อีแก

อีแก

อีแกคล้ายอีกา แต่ตัวเล็กกว่า

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Corvus splendens  Vieillot
จัดอยู่ในวงศ์  Corvidae
มีชื่อสามัญว่า house crow
ขนาดวัดจาดปลายปากถึงปลายหางยาวราว ๔๓ เซนติเมตร ปากหนา สีดำ ปลายแหลม หัวดำ แต่บริเวณท้ายทอยมีสีเทา ขนตามตัวมีสีดำ อาจมีสีเทาปน คอ หลัง และอกมีสีเทา ปีกสีดำ เล็บแข็งแรงและทนมากนกชนิดนี้อยู่รวมกันเป็นฝูงเช่นเดียวกับอีกา ส่งเสียงร้อง “กอๆ” ถ้าตัวหนึ่งตัวใดถูกจับจะร้องเรียกให้ตัวอื่นมาช่วย นิสัยฉลาดเกมโกงและชอบรังแก ขโมยกินลูกนกอื่น มักหากินในที่โล่ง กินได้ทั้งพืชและสัตว์ อีแกทำรังอยู่บนคาคบสูง โดยเอากิ่งไม้แห้งมาขัดกันเป็นรูปแอ่งตื้นๆ วางไข่คราวละ ๔-๕  ฟอง ไข่สีฟ้าอมเขียว ใช้เวลาฟักไข่ราว ๑๖-๑๗  วัน ลูกนกบินได้ราว  ๓๕  วัน ในประเทศไทยพบอีแกบริเวณจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคิรีขันธ์ ในต่างประเทศพบอาศัยอยู่ในเมืองเป็นจำนวนมากๆ ที่เนปาล อินเดีย ศรีลังกา โดยหากินอยู่ตามกองขยะ นกสกุลและวงศ์เดียวกันอีกชนิดที่พบในประเทศไทย คือ อีแก (Corvus  splendens  Vieillot) มีขนาดเล็กกว่าอีกาไม่มาก และขนบริเวณท้ายทอยถึงต้นคอมีสีเทา

 

ประโยชน์ทางยา

แพทย์แผนไทยใช้หัวอีกาสุมหรือเผาไฟ ผสมยาต้มแก้ไข้พิษ ไข้กาฬ  ส่วนกระดูกอีกาเผาไฟผสมยามหานิลแท่งทอง (ดู  คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม  ๔  เครื่องยาธาตุวัตถุ)ใน พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์  มียากวาดแก้หละแสงจันทร์ขนานหนึ่ง เข้า “กระดูกกา” เป็นเครื่องยาอย่างหนึ่ง ร่วมกับ “กระดูกแร้ง” และ “กระดูกงูเหลือม” ดังนี้ขนานหนึ่งท่านให้เอา หัวสุนักข์ดำกระดูกกากระดูกแร้งกระดูกงูเหลือม ๑ รวมยา ๔  สิ่งนี้ เผาไฟให้ไหม้ ลิ้นทะเลน้ำประสานทอง ๑ กานพลู ๑ พิมเสน ๑ รวมยา ๘  สิ่งนี้เอาเสมอภาค เอารากดินเผาเท่ายาทั้งหลาย  ทำเปนจุณ  เอาสุราเป็นกระสาย บดทำแท่งไว้ ละลายสุราทาปาก แก้หละแสงจันทร์หายดีนักนอกจากนั้น ในพระคัมภีร์ดังกล่าวยังใช้ยากวาดซางแดงนานหนึ่ง ยาขนานนี้เข้า “ศีร์ษะกา” ร่วมกับ  “ศีร์ษะงูเห่า

 

รูปภาพจาก:en.academic.ru,easy-india-trip.blogspot.com