มะเขือขื่น

มะเขือขื่น

ชื่อพื้นเมืองอื่น มะเขือแจ้  มะเขือคำ  มะเขือคางกบ  มะเขือขันคำ (ภาคเหนือ) มะเขือแจ้ดิน (เชียงใหม่) มังคิเก่ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน) มะเขือขื่น มะเขือเปราะ มะเขือเสวย (ภาคกลาง) เขือเพา (นครศรีธรรมราช) เขือหิน (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์  Solanum aculeatissimum Jacq.

ชื่อวงศ์  SOLANACEAE
ชื่อสามัญ  Cockroach berry.

ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์           
ไม้พุ่มขนาดเล็ก (US) สูงประมาณ 30-60 ซม. ลักษณะลำต้นตั้งตรง แข็งแรง มีขนนุ่มขึ้นปกคลุม แตกกิ่งก้านสาขามาก
ใบ
 เป็นใบเดี่ยว ออกสลับ ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบเป็นหยักเว้าตื้น โคนกลมหรือเบี้ยว แผ่นใบสีเขียว มีขนทั้งสองด้าน ขนาดของใบยาวประมาณ 4-7 นิ้ว มีหนามถี่กระจายทั่วไป
ดอก
 เป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ กลีบดอกสีม่วง 5 กลีบ กลีบเลี้ยง โคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ปลายเรียวแหลม กลีบดอกยาว โคนเชื่อมกัน ปลายแผ่และแยกเป็น 5 แฉก ด้านนอกมีขนนุ่ม 
ผล
 เป็นผลลักษณะรูปทรงกลม ผิวเรียบเกลี้ยง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ซม. มีกลีบรองดอกเจรืญอยู่ด้วย ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง                           
เมล็ด ลักษณะรูปกลมแบน มีขนาดเล็ก จำนวนมาก 

นิเวศวิทยา
 
เป็นพืชกลางแจ้ง ขึ้นได้ทั่วไป พบตามที่รกร้าง ส่วนมากนิยมปลูกเป็นพืชสวนครัวตามบ้านเรือน

การปลูกและขยายพันธุ์ 
 
เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินร่วนซุยที่อุดมสมบูรณ์ หรือดินตะกอน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ รส และสรรพคคุณ
ราก  รสเย็นชื่น เปรี้ยวเล็กน้อย ช่วยขับเสมหะ ทำให้น้ำลายแห้ง แก้ไข้สันนิบาต แก้ไอ กระทุ้งพิษไข้ ใช้ปรุงกับยาอื่นแก้กามตายด้าน                                                           
ผล รสชื่นเปรี้ยว เย็น แก้เสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้ไข้สันนิบาต น้ำคั้นจากผลแก้เจ็บคอ

เมล็ด รสชื่น ขับปัสสาวะ                                                                                                                                                                                       

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้  
1. ขับปัสสาวะ โดยใช้เมล็ดตากแดดให้แห้ง แล้วบดเป็นผงให้ละเอียด ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา ชงเป็นน้ำชาดื่ม วันละ 2 เวลา เช้า-เย็น                                                                  
2. แก้ไอ และขับเสมหะ โดยใช้เมือกสีเขียวที่้ปนอยู่กับเมล็ดของผลมะเขือที่สุก 2 ช้อนชา ใส่น้ำปูนใส 3 ช้อนชา คนให้เข้ากัน ใช้จิบครั้งละ 1 ช้อนชา บ่อยๆ หรือ ใช้ผลมะเขือขื่นสุกตากแดดให้แห้งแล้วบดเป็นผง ใช้ 1-2 ช้อนชา เติมน้ำผึ้งจิบบ่อยๆ

3. แก้คลื่นเหียน – อาเจียน โดยใช้รากมะเขือขื่น นำมาโขลกให้ละเอียดประมาณ 1-2 ช้อนชา ผสมกับเหล้าโรงดื่มอาเจียนได้

 

รูปภาพจาก:blogspot.com,thaifoodimport.com,สมุนไพร