สมุนไพรมะพลับดง

สมุนไพรมะพลับดง

มะพลับดง Diospyros ehretioides Wall. Ex G. Don
บางถิ่นเรียกว่า มะพลับดง (กาญจนบุรี) ชิ้นกวาง เรื้อนกวาง ลิ้นกวาง (ปราจีนบุรี) ตับเต่าต้น ตับเต่าหลวง (ราชบุรี) มะโกป่า (แพร่) มะมัง (นครราชสีมา) มะไฟผี (เชียงราย) มาเมียง (เขมร-สุรินทร์) เฮื้อนกวาง (เหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ) แฮดกวาง (ตะวันออกเฉียงเหนือ).

ไม้ต้น -> ขนาดกลาง สูง 10-15 ม. ลำต้นตรง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา.
ใบ -> เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน มีทั้งรูปป้อม รูปไข่หรือ มน กว้าง 7-23 ซม. ยาว 10-28 ซม. โคนใบกลม เป็นเส้นตัด หรือ เว้าเข้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ หรือ เป็นคลื่น ปลายใบกลม หรือ มน เนื้อใบเกลี้ยง และหนา ใบอ่อนด้านบนอาจมีขนบ้าง เส้นแขนงใบมี 6-12 คู่ คดไปมา ตามเส้นใบด้านบนเป็นร่อง ด้านล่างนูน ด้านบนใบสีเขียว ด้านล่างสีเทาอ่อน ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม.
ดอก -> ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ ออกรวมกันเป็นช่อเล็ก ๆ ตามกิ่งเหนือง่ามใบ ช่อหนึ่ง ๆ มักมี 3 ดอก ก้านดอกยาวประมาณ 3 มม. กลีบรองกลีบดอกมี 4 กลีบ ยาว 2-3 มม. โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ด้านนอกมีขนนุ่ม ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก 4 กลีบ ยาว 3-5 มม. โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ด้านนอกมีขนนุ่ม ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก 4 กลีบ ยาว 3-5 มม. โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำ หรือ ป้อมๆ ด้านนอกมีขนประปราย ด้านในเกลี้ยง เกสรผู้มี 20-30 อัน เกลี้ยง รังไข่ฝ่อมีขนแข็ง ๆ แซมประปราย. ดอกเพศเมีย ออกตามกิ่งเล็ก ๆ และตามง่ามใบ เป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือ เป็นช่อสั้น ๆ ช่อละ 3-5 ดอก ก้านดอกยาวประมาณ 1 ซม. มีขนนุ่ม ส่วนด้านในเกลี้ยง กลีบดอก 4 กลีบ ลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ แต่ใหญ่กว่า รังไข่รูปป้อม มีขนเป็นเส้นไหม ภายในมี 6-(8) ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1 หน่วย ท่อรังไข่มีท่อเดียว มีขนเป็นเส้นไหม.
ผล -> รูปป้อม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. ยาว 1.5-2.5 ซม. ผลแก่แห้ง เปลือกหนา เปราะ ผลอ่อนมีขนนุ่ม กลีบจุกมี 4-(5) กลีบ ปลายกลีบพับกลับ ขอบกลีบ และพื้นกลีบเรียบ เส้นกลีบไม่ปรากฏชัด ก้านผลยาวประมาณ 1 ซม.


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นตามป่าเต็งรัง หรือ ป่าเบญจพรรณแล้งทั่ว ๆ ไป เหนือระดับน้ำทะเล 100-450 ม.


สรรพคุณ

ต้น -> น้ำต้มเนื้อไม้ และราก กินเป็นยาลดไข้ ดับพิษร้อน และบำรุงปอด

 สมุนไพรมะพลับดง

รูปภาพจาก:dnp.go.th,kasettambon.com