เครื่องยาจากลำต้นใต้ดิน

เครื่องยาจากลำต้นใต้ดิน

เครื่องยาที่ได้จากลำต้นใต้ดินนั้นมีมาก อาจได้จากลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่สะสมอาหาร เรียกว่า เหง้า เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ว่านน้ำ หรือจากหัวแบบหอม เช่น หอมแดง ขมิ้นชัน ขมิ้นชันเป็นเครื่องเป็นทั้งเครื่องยาและเครื่องเทศ ที่เรียก ขมิ้นชันเพราะมีกลิ่นเหมือนชัน ที่ใช้ยาเรือ ได้จากเหง้าของพืชอันมี
ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Curcuma longa L.
มีชื่อพ้อง Curcuma domestica Valentin
จัดอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae

มีชื่อเรียกตามถิ่นต่างๆ หลายชื่อ เช่น ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้หมิ้น (ภาคใต้) ฝรั่งเรียก turmeric พืชชนิดนี้ปลูกการทั่วไปเป็นพืชสวนครัว เงาสดมีขายตามตลาดสดทั่วไป เหง้าแห้งหาซื้อได้ตามร้านขายยาสมุนไพรทั่วไป พืชชนิดนี้เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี ใบมักแห้งและลงหัวในฤดูแล้ง แต่จะแตกใบออกใหม่ในฤดูฝน สูงราว ๖๐ – ๙๐ เซนติเมตร มีเหง้ารูปไข่ มีแง่งแขนง รูปทรงกระบอก แตกออกทั้งสองข้างตรงข้ามกัน เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองเข้มถึงสีแสดเข้ม มีกลิ่นเหมือนชันไม้ ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบยาว แทงออกจากเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนหุ้มกัน ขนาดกว้าง ๑๒ – ๑๕ เซนติเมตร ยาว ๓๐ – ๔๐ เซนติเมตร แผ่นใบเหนียว ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อแทงออกจากเหง้าแทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก ยาว ๗ – ๑๕ เซนติเมตร กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ ๓ – ๔ ดอก ผลรูปกลมมี ๓ พู เหง้าของพืชชนิดนี้จะถูกขุดขึ้นมาเมื่อสี ของใบเริ่มเปลี่ยนจากเขียวเป็นเหลืองในหน้าแล้ง ล้างดินออกให้หมด แยกส่วนเหงาที่เป็นแกนกลางและคะแนนออกจากกัน ส่วนแยกแขนงที่เป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่า และมีราคาในท้องตลาดสูงกว่า ในทางการค้านั้น ขมิ้นชัน แห้งที่ขายในตลาด มักนำมาต้มกับน้ำ โดยเติมมูลโคลงไปเล็กน้อย ต้มนาน ๓๐ นาที ถึง ๖ ชั่วโมง จนเหง้านิ่มและมีสีเข้มขึ้น นำมาผึ่งให้แห้งในร่ม เมื่อแห้งแล้ว จึงขัดเอาเปลือกนอกออก ราคาของขมิ้นชันจะสูงหรือต่ำแล้วแต่รูปร่างและความมันของเหง้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความร้อนที่ใช้ในการต้มและวิธีขัดเอาผิวออก ขมิ้นชันที่เตรียมโดยการโดยถูกวิธีจะเปราะและมีสีเหลืองมัน ขมิ้นชันมีน้ำมันระเหยง่ายอยู่ร้อยละ ๒ – ๖ เป็นน้ำมันที่มีสีเหลืองปนส้ม มีกลิ่นเฉพาะ มีสารอยู่หลายชนิด เช่น เทอร์เมอโรน (ราวร้อยละ ๖๐) ซิงจิเบอร์โรน , บอร์นีออล และมีสารสีเหลืองส้ม ชื่อเคอร์คูมิน อยู่ในราวร้อยละ ๑.๘ – ๕.๔ ขมิ้นชันใช้แต่งสีอาหารหลายชนิดเพื่อให้มีสีเหลือง เช่น ข้าวหมกไก่ แกงเหลือง เนย เนยแข็ง ผักดอง มัสตาร์ด ได้ใช้เป็นส่วนผสมในผงกะหรี่ ใช้เป็นสีย้อมผ้าแพร ผ้าฝ้าย ผ้าไหม และไหมพรม สีเหลืองของขมิ้นชันเมื่อถูกด่างจะให้สีน้ำตาลเข้ม เช่น ใส่ในปูนขาวจะได้สีปูนแดงตามที่ต้องการ คนไทยใช้ขมิ้นชันทั้งสดและแห้งมาแต่โบราณ แพทย์โบราณว่ามีรสฝาด กลิ่นหอม ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ฟอกโลหิต แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ใช้หุงกับน้ำมันมะพร้าวเป็นยาสมานแผล ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขมิ้นชันสดๆใช้แก้ท้องร่วง ในปัจจุบันยังพบว่าขมิ้นชันมีสรรพคุณบำบัดโรคกระเพาะอาหารอักเสบได้

 

ขมิ้นอ้อย   ขมิ้นอ้อยเป็นทั้งเครื่องยาและเครื่องเทศคล้ายกับขมิ้นชัน ได้จากนอกของพืชอันมี
ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Curcuma zedoaria (Christm.)
จัดอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae
ฝรั่งเรียก Zedoary
พืชชนิดนี้ปลูกกันทั่วไปสำหรับใช้ปรุงแต่งอาหาร เน่าแห้งใช้เป็นยา หาซื้อได้ตามร้านขายสมุนไพรทั่วไป ขมิ้นอ้อยเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี ใบไม้แห้งและตั้งหัวในฤดูแล้ง แต่จะแตกใบออกใหม่ในฤดูฝน สูงราว ๑-๑.๕ เมตร มีเหง้ารูปไข่ มีแขนงรูปทรงกระบอก แตกออกทั้งสองข้างตรงข้ามกัน เนื้อในเหง้ามีสีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะ เหง้าตั้งตรงโผล่ ขึ้นมาเหนือดินลางส่วน (จึงเรียก ขมิ้นอ้อย หรือ ขมิ้นขึ้น หรือ ขมิ้นหัวขึ้น หรือ ว่านหัวตั้ง หรือ สากกะเบือละว้า) ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบยาว แทงออกจากเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนหุ้มกัน ขนาดกว้าง ๑๕ – ๒๐ เซนติเมตร ยาว ๔๐ – ๕๐ เซนติเมตร แผ่นใบเหนียว ดอกเป็นดอกช่อ ก้านช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก ยาว ๗ – ๑๕ เซนติเมตร ดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับอยู่ส่วนล่างของช่อ มีสีเขียวปลายชมพู แต่ที่อยู่ส่วนบนเป็นรูปใบหอก สีชมพูหรือชมพูอมขาว ขมิ้นอ้อยจะถูกขึ้นมาในหน้าแล้ง เมื่อสีของใบเริ่มเปลี่ยนจากเขียวเป็นเหลือง ขมิ้นอ้อยมีองค์ประกอบทางเคมีคล้ายขมิ้นชัน มีสารสีเหลืองเช่นเดียวกัน แต่สีอ่อนกว่าสีขมิ้นชัน คนไทยนิยมใช้ขมิ้นอ้อยปรุงอาหารมากกว่าขมิ้นชัน เพราะกลิ่นไม่ฉุน นิยมใช้เหง้าสดๆแต่งสีอาหาร เช่นข้าวเหนียวเหลือง ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ขนมเบื้องญวน โดยทั่วไปหมอยาไทยนิยมใช้ขมิ้นอ้อยเป็นอย่างมากกว่าขมิ้นชัน ตำราสรรพคุณยาโบราณว่าขมิ้นอ้อยมีรสฝาด เป็นยาสมาน แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้ไข้ ใช้หุงกับน้ำมันมะพร้าว ใส่แผล เพื่อฆ่าเชื้อและสมานแผล และใช้บดผสมกับน้ำปูนใส กินแก้ท้องร่วง

 

รูปภาพจาก:blogspot.com,disthai.com,prayod.com