น้ำมันงา

น้ำมันงา 

น้ำมันงา (sesame oil หรือ teel oil หรือ benne oil หรือ gingelly oil) ได้จากการเอางามาตำ แล้วขึ้นตั้งไฟ เคี่ยวเอาแต่น้ำมัน ทิ้งให้เย็นแล้วกรอง น้ำมันงาที่ได้โดยใช้ความร้อนช่วยนี้
บางถิ่นเรียก น้ำมันงาสุก งาที่ได้จากพืช
อันนี้ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Sesamum orientale L.
ชื่อพ้อง  Sesamum indicum L.
ในวงศ์ Pedaliaceae

พืชนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ต่อมานำไปปลูกในประเทศที่มีอากาศอบอุ่น งาเป็นพืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงราว ๑ เมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม มีร่องตามยาวและมีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ หรือรูปใบหอก เรียงตรงกันข้าม หรือสลับกัน ดอกเป็นดอกเดี่ยว เป็นหลอด กลีบดอกสีขาว หรือสีชมพู และมีสีม่วงแดงแซมบางๆ ดอกออกที่ซอกใบ ออกโดยรอบลำต้นตอนบน แต่จะบิดดอกไม้บานในแนวเดียวกันอยู่ด้านหนึ่งของลำต้นผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มี ๔ พู เมื่อแก่จะแตกออก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดขนาดเล็ก รูปไข่ แบน สีดํา (เรียกงาดำ) หรือสีนวล (เรียกงาหม่น) งามีน้ำมันระเหยเราอยู่ราวร้อยละ ๔๕-๕๕ มีโปรตีนอยู่ราวร้อยละ ๒๒ ใช้เป็นอาหารได้ แพทย์แผนโบราณนิยมใช้ น้ำมันงาผสมยาใส่บาดแผลต่างๆ แล้วมันงานี้มีรสฝาดร้อน มีองค์ประกอบหลักเป็นกลีเซอไรด์ของกรดไขมันหลายชนิด ที่สำคัญมีกรดโอเลอิก (ราวร้อยละ ๔๓) กรดไลโนเลอิก (ราวร้อยละ ๔๓) น้ำมันงาไม่เหม็นหืน เนื่องจากมีสารที่ชื่อเซสซามอล ซึ่งเป็นสารกันหืนอยู่ด้วย ในทางเภสัชกรรมใช้เป็นตัวทำละลายยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และใช้เป็นอาหารด้วย ชาวจีนถือว่างาเป็นอาหารบำรุง ทำให้ร่างกายแข็งแรงและอายุยืน จีนใช้น้ำมันงาจุดไฟเผาทำเขม่าไฟ เพื่อเอาเขม่าไฟนั้นไปทำหมึกจีน น้ำมันที่บีบได้จากงานโดยไม่ใช้ความร้อนนี้ โบราณเราเรียก น้ำมันงาเชย” ทำโดยการบรรจุงานไว้ในลังไม้ที่ใช้บีบน้ำมัน แล้วใช้ ลิ่มตอกดันแผ่นไม้ที่กลั้นเอาไว้อัดแน่นงานจนแน่น เพื่อบีบน้ำมันงาเพื่อผิวน้ำมันออกมา หญิงไทยโบราณใช้น้ำมันงาเชยทาผิวทาประทินผิวให้ผิวสวยเนียน ส่วนแพทย์โบราณใช้หุงผสมกับน้ำขันสมุนไพรต่างๆรวมกัน เคี่ยวจนเหลือแต่น้ำมัน สำหรับใช้ภายนอก เป็นยาทา ถู นวด มักใช้ผสมยาทาสำหรับกระดูกหัก ทานวดแก้เคล็ดยอก ปวดบวม หรือใช้ทาบำรุงรากผม

 

รูปภาพจาก:campus-star.com,prayod.com