สมุนไพรตะไคร้

สมุนไพรตะไคร้

ชื่อพื้นเมืองอื่น คาหอม (เงี้ยว – แม่ฮ่องสอน) ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน) จะไคร (ภาคเหนือ) ตะไคร้(ภาคกลาง) เหลอะเกรย  เชิดเกรย (เขมร – สุรินทร์) หัวสิงไค (เขมร – ปราจีนบุรี) ไคร (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์  Cymbopogon citratus Stapf
ชื่อวงศ์ GRAMINEAE
ชื่อสามัญ Lapine , Lemon grass.

ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ 
หญ้าหรือกก (ExG) เป็นพืชล้มลุกประเภทหญ้า ลำต้นเป็นกอใหญ่มีข้อและปล้องเห็นชัด สูงประมาณ 1 เมตร มีไขปกคลุมตามข้อ ลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอก ยาว แข็งและเกลี้ยง ส่วนลำต้นที่อ่อนมีใบเรียงซ้อนสลับกันแน่นมาก กาบใบเป็นแผ่นยาวโอบซ้อนกันจนดูแข็ง 
ใบ
 เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบแคบยาว รูปใบหอกแกมรูปไข่กลับขอบใบเรียบและมีขนเล็กน้อย โคนใบสอบเรียว ปลายใบเรียวแหลมหรือแหลมเข็ม แผ่นใบสีเขียว มีเส้นใบขนานตามยาว สีขาวนวล ผิวสากมือทั้งสองด้าน เส้นกลางใบแข็ง มีกาบใบหุ้มลำต้นแบบหลวมๆ แตกใบออกเป็นกอ                                                                                        
ดอก
 ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ แบบช่อกระจาย ช่อดอกย่อยมี 1-12 ช่อ และมีใบประดับรองรับ ช่อดอกย่อยแบนออกเป็นคู่ ช่อหนึ่งไม่มีก้าน และอีกช่อหนึ่งมีก้าน มีรังไข่แบบเหนือวงกลีบ
นิเวศวิทยา เป็นพืชเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ในประเทศไทยนิยมปลูกเป็นพืชสวนครัว และปลูกเพื่อยึดหน้าดิน

การปลูกและขยายพันธุ์ เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบดินร่วานซุย ไม่ชอบน้ำ ปลูกได้ตลอดปี ขยายพันธ์ุด้วยการแยกกอ แยกต้นและเหง้า ปักชำโดยตัดปลายต้นให้เหลือประมาณ 15-20 ซม.
ส่วนที่ใช้ รส และสรรพคคุณ     

ราก  รสหอมปร่า แก้ปวดท้อง ท้องเสีย และแก้ไข้
เหง้า รสหอมปร่า บำรุงธาตุไฟ แก้ัท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด เป็นยานอนหลับ ยาบำรุง แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและนิ่ว ทั้งต้น รสหอมปร่า ขับลม ขับเหงื่อ ขับปัสสาวสะ รักษาโรคหืด แก้อหิวาตกโรค ทำให้เจริญอาหาร หรือใช้ทำเป็นยานวด ใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นรักษาโรค เช่น เป็นยาบำรุงธาตุ ขับเหงื่อ เจริญอาหาร                           
ใบ รสหอมปร่า ใบสดใช้เป็นยาช่วยลดความดันโลหิต และแก้ไข้                                                                                                                                                                           
วิธีใช้และปริมาณที่ใช้  

1. รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด โดยใช้ลำต้นสดๆทุบพอแหลกประมาณ 1 กำมือหรือหนักประมาณ 40-60 กรัม ต้มในน้ำ 1 ลิตรเคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง แล้วกรองเอาน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 เวลา
2. แก้ไข้ ลดความร้อน โดยใช้ตะไคร้และขิงหั่นแก่เป็นแว่นอย่างละหนึ่งในสี่ของแก้ว แล้วเติมน้ำ 3 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง
3. รักษาอาการขัดเบา สำหับผู้ที่ปัสสาวะไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม) โดยใช้ต้นแก่สดวันละ 1 กำมือ (สดหนัก 40-60 กรัมหรือแห้งหนัก 20-30 กรัม) ต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้งๆ ละ 1 ถ้วย (75 มิลลิลิตร) ก่อนอาหารหรือใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดินฝานเป็นแว่นบางๆคั่วไฟอ่อนพอเหลือง นำมาชงเป็นชาดื่มวันละ 3 ครั้งๆละ 1 ถ้วยชา พอปัสสาวะสะดวกจึงหยุดยา
4. แก้ปวดเมื่อร่างกาย โดยใช้ตะไคร้ 1 ต้น ดอกดีปลี 12 ดอก และพริกไทย 360 เม็ด โขลกให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน รับประทานครั้งละ 3 เวลา แก้เส้นท้องตึงเป็นเถาดาน ขับลมในท้อง แก้ปวดเมื่อย

 

รูปภาพจาก:kapook.com,kangtung.com,สมุนไพร