สมุนไพรเทียนดอก

สมุนไพรเทียนดอก

ชื่อพื้นเมืองอื่น  เทียนดอก , เทียนไทย , เทียนบ้าน , เทียนสวน (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์  Impatiens balsamina L.
ชื่อวงศ์  BALSAMINACEAE
ชื่อสามัญ Garden balsam.

 

ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุก (ExH) -> ลำต้นจะอวบน้ำและมีขนเล็กน้อย สูงประมาณ 30-50 ซม. ลำต้นเอียงไม่ตั้งตรง เปราะง่าย
ใบ -> เป็นใบเดี่ยว แตกออกตามก้านของลำต้น ลักษณะใบมนรีหรือรูปเรียวรี ปลายใบแหลมเรียว ขอบใบเป็นจักละเอียด โคนใบจะมนสอบเข้าหาก้านใบ ผิวเนื้อใบสาก หยาบ มองเห็นเส้นแขนงใบได้ชัด สีของใบ จะเริ่มจากสีเขียวอ่อนไปจนถึงสีเขียวและสีเขียวเข้ม
ดอก -> เป็นดอกเดี่ยว จะออกติดกันช่อหนึ่งอาจจะมี 2-3 ดอก ดอกมีหลายสี เช่น สีชมพู สีแดง สีส้มและสีขาว ออกดอกตรงส่วนยอดของลำต้น กลีบดอกจะอยู่ซ้อนๆ กันเป็นวงกลม
ผล -> ผลรูปรี ปลายแหลมยาว มีสีเขียว ผลเมื่อแก่เต็มที่ก็จะแตกหรือดีดตัวออกเป็นเมล็ด
เมล็ด -> ลักษณะกลมเล็ก คล้ายเมล็ดดอกบานเย็น

 

นิเวศวิทยา

เป็นไม้ที่ชอบอยู่ในที่ร่มรำไร ไม่ชอบแดดจ้าแต่ต้องอยู่ในที่มีแสงสว่างเพียงพอ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือนหรือตามสวนยาจีนทั่วๆไป

 

การปลูกและขยายพันธุ์

เป็นไม้ที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ขยายพันธ์ุด้วยการเพาะเมล็ด หรือตัดปักชำหรือตัดไปแช่น้ำให้รากออกแล้วนำไปปลูกลงดิน

 

ส่วนที่ใช้ รส และสรรพคคุณ

ราก -> รสเฝื่อนเมา ฟอกโลหิต ลดบวม แก้ปวดกระดูก แก้ช้ำบวม แก้ตกขาว แก้ตกเลือด
ลำต้น -> รสเฝื่อน ขับลม ทำให้เส้นเอ็นคลายตัว ทำให้เลือดเดินสะดวก แก้ปวด แก้เหน็บชา แก้แผลเน่าเปื่อย
ใบ -> รสเฝื่อน สลายลม ฟอกเลือด แก้บวม แก้ปวดตามข้อ แก้แผลมีหนองเรื้อรัง
ดอก -> รสเฝื่อน สลายลม ฟอกเลือด ลดบวม แก้ปวดข้อปวดเอว  เป็นยาเย็นบำรุงร่างกาย ทาแผลน้ำร้อนลวก แผลผุพอง
ดอกและใบ
 -> รสเฝื่อนเย็น พอกกันเล็บถอด

เมล็ด -> รสขม กระจายเลือด ขับเสมหะข้นๆ ขับระดู แก้พิษงู แก้แผลติดเชื้ออักเสบเรื้อรัง แก้แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้บวม แก้ตับแข็ง

 

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้

1. รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการปวดตามนิ้วมือ นิ้วเท้า เล็บขบ โดยใช้ใบสดและดอกสีขาว 10-20 กรัม นำมาโขลกให้ละเอียดทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลทา 5-7 วัน

 

ข้อควรทราบ

  • สีจากน้ำคั้นจะติดอยู่นาน จึงควรระวังการเปรอะเปื้อนเสื้อผ้าและร่างกายส่วนอื่นๆ

 

รูปภาพจาก:xn--12c4bgh3cc1b8a1dn5i.blogspot,thaikasetsart.com,สมุนไพร