สมุนไพรหมีเหม็น

สมุนไพรหมีเหม็น

หมีเหม็น

หมีเหม็น Litsea glutinosa C.B. Rob.
บางถิ่นเรียกว่า หมีเหม็น มะเย้อ ยุบเหยา (เหนือ, ชลบุรี) กำปรนบาย (ซอง-จันทบุรี) ดอกจุ๋ม (ลำปาง) ตังสีไพร (พิษณุโลก) ทังบวน (ปัตตานี) มือเบาะ (มลายู-ยะลา) ม้น (ตรัง) หมี (อุดรธานี, ลำปาง) หมูทะลวง (จันทบุรี) หมูเหม็น (แพร่) เสปี่ยขู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) อีเหม็น (กาญจนบุรี ราชบุรี)

ไม้พุ่ม -> สูง 2-5 ม. กิ่งก้านมีสีเทา
ใบ -> เดี่ยว ออกเรียงสลับ มักจะออกเป็นกลุ่มหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ใบรูปรี หรือรูปไข่กลับ หรือค่อนข้างกลม กว้าง 4-10 ซม. ยาว 7-20 ซม. ปลายใบเรียวแหลม หรือ กลม โคนใบสอบเป็นครีบหรือกลม ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขน เส้นใบมี 8-13 คู่ ด้านล่างเห็นชัดกว่าด้านบน ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. มีขน
ดอก -> ออกตามง่ามใบเป็นช่อ แบบซี่ร่ม ก้านช่อยาว 2-6 ซม. มีขน ใบประดับมี 4 ใบ มีขน ก้านดอกย่อยยาว 5-6 มม. มีขน ดอกเพศผู้ ช่อหนึ่งมีประมาณ 8-10 ดอก กลีบรวมลดรูปจนเหลือ 1-2 กลม หรือไม่เหลือเลย กลีบรูปขอบขนาน ขอบกลีบมีขน เกสรเพศผู้มี 9-20 อัน เรียงเป็นชั้น ๆ ก้านเกสรมีขน ชั้นในมีต่อมกลม ๆ ที่โคนก้าน ต่อมมีก้าน อับเรณูรูปรี มี 4 ช่อง เกสรเพศเมียเป็นหมันอยู่ตรงกลาง ดอกเพศเมีย กลีบรวมลดรูปจนไม่มี หรือเหลือเพียงเล็กน้อย เกสรเพศผู้เป็นหมันเป็นรูปช้อน เกสรเพศเมียไม่มีขน รังไข่รูปไข่ ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1-2 มม. ปลายเกสรเพศเมียรูปจาน ผล กลม เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีดำ ผิวเป็นมัน ก้านผลมีขน


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นในป่าเบญจพรรณชื้น และป่าดิบทั่วไป


สรรพคุณ

ราก -> เป็นยาฝาดสมาน และยาบำรุง
ต้น -> ยางเป็นยาฝาดสมานแก้บิด ท้องเสีย กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ทาแก้พิษแมลงกัดต่อย แก้ปวด บดเป็นผงผสมกับน้ำหรือน้ำนม ทาแก้แผลอักเสบ และเป็นยาห้ามเลือด ใบ มีเยื่อเมือกมาก ใช้เป็นยาฝาดสมาน และแก้อาการระคายเคืองของผิวหนัง ตำเป็นยาพอกบาดแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ  
ผล -> กินได้และให้น้ำมัน เป็นยาถูนวดแก้ปวด rheumatism  
เมล็ด -> ตำเป็นยาพอกฝี