สมุนไพรกระเบากลัก

สมุนไพรกระเบากลัก

กระเบากลัก Hydnocarpus ilicifolia King
บางถิ่นเรียก กระเบากลัก (สระบุรี) กระเบาชาวา (เขมร-จันทบุรี) กระเบาพนม (เขมร-สุรินทร์) กระเบาลิง (ทั่วไป) กระเบียน ขี้มอด (จันทบุรี) กระเรียน (ชลบุรี) คมขวาน (ประจวบคีรีขันธ์) จ๊าเมี่ยง (สระบุรี แพร่) ดูกช้าง (กระบี่) บักกราย พะโลลูตุ้ม (มลายู-ปัตตานี) หัวค่าง (ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี)

ไม้ต้น -> ขนาดกลาง สูง 10-30 ม. กิ่งอ่อนมักมีขนสีน้ำตาลแดงกระจายห่าง ๆ กิ่งแก่เกลี้ยง ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีเทา
ใบ -> เดี่ยว ออกเวียนสลับกัน รูปไข่ ขอบขนาน หรือ รูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 4-7 ซม. ยาว 12-17 ซม. ตัวใบค่อย ๆ เรียวสอบไปยังปลายใบ โคนใบมนหรือเบี้ยว ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยห่าง ๆ ค่อนไปทางปลายใบ ปรากฏชัดในใบอ่อน เนื้อใบหนาเกลี้ยงเป็นมัน เส้นใบมี 6-8 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห เห็นชัดทั้งสองด้าน
ดอก -> ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ สีเขียวอ่อน เป็นดอกแยกเพศ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 4 กลีบ.  ดอกเพศผุ้ มีเกสรเพศผู้ 14-20 อัน สีขาว ก้านเกสรสั้นและมีขนประปราย อับเรณูรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ดอกเพศเมีย มีเกสรเพศผู้ที่ไม่สมบูรณ์ประมาณ 15 อัน รังรูปกลมรีหรือรูปไข่ มีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น
ผล -> กลม แข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 ซม. ผิวมีขนนุ่มสีดำ ภายในมีเมล็ดรูปไข่ 10-15 เมล็ด


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นตามป่าดิบแล้งหรือป่าเบญจพรรณทั่วไป ตามป่าชายหาด และบริเวณเขาหินปูน ความสูง 20-400 ม.


สรรพคุณ

เมล็ด -> ให้นำมันกระเบา เหมือน H. anthelminthica และมีสรรพคุณคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้น้ำมันจากเมล็ดยังใช้ในการทำสบู่

 

รูปภาพจาก:dnp.go.th,สมุนไพร-ไทย.com