น้ำชะเอม

น้ำชะเอม

น้ำชะเอมเป็นน้ำที่ได้จากการฝนชะเอมกับน้ำสุกหรือน้ำฝน หรืออาจได้จากการต้มและเคี่ยว ชะเอมที่หั่นเฉียงๆเป็นชิ้นบางๆ กับน้ำสะอาด ชะเอมที่ใช้ในยาไทยมี 3 ชนิดคือ ชะเอมไท ชะเอมจีน ชะเอมเทศ แต่ที่ใช้กันมากที่สุดคือชะเอมจีน เพราะหาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องยาทั่วไป ส่วนชะเอมเทศนั้นหาได้ค่อนข้างยากิ ส่วนชะเอมไทยก็ถือว่าใช้ได้
๑.ชะเอมไทยเป็นเถาแห้งของพืชที่มี
ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Albuzzia myriophylla Benth.
ในวงศ์ Leguminosae
บางถิ่นเรียก ชะเอมป่า (ภาคกลาง) ตาลอ้อย (ตราด) ส้มป่อยหวาน (พายัพ) อ้อยช้าง (สงขลา นราธิวาส)ก็มีชะเอมไทยเป็นไม้เถาขนาดใหญ่มีหนามตามลำต้นและกิ่งก้านใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นยาว ๑๐-๑๕  เซนติเมตร โคนใบส่งออก ใบย่อยรูปขอบขนาน ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีขาว มีกลิ่นหอม ก้านช่อดอกยาว ดอกรวมเป็นกระจุกที่ปลายก้าน กนีบดอกมีขนาดเล็ก เชื่อมกันเป็นหลอด เกสรเพศผู้ยาว สีขาว มีจำนวนมาก ผลเป็นฝัก สีเหลืองถึงน้ำตาล ตรงที่มีเมล็ดจะมีรอยนูนเห็นชัดเจน ชนิดนี้โบราญว่าเนื้อไม้มีรสหวาน แก้โรคลำคอ แก้ลม แก้เลือดออกตามไรฟัน บำรุงธาตุและกำลัง บำรุงกล้ามเนื้อให้เจริญ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียวมีไม้เถาอีกชนิดหนึ่ง เขามีรสหวานพบการใช้ป่าเปิดทั่วไปชาวบ้านบางถิ่นเรียกชะเอมไทย ก็มี อ้อยสามสวนก็เรียบ พืชชนิดนี้มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Myriopteron extensum Schum. ในวงศ์ Periplocaceae เป็นไม้เถาขนาดกลางมีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่คู่ รูปรีหรือค่อนข้างกลมกว้าง ๔ ถึง ๖.๕ เซนติเมตร ยาว ๘-๙ เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อหลวงหลวงตามซอกใบช่อดอกยาว ๗-๑๘ cm ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ขนส่วนมากออกเป็นคู่ผลรูปกระสวยเป็นผู้ทรงกลมเมื่อแก่จะแห้งและแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว กว้างราว ๒ เซนติเมตรยาว ๗.๕ เซนติเมตรเมล็ดรูปรียาว ๘๐ mm ชาวบ้านจะตัดแถวของพืชชนิดนี้เป็นท่อนท่อนให้เด็กๆแล้วทำให้ชุ่มคอและแก้เจ็บคอได้

๒. ชะเอมจีน (เรียกเช่นนี้เพราะผลิตมากและส่งออกขายจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน) หรือชะเอมขาไก่ (เรียกเช่นนี้เพราะมีลักษณะเหมือนขาไก่) ฝรั่งเรียก Manchurian Licorice ได้จากรากของพืชที่มี
ชื่อพฤกษศาสตร์ว่าGlycyrrhiza uralensis Fischer หรือชนิดที่มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Glycyrrhiza inflata Bat.
ในวงศ์ Leguminosae
พืชที่ให้ชะเอมจีนชนิด Glycyrrhiza uralensis Fischer เป็นพืชที่มีอายุหลายปี สูงราว ๑ เมตร มีรากขนาดใหญ่จำนวนมาก ลำต้นมีขนสั้นๆ ปลายมีต่อมเหนียว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกสลับกัน มีใบย่อย ๙-๑๗ ใบ ก้านใบย่อยสั้นมาก แผ่นใบรูปวงรี หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนานกว้าง ๑.๕ ถึง ๓ เซนติเมตรยาว ๒ ถึง ๕.๕ เซนติเมตรปลายใบแหลมฐานใบกลมมนมีขนสั้นๆทั้ง ๒ ด้านออกดอกเป็นช่อตามซอกใบยาว ๕ ถึง ๑๒ เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมากติดกันหนาแน่น ดอกย่อยรูปถั่ว มีกลีบเลี้ยง ๕ กลีบกลีบดอก ๕ กลีบสีม่วงอ่อนถึงขาว ผลเป็นฝักกลมๆคล้ายเคียว หรือบิดงอ มีขนปกคลุม ภายในมีเมล็ด ๒-๘ เมล็ดรูปกลมแบน หรือรูปไต สีดำเป็นมัน

๓.ชะเอมเทศ หรือ Licorice เป็นรากแห้งของพืชที่มี
ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Glycyrrhiza glabra L.
หลายพันธุ์ ที่สำคัญมี Glycyrrhiza glabra L. Var. Typica Regel et Herder พันธุ์นี้เป็นพืชที่มีอายุหลายปีสูง ๑-๒ เมตรมีรากใหญ่แตกแขนงหลายอันใบเป็นใบประกอบแบบขนนกออกสลับกันมีใบย่อย ๙-๑๗ ใบ ใบก้านใบย่อยสั้นมากแผ่นใบรูปไข่สีเขียวอมเหลืองดอกออกเป็นช่อก้านดอกย่อยสั้นมากกลีบดอกสีม่วงอ่อนประกายผิวนอกค่อนข้างเรียบนุ่มพันนี้ให้ชะเอมเทศที่ฝรั่งเรียกว่า spanish Licorice หรือ ชะเอม สเปน ซึ่งมีรสหวานกว่าพันธุ์อื่นๆ กับGlycyrrhiza glabra L. Var. Glandulifera waldstein et kitaibel พันธุ์หลังนี้ เป็นพืชที่มีอายุหลายปีสูง ๑-๒ เมตร ทั้งต้นมีผลมากมีราบขนาดใหญ่ไฟเลี้ยวลงคล้ายกระสวยนอกนั้นรักษาอื่นๆสายกับต้นชะเอมสเปนแต่ปากมีหนามเล็กๆพันหลังนี้เมื่อเก็บรากต้องลอกเปลือกออกก่อนเนื่องจากเปลือกรากมีรสขมมากให้ชะเอมเทศที่ฝรั่งเรียกว่า Russian Licorice หรือ ชะเอมรัสเซียทั้งชะเอมจีนและชะเอมเทศมีสารองค์ประกอบหลักคล้ายคลึงกันมาก จะแตกต่างก็ที่ปริมาณและชนิดของสารองค์ประกอบย่อยที่มีปริมาณน้อย สารที่พบมากเป็นสารกลุ่มซาโพนิน ชนิดไตรเตอร์พีนอยด์ (triterpenoid saponin ) ซึ่ง มีอยู่ราวร้อยละ ๒-๑๕ โดยมีสารกลีไซร์ไรซิน (glycyrrhizin) รวมเพลงรักซึ้งมากอยู่ในรูปกระเทยแอมโมเนียมและแคลเซียมของกรดดีไซน์ไรซีนิก (ammonium and calcium salt of glycyrrhizinic acid) กับสาร ๒๔-ไฮดรอกซีกลีไซร์ไรซิน (24-hydroxy-glacyrrhizin) ที่ มีรสหวานกว่าน้ำตาลทราย ๕๐ และ ๑๐๐ เท่า ตามลำดับในทางเภสัชกรรมจึงใช้ชะเอมหรือสารสกัดชะเอม (licorice extract) เป็นสารปรุงแต่งรส และใช้เป็นยาทำให้ชุ่มคอ แก้ไอ ขับเสมหะ และเป็นยาระบายอ่อนๆ ตำราสรรพคุณยาโบราณของไทยว่าชะเอมทั้งชะเอมจีนและชะเอมเทศมีรสหวานทำให้ชุ่มคอ มีสรรพคุณแก้ไอขับเสมหะแก้โลหิตอันเน่าในอุทรและเจริญซึ่งหทัยวาต ทำให้สดชื่น แก้กำเดาให้เป็นปกติ น้ำชะเอมจึงนอกจากจะช่วยละลายยาให้กินได้ง่ายแล้ว ยังช่วยให้ยานั้นมีรสหวานน่ากินยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยแก้ไอ แก้คอแห้ง และขับเสมหะได้ด้วย ยาขนานที่ ๒๗ ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ อันเป็นยาแก้ปถวีธาตุพิการนั้น ตำราฯว่าให้ใช้น้ำจันทน์ขาว หรือน้ำชะเอม เป็นน้ำกระสายยาคำ “ชเอม” หรือที่ตำราพระโอสถพระนารายณ์หรือตำรายาโบราณอื่น เขียนเป็นแชมป์นั้น นั้น มาจากคำ “เถอเอม” ในภาษาเขมร ซึ่งแปลว่าต้นไม่ที่มีรสหวาน

 

รูปภาพจาก:thaiza.com