สมุนไพรเขือง

สมุนไพรเขือง

เขือง

เขืองLeea rubra Blume เขือง (ภาคกลาง)

ไม้พุ่ม -> ขนาดเล็กกึ่งไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 3 ม. หูใบเป็นปีกแคบ ๆ กว้าง 0.3-0.5 ซม. ยาว 2-4 ซม.
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ถึง 4 ชั้น ใบย่อยมีจำนวนมาก แกนกลางใบ ยาวประมาณ 5-2.5 ซม. ใบย่อยรูปไข่ ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลมสั้น ๆ โคนใบกลมถึงแหลม ขอบใบจักมน ๆ ถึงจักแบบฟันเลื่อยตื้น ๆ เนื้อใบบางและเหนียวคล้ายแผ่นกระดาษ เกลี้ยง หรืออาจจะมีขนเล็กน้อยตามเส้นใบ เส้นใบมี 5-10 คู่ อาจมีขนเล็กน้อย ก้านใบย่อยยาว 2-5 มม. มักมีปีก ก้านใบประกอบยาว 2-8 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อแน่น ยาว 8-14 ซม. มีขนสีสนิมปกคลุม ริ้วประดับรูปสามเหลี่ยม มองเห็นไม่ชัด ก้านช่อดอกยาว 3-8 ซม. แตกกิ่งก้านสาขามากมาย กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก ยาว 2-2.5 มม. เกลี้ยง กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 2-3 มม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ยาว 1.5-2.5 มม. เกสรเพศผู้มี 5 อัน ติดอยู่กับหลอดเกสรเพศผู้ ยาว 1.2-2 มม. รังไข่ 1 อัน มี 4-6 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-2 มม. ผล เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 มม. สีแดงเข้ม มี 6 เมล็ด

นิเวศน์วิทยา

ขึ้นในป่าดิบแล้ง ตามทุ่งหญ้าและป่าละเมาะทั่วไป


สรรพคุณ

ราก ตำเป็นยาพอกโดยผสมกับอาร์เซนิคขาว แก้โรคคุดทะราดและกินน้ำยางจากต้นไปพร้อม ๆ กัน น้ำต้มราก เป็นยาบำรุงธาตุและแก้ปวดท้อง ใบและราก ต้มน้ำกินเพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ต้น ยาชงจากต้นกินแก้บิด ผล กินแก้บิดและแก้คุดทะราด  เมล็ด ผสมกับน้ำเชื่อม กินเป็นยาขับพยาธิ แต่จะมีอาการมึนเมาเล็กน้อย

 

รูปภาพจาก:dnp.go.th,biogang.net,สมุนไพร