สมุนไพรว่านหางช้าง

สมุนไพรว่านหางช้าง

ว่านหางช้าง Belamcanda chinensis (L.) DC.
ว่านหางช้าง
 (กรุงเทพฯ) ว่านมีดยับ (ภาคเหนือ)

พืชล้มลุก -> อายุหลายปี มีลำต้นใต้ดินและมีรากมาก ลำต้นที่อยู่เหนือดินตั้งตรงสูง 1-1.5 ม.
ใบ -> มักจะออกหนาแน่นอยู่ส่วนโคนของลำต้น เรียงสลับซ้ายขวาในระนาบเดียวกัน ใบที่อยู่ส่วนบนของลำต้นมักจะมีขนาดเล็ก และเรียงห่าง ๆ แผ่นใบรูปดาบ กว้าง 2-4.5 ซม. ยาว 20-60 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเป็นกาบ ขอบใบเรียบ
ดอก -> ออกเป็นช่อ แกนช่อแตกแขนง ดอกออกที่ปลายแขนง 6-12 ดอก ก้านดอกยาว 2-4 ซม. ตรง หรือ โค้งเล็กน้อย เมื่อดอกร่วงแล้ว ก้านดอกยังคงติดอยู่ กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย ปลายแยกเป็นกลีบรูปขอบขนาน 6 กลีบ ยาว 2.5-3.5 ซม. เรียงเป็น 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ กลีบชั้นในมีขนาดเล็กกว่ากลีบชั้นนอกเล็กน้อย เมื่อดอกบานกลีบดอกกางออก โคนกลีบสอบแคบจนเป็นก้าน ด้านนอกสีเหลือง ขอบกลีบ และด้านในสีส้ม มีจุดประสีแดงเข้ม กลีบชั้นนอกมีต่อม เป็นร่องยาว 1 ต่อม สีแดงเข้ม เกสรเพศผู้มี 3 อัน ก้านเกสรไม่ติดกัน อับเรณูรูปยาวแคบ รังไข่มี 3 พู รูปยาวปลายใหญ่กว่าโคน เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียยาวโค้งแต่สั้นกว่ากลีบดอก ปลายเกสรเพศเมียมี 3 อัน ติดกัน
ผล -> รูปขอบขนาน หรือ ขอบขนานแกมรูปไข่กลับ เป็นพูลึก 3 พู เปลือกบาง แก่แตกตามยาวเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดพูละ 3-8 เมล็ด รูปเกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม. สีดำ ผิวเป็นมัน


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นตามชายป่า มีปลูกบ้างเป็นไม้ประดับ ถิ่นกำเนิดอยู่แถบตะวันออกของทวีปเอเชีย


สรรพคุณ

หัวใต้ดิน -> ใช้เข้าเครื่องยาสำหรับบำรุงร่างกาย แก้ต่อมทอนซิลอักเสบและโรคที่เกี่ยวกับปอด เช่น ไอ หืด หอบ ตับและม้ามโต เป็นยาขับลม ขับเสมหะ ยาระบาย ลำไข้ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ขับระดู ต้มน้ำรวมกับใบให้สตรีอาบหลังการคลอดบุตร
ราก -> เป็นยาระบาย แก้พิษงูบางชนิด ใช้เป็นยาฟอกเลือดและใช้ถอนพิษสำหรับวัวควายที่กินพืชมีพิษบางชนิดเข้าไป
ต้น -> ตำเป็นยาพอกแก้ปวดหลัง ปวดข้อ พอกฝี น้ำยางจากต้นกินเป็นยาแก้ปวดท้องและเป็นยาบำรุงธาตุ

 

รูปภาพจาก:pstip.com,fernseksan.blogspot.com,สมุนไพร