ยาเหลืองปิดสมุทร

ยาเหลืองปิดสมุทร

ส่วนประกอบ แห้วหมู ขมิ้นอ้อย เปลือกเพกรากกล้วยตีบ กระเทียมคั่ว ดีปลี ชันย้อย คลั่ง สีเสียดเทศ สีเสียดไทย ใบเทียน ใบทับทิม หนักสิ่งละ๑ส่วน ขมิ้นชันหนัก ๖ส่วน

วิธีทำ บดเป็นผงละเอียด ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นเม็ด หนักราวเม็ดละ๑๐๐ มิลลิกรัม สรรพคุณแก้ท้องเสียในเด็ก โดยใช้เปลือกลูกทับทิม หรือเปลือกแคต้มกับน้ำปูนใส เป็นกระสาย ถ้าหาน้ำกระสายไม่ได้ให้ใช้น้ำสุกแทน  ขนาดที่ใช้ กินวันละ ๓เวลา ก่อนอาหาร เด็กอายุ ๓-๕เดือน กินครั้งละ ๒เม็ด เด็กอายุ๖-๑๒เดือน กินครั้งละ๓-๔เม็ด เด็กโตกินครั้งละ ๕-๗เม็ด วิเคราะห์ตำรับยา ตัวยาในตำรับยาขนานนี้ แบ่งออกเป็นพวกๆตามหน้าที่ได้ดังนี้
๑. ตัวยาหลักหรือตัวยาตรง หรือ ครั่ง สีเสียดเทศ สีเสียดไทย แก้ท้องเสีย
๒.ตัวยาช่วยหรือตัวยาเสริม ได้แก่ ใบทับทิม ใบเทียน ชันย้อยรากกล้วยตีบ เปลือกเพกา ช่วยฝาดสมาน  กระเทียมคั่วและแห้วหมู ช่วยขับลมสมานลำไส้ และช่วยย่อยอาหาร
๓.ตัวยาคุม ขมิ้นชันและขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์แก้ท้องเสีย แก้ไขช่วยระงับไฟธาตุ แก้เสมหะ ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ส่วนดีฟลีช่วยให้เจริญอาหาร
๔.ตัวยาปรุงแต่งหรือตัวยาชูรส ในตำรับยาขนานนี้ ทั้งขมิ้นชันและขมิ้นอ้อยซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวยาปรุงแต่งกลิ่นไปในตัว
๕.น้ำกระสายยา ยาตำรับนี้มีน้ำผึ้งเป็นน้ำยากระสายที่ใช้ในการปรุงยาเป็นเม็ด

ประโยชน์ของน้ำกระสายยา

ในทางการแพทย์ กระสายหรือกระสายยาเป็นของที่อาจได้จากธรรมชาติโดยตรง หรือเตรียมได้จากผลิตภัณฑ์หรือจากเครื่องยาสมุนไพร กระสายยาอาจเป็นของแข็งได้ เช่นแป้ง น้ำตาลทราย หรือขัณฑสกร แต่กระสายหรือกระสายยาส่วนใหญ่ที่ใช้ในยาไทยนั้นมักเป็นของเหลว มักเรียก “น้ำกระสายยา” ทำได้โดยการนำมาต้ม แช่ บีบ ฝน คั้น ละลาย แล้วใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งหรือร่วมกันหลายวัตถุประสงค์ ดังนี้

๑.เพื่อช่วยเตรียมยาให้เป็นรูปแบบยาที่ต้องการ ในการเตรียมยาบางรูปแบบ โดยเฉพาะยาลูกกลอนและยาแท่ง จำเป็นต้องใช้น้ำกระสายยาเพื่อช่วยให้ตัวยาต่างๆที่บดเป็นผงละเอียดแล้ว เกาะกันเป็นเม็ดหรือเป็นแท่งตามต้องการ น้ำกระสายยาที่ใช้กันมากคือน้ำผึ้ง เพราะรสชาติ กลิ่น และสรรพคุณ ดีเหนือสิ่งอื่นๆหลายอย่าง รวมทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการ ช่วยบำรุงร่างกายและช่วยป้อวกัรไม่ให้ยาเตรียมนั้นบูดเสียขอยกตัวอย่างขนานที่๑๒จากตำรา พระโอสถพระนารายณ์ อันเป็นยาบำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลม ยาตำรับนี้ใช้น้ำผึ้งผสมกับเหล้า เป็นน้ำกระสายยา เพื่อทำยาลูกกลอนจำเริญพระธาตุ  ให้เอาใบรักแห้ง บอรเพ็ดแห้ง แห้วหมู ดอกชรากากีผลมะตูมอ่อน รากมะตูม โกฎหัวบัว เทพทาโร สมอเทศเทียนแดง เชือกเขาพรรณ ขิงแห้ง ดีปลี กระเทียมทอก รากชะพลู เหลือสินเธาว์เสมอภาคกระทำเปนจุณ บดด้วยน้ำผึ้งรวง  น้ำสุรา ระคนกันป็นลูกกลอน เสวยหนักสลึง๑ แก้พระวาตะ เสมหะ โลหิตกำเริบอันทุพล แก้พระเส้นอันทพฤกอันกระด้างตึงแต่พระชงฆ์ขึ้นไปตราบเท่าถึงบั้นพระองค์ให้พระเส้นอันอ่อน ให้เสวยพระกระยาหารเสวยได้ให้จำเริญพระสกลธาตุเป็นอันยิ่ง ข้าพระพุทธเจ้า ออกขุนทิพจักร ประกอบทูลเกล้าฯถวายฯในกรณีนี้ เหล้าที่เจือลงไปกับน้ำผึ้งเพื่อเป็นกระสายในการเตรียมยาเป็นลูกกลอนนั้น ยังทำหน้าที่เสริมฤทธิ์เจริญอาหารของตัวยาหลักในตำรับยาขนานนี้ด้วย

๒.เพื่อช่วยละลายยาเตรียมบางรูปแบบ เช่นยาผง ยาเม็ดขนาดใหญ่ ยาแท่งเพื่อช่วยให้กลืนยาได้สะดวกขึ้น ไม่ฝืดหรือติดคอ โดยอาจช่วยให้ยานั้นมีสี รสและกลิ่น ตามต้องการโดยมักใช้น้ำฝน น้ำสะอาด น้ำสุก หรือน้ำร้อน สำหรับละลายยากิน ยกเว้นในยาที่มีข้อบ่งใช้เฉพาะสำหรับบางโรคหรือบางอาการ เช่น ยาแก้พิษงู ซึ่งโบบราณมักใช้สุราเป็นน้ำกระสายยา แต่ก็มีข้อห้ามใช้สุราเป็นกระสายสำหรับผู้ป่วยที่มีไข้สูงหรือสตรีมีครรภ์ขอยกตัวอย่างยาขนานที่ ๘ จากตำราพระโอสถพระนารายณ์ อันเป็นยาแก้ไฟ ธาตุหย่อน บำรุงธาตุไฟ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาตำรับนี้ใช้น้ำร้อนละลายยากิน โดยให้แต่งรสด้วยการรำหัด(เหยาะ)เกลือลงไปเล็กน้อยอนึ่งบุคคลผู้ใดที่มีธาตุอันเย็น พึงให้นอนหลับเมื่อเพลากางวันมาก จะยาไซ้ให้เอาผลสมอไทยอันเป็นเหลี่ยม ๔ เหลี่ยม ๕ เหลี่ยม คอดังคอน้ำเต้า เนื้อเหลืองเอาแต่เนื้อ ดีปลีสมอภาค ทำเปนจุณ ละลายน้ำร้อน เกลือรำหัด กินแก้ไฟธาตุอันเย็นอันหย่อนให้เสมอเป็นปรกติ ให้มีกำลัง แก้ลมเปนก้อนแลลมอันให้เสียดแทงชายโครง แลตะโพก สันหลัง ให้ท้องขึ้นท้องพองแก้ธาตุพิการให้ปรกติฯ

๓.เพื่อช่วยให้ยานั้นแสดงฤทธิ์ได้เร็วขึ้นและดีขึ้น ทั้งยังช่วยแก้หรือกันไข้ หรืออาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากากรใช้ยา หรือเสริมฤทธิ์กับตัวยาหลักในตำรับยานั้น เช่น น้ำเปลือกแค น้ำเปลือกลูกทับทิม มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้เป็นน้ำกระสายยาสำหรับยาธาตุบรรจบและยาเหลืองปิดสมุทร เป็นยาสามัญประจำบ้านแปนโบราณที่ใข้แก้ท้องเสียจึงช่วยเสริมสรรพคุณแก้ท้องเสียได้อีกทางหนึ่งด้วย ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ได้ให้ตำรับยาเจริญอาหารแก้อาหารเบื่ออาหาร กินไม่ได้นอนไม่หลับ เป็นยาขนานที่๔๓ ชื่อ “ยาทิพกาศ” ยาขนานนี้ตำราว่าให้ใช้สุราเป็นน้ำกระสายเพื่อทำยาเป็นแท่ง และระบุว่า “น้ำกระสายใช้ให้ชอบโรคร้อนและเย็น”ยาทิพกาศ ให้เอายาดำ เทียนดำ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน พิมเสน สิ่งละส่วน การบูร๔ส่วนฝิ่น๘ส่วนใบกัญชา๑๖ส่วน สุราเป็นกระสาย บดทำแท่งน้ำกระสายใช้ให้ชอบโรคร้อนเย็น กินพอควร แก้สารพัดทั้งหลาย อันให้ระส่ำระสายกินเข้ามิได้ นอนมิหลับตกบุพโพโลหิต ลงแดง หายแล ฯข้อความ “น้ำกระสายใช้ให้ชอบโรคร้อนเย็น” นี้ หมายถึงให้เลือกยักกระสายให้ถูกกับโรค ว่าโรคนั้นต้องใช้ยที่มีทธิ์ร้อนหรือเย็นเป็นน้ำกระสาย เช่นเป็นไข้ก็ควรใช้น้ำกระสายที่มีทธิ์เย็น เช่น น้ำชะเอม น้ำดอกไม้จึงเห็นได้ว่าความรู้ความเข้าใจเรื่องน้ำกระสายนั้นมีความสำคัญต่อผลการบำบัดรักษาของยาไทย ผู้ที่จะเป็นแพทย์จึงต้องศึกษาให้รู้กระจ่าง ให้เชี่ยวชาญและชำนาญให้มีประสบการณ์มากพอที่จะตัดสินใจเลือกใช้น้ำกระสายยาได้อย่างถูกโรค จึงสามารถช่วยให้ผู้ป้วยหายจากโรคได้เร็วขึ้น

รูปภาพจาก:technologychaoban.com,thaigoodview.com