สมุนไพรยิงสม
สมุนไพรยิงโสม
เครื่องยาที่เรียก ยิงสม ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ ตํารับยาขนานที่ ๑๑ ปรุงถวายโดยขุนประสิทธิโอสถจีน คือ โสม เข้าใจว่า คำ โสมนี้ เพิ่งใช้ในชั้นหลัง เดิมคงเรียกกันตามสำเนียงจีนที่เรียก เหรินเซิน (จีนแมนดาริน) หรือ หยิ่นเซียม (จีนแต้จิ๋ว)
มีชื่อสามัญตามชื่อจีนว่า ginseng เช่นกัน โสมได้จากพืชหลายชนิดในสกุล Panax
ในวงศ์ Araliaceae เช่น
๑.โสมจีน หรือ โสมเกาหลี กับ โสมขาว และ โสมแดง ได้จากรากของพืชชนิด Panax ginseng C.A.Mey. ซึ่งปลูกในประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น
๒.โสมอเมริกัน ได้จากรากของพืชชนิด Panax quinguefolius L.ปลูกทางภาคเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และสาธารณรัฐประชาชนจีน
๓.โสมญี่ปุ่น ได้จากรากของ Panax japonicus C.A.Mey.
๔.โสมนาหรือโสมซานชี ได้จากรากของ Panax notoginseng Burk.
๕.โสมญวน ได้จากรากของ Panax vietnamensis Ha & Grushv.
ยิงสมที่ระบุใน ตำราพระโอสถพระนารายณ์ หมายถึง โสมจีน หรือโสมเกาหลี อันเป็นรากแห้งของพืชชนิด Panax ginseng C.A.Mey. พืชชนิดนี้ปลูกเป็นพืชอาสิน (economic plant) และรู้จักกันใช้กันแพร่หลายมากกว่า ลางคนอาจเรียก โสมคน เนื่องจากรูปร่างมีลักษณะคล้ายคน ยิงสมเป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี ลงหัว สูง ๓๐ – ๖๐ เซนติเมตร มีรากสะสม อาหาร อวบ สีขาวนวลถึงสีเหลืองอ่อน ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ โดยทั่วไปต้องยิงสมที่มีอายุมากกว่า ๕ ปี มากมีใบย่อย ๕ ใบ ต้นที่มีอายุน้อยกว่านั้น อาจมีใบย่อย ๓ – ๕ ใบ ใบย่อยที่อยู่กลางมีขนาดใหญ่ที่สุด ใบถัดออกมามีขนาดเล็กลง และใบที่อยู่นอกสุดมีขนาดเล็กที่สุด ใบย่อยรูปรี ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบหยัก ขนาดกว้าง ๓ – ๕ เซนติเมตร ยาว ๘ – ๑๒ เซนติเมตร มีขน ดอกออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม ก้านช่อยาว ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลีบเนื้อเลี้ยงเชื่อมติดกัน เป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น ๕ แฉก กลีบดอกมี ๕ กลีบ เกสรเพศผู้มี ๕ อัน รังไข่มี ๒ ช่อง ผลรูปกลมแบน สีเขียวเมื่อยังอ่อน จะเปลี่ยนเป็นสีแดงแก่เมื่อเมื่อแก่จัดและสุก
ยิงสมมีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการนำไปศึกษาและทดลองปลูกในประเทศเกาหลีและญี่ปุ่นจนประสบความสำเร็จในเชิงการค้า โสมชนิดนี้ถ้าปลูกและส่งออกจากประเทศจีน มักเรียกโสมจีน แต่ถ้าปลูกและส่งออกจากประเทศเกาหลีมักเรียก โสมเกาหลี โสมชนิดนี้เมื่อปลูกจนมีอายุครบ ๖ ปี จึงจะมีตัวยาสำคัญสูงสุด เก็บเกี่ยวมาใช้ประโยชน์ได้ รากโสมที่เก็บขึ้นมา นำมาล้างให้สะอาด ตากแดดให้แห้ง จะมีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม เรียกโสมขาว แต่ถ้านำรากที่เก็บมาตัดรากข้างและรากฝอย และปอกเปลือกรากออก นำไปนึ่งก่อนตากแดดให้แห้ง จะได้รากที่มีสีแดงอมน้ำตาล สีตั้งแต่แดงเข้มจนถึงเกือบดำ เรียก โสมแดง โสมแดงมีฤทธิ์ร้อนแรงกว่าโสมขาว จึงนิยมใช้ในการบำบัดโรคต่างๆ ส่วนสูงขาวนิยมใช้เดี่ยวๆ หรือแทรกในตำรับยา เพื่อต้องการสรรพคุณในการบำรุงร่างกายทั่วๆไป โดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ และเด็ก ตลอดจนคนปรกติที่ต้องทำงานหนัก และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพ โสมมีองค์ประกอบสำคัญทางเคมีที่ซับซ้อน ที่สำคัญเป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ในกลุ่มซาโพนิน (saponin) อันมีชื่อเรียกรวมๆกันว่า จินเซนโนไซด์ ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบแล้วกว่า ๕๐ ชนิด โดยมี ginsenoside Rb1, ginsenoside Rb2, ginsenoside Rg1 และสารประกอบน้ำตาลเชิงซ้อน เป็นองค์ประกอบหลักที่แสดงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา นอกจากนี้โสมอย่างมีไวตามินและเกลือแร่ โดยเฉพาะเจอร์มาเนี่ยม และสารชนิดอื่นๆอื่นอีกมาก โสมมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่
๑.โสมช่วยเพิ่มสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายให้สูงขึ้น เนื่องจากโสมมีคุณภาพในการมีคุณสมบัติในการต้านความเมื่อยล้า ด้วยกลไกร่วมกันหลายๆอย่าง เช่น การเพิ่มการดูดซึมออกซิเจนของผนังเซลล์ เซลล์จึงสามารถสร้างพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญของร่างกาย โดยเฉพาะกรดแล็กติก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของความอ่อนล้าจะลดลง ทำให้ร่างกายมีพลังงานสะสมมากขึ้น โสมยังช่วยปรับการเต้นของหัวใจให้กลับสู่สภาพกลับสู่สภาวะปกติเร็วขึ้น ร่างกายจึงเหนื่อยช้าลง ใหม่ล่าช้าลงมีความอดทนกับการทำงานมากขึ้น ด้วยสรรพคุณดังกล่าว โสมจึงช่วยให้ร่างกายของผู้สูงอายุทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยในระยะพักฟื้นให้คืนสู่สภาวะปกติเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังเชื่อว่า โสมมีผลต่อการกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศด้วย
๒.โสมมีคุณสมบัติต่อต้านความเครียด ช่วยปรับร่างกายและจิตใจให้ทนต่อความกดดันภายนอก โดยการกระตุ้นการหลั่งสารฮอร์โมนที่มีผลป้องกันและลดความเครียดจากต่อมใต้สมอง รวมทั้งมีฤทธิ์ช่วยให้คลายความวิตกกังวลได้ด้วย
๓.โสมมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ผู้บริโภครู้สึกคึกคัก มีชีวิตชีวาและกระปรี้กระเปร่า โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอาการอ่อนเพลียหรืออ่อนล้าตามมา เหมือนยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางอื่นๆ เนื่องจากโสมมีกลไกในการแสดงฤทธิ์ที่ต่างกันออกไป
๔.โสมมีฤทธิ์เพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยการเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเป็นผลจากการกระตุ้นของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแบบไม่เฉพาะเจาะจง มีรายงานว่า หลังกินโสม จะมีการเพิ่มของปริมาณนิวโทรฟิล (neutrophil) และเมล็ดเลือดขาวลางชนิด ซึ่งผลนี้เกี่ยวข้องอย่างแยกไม่ออกกับสรรพคุณต้านมะเร็งของโสม
๕.โสมมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะสำหรับคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปรกติโดยการกระตุ้นต่อมในตับอ่อนให้หลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมงให้เป็นปรกติ ตัวยาสำคัญในโสมเอง คือ จินเซนโนไซด์ ลางชนิดมีฤทธิ์เหมือนอินซูลิน ซึ่งสามารถช่วยผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ ตั้งแต่ ทำให้สามารถลดขนาดการใช้อินซูลินจากภายนอก จนกระทั่งรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานบางคนให้หายขาดได้ ๖.โสมช่วยชะลอความแก่ โดยการที่โสมแสดงฤทธิ์ทำลายอนุมูลเสรีของออกซิเจนซึ่งเกิดขึ้นในการเผาผลาญไขมัน อนุมูลเสรีนี้มีอานุภาพทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ ในให้เสื่อมสลายลงก่อนเวลาอันควร และเชื่อว่าเป็นผลทำให้เกิดความแก่ ผลอันนี้เองเมื่อร่วมกับคุณสมบัติของโสมในการปรับสภาพร่างกายและจิตใจให้ทนต่อความกดดัน จึงเชื่อว่าจะช่วยเสริมฤทธิ์กัน ทำให้โสมมีสรรพคุณชะลอความแก่ได้
รูปภาพจาก:thai.alibaba.com,uknowledge.org