สมุนไพรมะฝ่อ

สมุนไพรมะฝ่อ

มะฝ่อ Trewia nudiflora Linn.
บางถิ่นเรียกว่า
 มะฝ่อ (ทั่วไป) ม่อแน่ะ เส่โทคลึ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะปอบ (เหนือ) หม่าทิ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี).

ไม้ต้น -> ผลัดใบ ขนาดใหญ่ โคนต้นมีพอนแผ่ออกเป็นปีก ต้นเพศผู้ทรงสูงชะลูด ต้นเพศเมียไม่สูงเท่า แต่แผ่กิ่งก้านสาขามากกว่า ตามยอดอ่อน ด้านล่างของใบ และช่อดอกมีขน.
ใบ -> เดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน รูปไข่ค่อนข้างกว้าง รูปกลมแกมรูปหัวใจ หรือ สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 8-13 ซม. ยาว 10-22 ซม. โคนใบมนแหลม หรือ เว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ปลายแหลมเป็นหาง ยาวประมาณ 1 ซม. เส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้น เส้นแขนงใบข้างละ 3-5 เส้น ด้านบนเกลี้ยง แต่เฉพาะตามเส้นใบมีขน ด้านล่างมีขนปกคลุมทั่วไป ก้านใบยาว 2.5-8.5 ซม.
ดอก -> ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ไม่มีกลีบดอก. ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ช่อยาว 15-22 ซม. ดอกอยู่ห่าง ๆ กัน บานทยอยจากโคนช่อไปสู่ปลายช่อ กลีบรองกลีบดอก 3-4 กลีบ กลม หรือ รูปไข่ เวลาบานจะผายไปทางด้านหลัง เกสรผู้จำนวนมาก ตั้งอยู่บนฐานดอกนูน ๆ ก้านเกสรไม่ติดกัน. ดอกเพศเมีย ออกเดี่ยว ๆ หรือ เป็นช่อ ก้านดอกยาว กลีบรองกลีบดอก 3-5 กลีบ ร่วงง่าย รังไข่มี 2-4 ช่อง มีไข่อ่อนช่องละ 1 หน่วย ท่อรังไข่ยาว โคนเชื่อมติดกัน มีตุ่มอยู่ทั่ว ๆ ไป.
ผล -> กลม แข็ง รสหวาน กินได้ มีเมล็ดเดียว. เมล็ด รูปไข่ เปลือกแข็ง.


นิเวศน์วิทยา

ชอบขึ้นในป่าชุ่มชื้น หรือ ขึ้นตามริมลำน้ำ.


สรรพคุณ

ราก -> น้ำต้มรากกินเป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ใช้ทาถูนวดแก้ปวดตามข้อ
ต้น -> น้ำต้มเปลือกเป็นยาเย็น บำรุงร่างกาย แก้อาการบวมน้ำ ท่อน้ำดีอักเสบ และขับเสมหะ เนื้อไม้ ใช้ทำหีบ และลังใส่ของ ในอินเดียใช้ทำหีบบรรจุใบชาส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ และใช้ทำก้านไม้ขีด

 

รูปภาพจาก:samunpri.com,muangboranjournal.com,สมุนไพร