกำยานหลวงพระบาง ตรงที่มีสีเทามากกว่า ไม่ค่อยพบส่วนที่เป็นก้อนกลมรีๆ มักมีเศษไม้และของอื่นปนอยู่ ความหอมก็สู้กำยานญวนหรือหลวงพระบางไม่ได้ กำยานชนิดนี้ส่งออกขายจากเมืองปาเล็มบังในเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีองค์ประกอบหลักทางเคมีเป็นกรดอบเชยราวร้อยละ ๑๑ และกรดกำยานราวร้อยละ ๖ รวมทั้งเอสเตอร์ของกรดทั้ง ๒

๒. กํายานญวน (ที่เรื่องเช่นนี้เพราะพืชที่ให้กำยาชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในบริเวณอ่าวตังเกี๋ยของเวียดนาม) หรือ กำยานหลวงพระบาง ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นกำยานที่ผลิตมากนะแขวงหลวงพระบาง ของลาวในปัจจุบัน กำยานชนิดนี้เป็นกำยานชนิดดีที่สุดฝรั่งเรียก siam benzion เพราะกำยานชนิดนี้ส่งออกขายจากเมืองหลวงของราชอาณาจักรสยาม กัมยานชนิดนี้ได้จากต้นกำยาน อันมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Styraxtonkinensis (Pierre) Craib ex benzion ซึ่งคล้ายกับพืชชนิดที่ให้กำเนิดสุมาตรา

ในทางการค้า
 นำน้ำยาชนิดนี้แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นเม็ดกลมรี เม็ดไม่ติดรวมกัน เรียกว่า tear siam benzoin ส่วนอีกชนิดหนึ่งเป็นเม็ดๆติดกัน เป็นก้อน มีลักษณะเป็นก้อนเหลี่ยมตามลักษณะของหีบไม้ที่บรรจุ เรียกว่า block siam benzoin เม็ดกลมรีของกำยานหลวงพระบางนี้ มีขนาดเล็ก โดยมากมีความยาวน้อยกว่า๓ เซนติเมตร ทึบแสง เปราะ ชั้นในมีสีขาวขุ่นเหมือนน้ำนมขนาดเล็ก
แต่ว่าเก็บไว้นานๆจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีแดงปนน้ำตาล ใสหรือทึบแสง ชนิดที่ดีที่สุดคือเม็ดกลมรี เกาะติดการหลวมๆไม่แน่น ชนิดธรรมดาเป็นเม็ดกลมรี ติดกันแน่น โดยมียางสีอำพัน ไม่โปร่งแสง ยึดติดกันระหว่างเม็ดกำยานญวน หรือกำยานหลวงพระบางนี้ มีองค์ประกอบหลักทางเคมีเป็นโคนิเฟอริลเบนโซเอต ร้อยละ ๖๐-๗๐ และกรดกำยานอิสระราวร้อยละ ๑๐

กำยานใช้ปรุงน้ำอบไทย 
ด้วยการเผากำยานบนก้อนถ่านที่ไฟลุกแดงแล้วอบ เช่น อบน้ำดอกไม้ น้ำที่อบกับยาแล้ว โบราณเอามาปรุงเป็นเครื่องหอมอื่นๆ ทำเป็นน้ำอบไทย กำยานยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของเทียนอบ ธูปหอม และกระแจะ เราใช้กำยานเผารมพื่อให้มีกลิ่นหอม ไล่ริ้นไรมดแมลง และฆ่าเชื้อโรคในห้อง กำยานที่นำมาใช้ประโยชน์ทางยาส่วนใหญ่เป็นกำยานสุมาตรา โดยใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ และเป็นยาฝาดสมาน ส่วนกำยานญวนหรือกำยานหลวงพระบาง ใช้เป็นสารให้คงกลิ่นในน้ำหอม สบู่ ครีม สารซักฟอก เป็นต้น ตั้งแต่ฝรั่งเศสเข้ายึดครองอินโดจีน ก็เป็นประเทศผูกขาดกำยานญวน หรือกำยานหลวงพระบาง เกือบทั้งหมดของกำยานที่ผลิตได้ ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมของฝรั่งเศส เนื่องจากกำยานสามารถต้านการสลายตัวของไขมันต่างๆ จึงใช้กำยานผสมกับไขมันที่จะใช้เป็นยาพื้นสำหรับเตรียมยาขี้ผึ้งต่างๆ นอกจากนี้มักใช้กำยานเป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณ เพื่อวัตถุประสงค์ในการแต่งกลิ่นและกันบูด

ตำราสรรพคุณยาโบราณว่า
กำยานมีกลิ่นหอม แก้ลม บำรุงเส้น ขับเบา สมานแผล และห้ามกลิ่นทั้งปวง

 

รูปภาพจาก:สาระเร็ว.com,weloveshopping.com,สมุนไพร