ถิ่นที่อยู่ของพืช

ถิ่นที่อยู่ของพืช

นักพฤกษศาสตร์ ยังแบ่งพืชตามถิ่นที่อยู่ของพืชหรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า habitat ออกเป็นประเภทต่างๆ ซึ่งนอกจากพืชบกที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปแล้ว ยังมี

๑.พืชน้ำ เป็นผู้ที่อาจอยู่อาศัยอยู่ในน้ำ เช่น หญ้าช้อง หรือพลับพลึงธาร (พืชชนิดนี้เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบในคลองนาคา จังหวัดระนองเท่านั้น;หัวและรากจะฝังอยู่ในซอกหินใต้น้ำ ใบยาวลอยอยู่ในน้ำ ช่อดอกจะโผล่พ้นน้ำขึ้นมา จัดเป็นพืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก)

๒.พืชเบียน เป็นพืชที่ไม่สามารถสร้างเองได้ มีชีวิตได้ด้วยการแย่งอาหารจากพืชอื่น เช่นบัวผุด (เป็นพืชเบียนของ “ย่านไก่ต้ม” ลำต้นและใบลดรูปมาก พบได้ในป่าดิบตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระนอง สุราษฎร์ธานี และยะลา จัดเป็นพืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก)

๓.พืชอาศัยซาก เป็นพืชไม่ที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง มีชีวิตอยู่โดยอาศัยน้ำและอาหารจากซากพืชซากสัตว์ เช่น พิศวง (เป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย พบได้เมื่อป่าเริ่มมีความชุ่มชื้น โดยเฉพาะในฤดูฝน มีรายงานพบว่าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดสระบุรี ปราจีนบุรี นครราชสีมา และที่เกาะช้าง จังหวัดตราดเท่านั้นจัดเป็นพืชหายากชนิดหนึ่งของโลก)

๔.พืชอิงอาศัย เป็นพืชที่เพียงอาศัยยึดเกาะต้นไม้อื่นอยู่ สามารถสร้างอาหารได้เอง ไม่มีการเปลี่ยนพืชให้อาศัย เช่น ปุดเดือน (เป็นพืชวงศ์ขิง พบได้ในป่าชายแดนภาคใต้เท่านั้น โดยเฉพาะในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลาบาลาจังหวัดยะลานราธิวาส)

 

รูปภาพจาก:blogspot.com