สมุนไพรเพกา

สมุนไพรเพกา

ชื่อพื้นเมืองอื่น

มะลิดไม้  มะลิ้นไม้  ลิดไม้ (ภาคเหนือ) หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นช้าง (เงี้ยว-ภาคเหนือ) ดอก๊ะ  ด๊อกก๊ะ  ดุแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เพกา (ภาคกลาง) ลิ้นฟ้า (เลย) เบโก (มลายู-นราธิวาส)
ชื่อวิทยาศาสตร์  Oroxylum indicum (L.) Kurz
ชื่อวงศ์  BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ Indian trumpet flower.

 

ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้นขนาดเล็ก (ST) ผัดใบ -> สูงประมาณ 4-20 เมตร เปลือกต้น เรียบสีเทา บางทีแตกเป็นรอยตื้นเล็กน้อย มีรูระบายอากาศกระจัดกระจายตามลำต้นและกิ่งก้าน
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบเดี่ยวๆ ขนาดใหญ่ที่ปลายก้าน รูปทรงกลม ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ ขอบใบเรียบ ออกตรงข้ามชิดกัน อยู่ประมาณปลายกิ่ง ก้านใบย่อยสั้น แผ่นใบสีเขียวเข้ม
ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ช่อมีขนาดใหญ่ออกที่บริเวณปลายยอด มีก้านช่อดอกยาว มีดอกย่อยขนาดใหญ่ รูปปากเปิดแบบสามมาตรด้านข้าง กลีบดอกหนา มี 5 กลีบ ภายนอกสีม่วงแดงหรือน้ำตาลคล้ำ ภายในสีเหลืองเปรอะๆกึ่งสีชมพู โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปลำโพง ส่วนปลายแยกออกเป็นกลีบย่นขยุกขยิก บริเวณปลายกลีบดอกด้านในสีขาวอมเหลือง หรือขาวอมเขียว มีเกสรตัวผู้ 5 อันติดกับท่อดอกโคนก้านจะมีขน                                                                                  
ผล -> เป็นฝักแบน ยาวคล้ายรูปดาบ ห้อยระย้าอยู่เหนือเรือนยอด สีน้ำตาลดำ เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก

เมล็ด -> เมล็ดแบน มีปีกบางใสจำนวนมาก

 

นิเวศวิทยา

เพกาเป็นไม้ที่ขึ้นได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ชอบขึ้นบนที่โล่ง บริเวณชายป่าดิบ และไร่ร้างทั่วๆไป

 

การปลูกและขยายพันธุ์

 

เพกาเป็นไม้ที่ปลูกง่าย และไม่ต้องการเอาใจใส่มากนัก เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นระบายน้ำดีโดยเฉพาะดินร่วนซุย ควรปลูกในฤดูฝน ขยายพันธ์ุด้วยการเพาะเมล็ดหรือการตัดชำราก

 

ส่วนที่ใช้ รส และสรรพคุณ

เปลือกราก -> รสฝาดขม แก้ปวดท้อง ฝาดวสมาน เป็นยาบำรุง แก้บิด แก้ท้องเสีย ขับเหงื่อ
ราก -> รสฝาดขม เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ท้องวร่วง เจริญอาหาร ทำให้เกิดน้ำย่อยอาหาร ฝนกับน้ำปูนใสทาแก้อาการอักเสบ ฟกช้ำ บวม ลำต้น รสขม แก้แมลงป่องต่อย
เปลือกต้น -> รสขมฝาด ขับน้ำเหลืองเสีย ขับเลือด ขับเสมหะ ดับพิษโลหิต เป็นยาขมเจริญอาหาร
ใบ -> รสฝาด ใช้ต้มดื่มแก้อาการปวดท้อง แก้ปวดข้อ และเจริญอาหาร
ผลอ่อนหรือฝักอ่อน -> รสขมร้อน ขับผายลม เป็นยาบำรุงธาตุ                                                      
ผลแก่หรือฝักแก่ -> รสขมร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ
เมล็ดแก่ -> รสขม เป็นยาอมแก้ไข ขับเมหะ ใช้เป็นส่วนประกอบอย่างหึ่งในน้ำจับเลี้ยงของชาวจีนแก้ร้อนใน

 

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้

1. ขับเลือด ขับน้ำเหลืองเสีย โดยใช้เปลือกต้นสด 1 กำมือ หรือหนักประมาณ 20 กรัม สับเป็นชิ้นต้มในน้ำสะอาด 1 ลิตร เคี่ยวให้เหลือ 3 ใน 4 ส่วน กรองเอาน้ำดื่ม เช้า-เย็น

2. แก้ปวดฝี โดยใช้เปลือกสด ประมาณ 1 ฝ่ามือฝนกับเหล้าโรงทาบริเวณที่เป็นประจำ

3. แก้อาการร้อนใน แก้ไอ และขับเสมหะ เมล็ดเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งใน “น้ำจับเลี้ยง” ของคนจีน โดยใช้เมล็ดครั้งละ 0.5-1 กำมือ (หนักประมาณ 1.5-3 กรัม) ใส่น้ำประมาณ 300 มิลลิลิตร ต้มไฟอ่อนพอเดือดนานประมาณ 1 ชั่วโมง ดื่มวันละ 3 ครั้ง

 

รูปภาพจาก:ntbdays.com,chaina-herbs.blogspot.com,สมุนไพร