เครื่องปรุง(คณาเภสัช)

เครื่องปรุง(คณาเภสัช)

ประเภทส่วนเดียวกันของพืชมากกว่า ๑ ชนิดใช้ร่วมกัน เครื่องปรุงนี้ส่วนใหญ่เป็น “จุลพิกัด”โบราณแบ่งจุดพิกัดออกเป็น ๕ ประเภท คือ ประเภทมีชื่อเหมือนกันแต่ต่างถิ่นที่เกิด ประเภทมีชื่อเหมือนกันแตกต่างสีกัน ประเภทมีชื่อเหมือนกันแต่ต่างขนาดกัน ประเภทมีชื่อเหมือนกันแตกต่างชนิดกัน และประเภทมีชื่อเหมือนกันแต่ต่างรสกัน

(คณาเภสัช)

ครอบทั้ง ๓ – ต้น บำรุงโลหิตและขับลม

ครอบถัง ๓ – ใบ บ่มหนองให้แตกเร็ว

รอบทั้ง ๓ – ราก แก้ลมและดี บำรุงธาตุ แก้มุตกิด แก้ไอ แก้ไข้ผอมเหลือง บำรุงกำลัง

ชบาทั้ง ๒ – ราก แก้ฝี แก้ฟกบวม ขับน้ำย่อยอาหาร ทำให้อาหารมีรส

ตุมกาทั้ง ๒ – เถา แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุไฟ ให้รู้รสอาหาร ขับลมผาย ทำให้อุจจาระงวด แก้ริดสีดวง

ตุมกาทั้ง ๒ – ราก แก้พิษงู ถอนพิษงู

ตุมกาทั้ง ๓ – เปลือกต้น แก้พิษงู ถอนพิษงู

เถามวกทั้ง๒ – เถา แก้ท้องร่วง แก้ลงแดง บำรุงโลหิต

มะแว้งทั้ง ๒ – ผล แก้เสมหะ และขับเสมหะให้ตก แก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว กัดเสมหะ ขับปัสสาวะ

เสม็ดทั้ง ๒ – ใบ แก้เคล็ดยฟกบวม แก้ปวดท้อง หางกระรอกทั้ง ๓ – ราก แก้พิษงูขบกัด

หางไหลทั้ง๒ – เถา ถ่ายเส้น ถ่ายลม ถ่ายเสมหะและโลหิต

 

รูปภาพจาก:honestdocs.com,fic.nfi.or.th